นิติพงษ์ ห่อนาค
เริ่มต้นชีวิตนักเรียน ที่ออกจะแปลกกว่าเด็กคนอื่นๆ

       โรงเรียนแห่งแรกของเขาคือโรงเรียนสง่า คือคุณพ่อนั่นเอง โรงเรียนนี้มีลูกศิษย์คนเดียวคือคุณลูก ตอนนั้นพ่อไม่ค่อยสบาย ไม่ ได้ไปไหน ต้องอยู่กับบ้าน
       พ่อจึงใช้ชีวิตด้วยการสอนลูก เพราะเป็นครูเก่า ดังนั้นประสบการณ์ในชีวิตของเขาที่ขาดหายไปคือ ไม่ได้เรียนอนุบาลกับ ป.1 ในโรงเรียนอย่างใครเขา
       พ่อสอนให้เขาอ่านหนังสือ เขียนหนังสือ บวกเลข จนอายุ ราว 5-6 ขวบ ก็ให้เข้าโรงเรียน เข้า ป.2 เลย ตอนแรกครูไม่ยอม พ่อบอกครูว่า มาลองทดสอบกันเลย ปรากฏว่าผ่าน เพราะว่าบวกเลขคล่องปรื๊ด
       ครูประจำชั้นที่โรงเรียนวัฒนศิลป์วิทยาจึงยอมให้เด็กชาย นิติพงษ์เข้าเรียน ป.2 ได้อย่างไม่มีปัญหา
     
       ในวัยเด็ก นิติพงษ์ ห่อนาคมีผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์ดีมา ตลอดด้วยคะแนนระดับ 90 เปอร์เซ็นต์เกือบทุกวิชา และสามารถรักษามาตรฐานการเรียนไว้ได้อย่างเหนียวแน่นทุกภาคการศึกษา
       จนได้ปากกา ‘ป๊ากเกอร์’ เป็นรางวัลติดต่อกันทุกปี

       การเรียนจึงถือเป็นจุดเด่นของนิติพงษ์ ห่อนาค ที่สร้างความภาคภูมิใจให้แก่วงศ์ตระกูลไม่น้อย แต่ในทางตรงกันข้าม เด็กชาย นิติพงษ์กลับคิดว่าตัวเองเป็นเด็กที่มีปมด้อย เขาเล่าว่า
       “ตอนเด็กๆ ซน ขี้เล่น แต่ตัวเล็กกว่าเขานะ ถูกแกล้งเอา บ่อยๆ ของเล่นอะไรก็ไม่มี ไปดูเพื่อนเล่น ยืนน้ำลายไหลดูเค้า เล่นคอปเตอร์ เล่นอะไรกัน ต้องบอก...ขอเล่นมั่ง ขอเล่นมั่ง ให้ทำ อะไรก็ได้ ขอเล่นมั่ง เค้าก็ไม่ยอมให้เล่น”
       เมื่อไม่มีใครให้เล่นด้วย เด็กชายนิติพงษ์จึงเอาแต่เก็บตัว อยู่แต่ในบ้าน และหาทางออกด้วยการอ่านหนังสือเป็นการทดแทน
      เจออะไรเป็นอ่านหมด ทั้งหนังสือพิมพ์ ถุงกระดาษ ใบปะตามกำแพง และที่สำคัญที่สุดเห็นจะเป็นการได้อ่านหนังสือที่อาจารย์ คึกฤทธิ์ ปราโมชเขียน อายุยังไม่ถึง 10 ขวบนี่ ผมอ่าน สามก๊ก แล้ว สี่แผ่นดิน อ่านไม่รู้กี่เที่ยว
       พี่ชายเขาซื้ออะไรมาก็อ่าน ชาวกรุง สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ สมัยก่อนเต็มไปหมดเลย พี่เขาซื้อกองๆ ไว้ที่บ้าน ก็จะอ่าน อ่าน และอ่าน เพราะไม่มีโอกาสได้ไปวิ่งเล่นกับเขา

       นอกจากอ่านหนังสือของพี่แล้ว นิติพงษ์ก็ยังได้ฟังเพลง ตามพี่ๆ ด้วย
        "ที่บ้านมีวิทยุทรานซิสเตอร์อยู่เครื่องเก่าๆ แย่งกันเปิด เดี๋ยวก็วิ่งเข้าห้องโน้น เดี๋ยวก็กระชากเข้าห้องนี้ แต่เราน้องคนเล็กไม่ ได้เปิดอะไรทั้งนั้น ฟังตามเขาหมด" นิติพงษ์เล่า
       “ชีวิตในวัยเด็กตั้งแต่ต้นถึงสิบกว่าขวบได้ฟังเพลงครบทุก รสชาติ ไม่ว่าจะเป็น เพลงเถา เพลงตับ เพลงไทยเดิม ไปจนถึงสุนทรา ภรณ์ ขวัญใจของพ่อกับแม่, ร็อกแอนด์โรลล์ ของเอลวิส เพรสลีย์,สี่เต่าทอง, เดอะ บีเทิลส์ ขวัญใจของพี่ชายกับพี่สาว พอเริ่มจะโต ขึ้นมาหน่อยก็ฟังเพลงฝรั่ง ยุคเซเว่นตี้กว่าๆ มันกำลังครองประเทศไทยอยู่
       ฟังเยอะ ฟังทรานซิสเตอร์ เอ.เอ็ม. นี่ก็จะหมุนไปที่รายการ จิ๊กโก๋ยามบ่าย ของนฤชา เพ่งผล มีแต่เพลงฝรั่งแบบจิ๊กโก๋หน่อยๆ”
       เมื่อเข้าวัยรุ่น นิติพงษ์ ห่อนาคก็กลายเป็นผู้ที่มีพรสวรรค์ ด้านดนตรีเต็มเปี่ยม สมัยเรียนมัธยมเขาเล่นเครื่องดนตรีไทยได้หลายชิ้น เครื่องดนตรีสากลก็เช่นกัน หยิบเล่นได้หมดอย่างคุ้นเคย ทั้งที่ไม่เคยผ่านสถาบันด้านดนตรีไหนมาก่อน อาศัยเรียนรู้ด้วยตัวเองมาตลอด
       "เอ๊ะ...ทำไมคอร์ดนั้นไปคอร์ดนี้ เวลาเพื่อนฝูงตั้งวงร้องเพลง กัน จับคอร์ดตามไปทุกเพลง จนเพื่อนตกใจว่าเล่นได้ยังไงทั้งคืน โดย ที่ไม่เคยได้ยินเพลงนี้มาก่อน"
       “คือเราศึกษาแล้วรู้ว่าทางมันเป็นอย่างนี้ ถ้าไม่ใช่เพลงที่ ยากเย็น ไม่ใช่เพลงคลาสสิก”
        หลังเรียนจบชั้นมัธยมที่ลพบุรี นิติพงษ์ก็สอบเอ็นทรานซ์ ครั้งแรกในปีการศึกษา 2520
       " จะเข้าสถาปัตย์ จุฬาฯ ก็เกรงบารมีเค้า เรามันเด็กบ้านนอก ประมาณตัวเองไม่ถูกว่าจะไปได้ไกลขนาดไหน แม้แต่มหาวิทยาลัย ศิลปากรยังไม่กล้าไปสอบ ก็เลยไปสอบที่ลาดกระบัง"

       แต่เขาเป็นนักศึกษาอยู่ที่สถาปัตย์ ลาดกระบัง ได้เพียงปี เดียว ระบบการเรียนที่ไม่คุ้นเคย และระยะการเดินทางจากบ้านมา เรียน ก็ทำให้เขาตัดสินใจลา
       "งานชิ้นสุดท้ายที่ทำคือโมเดลจำลองสวน ซึ่งมีสระ มีศาลากลางน้ำ เวลาหอบงานมาส่ง พวกที่ขับรถมาเรียนก็สบาย ไอ้พวกไม่รวยต้องแบกหุ่นจำลองขึ้นรถเมล์ ยืนอยู่บนรถคึ่กๆๆ
      " เอ้า หลังคาไปโน่นแล้ว ตามไปเก็บ โอ๊ย ตอนนั้นรู้สึก ฟิวส์เริ่มจะขาดแล้ว พอไปถึงสถาบันก็หยิบโมเดลมาวางกับพื้นแล้ว เรียกเพื่อนมา เฮ้ย พวกมึงมาดูอะไรกันนี่ เพื่อนก็มากัน 20-30 คน อะไรกันวะ ก็กระทืบโมเดลตรงนั้นเลย
      " เสร็จแล้วไปหาอาจารย์ที่ปรึกษาซึ่งเป็นเพื่อนสนิทกับพี่ชายคนโต บอกอาจารย์ว่าผมลาออก แกบอก เออ จะไปไหนก็ไป
       "ตอนนั้นรู้สึกว่าเราอยู่ไม่ได้แล้ว มันตึงมากแล้ว เราก็สวัสดีครับอาจารย์ ตั้งแต่นั้นไม่ไปเรียนอีกเลย"

       

       แล้วนิติพงษ์ ห่อนาคก็ตั้งอกตั้งใจสอบเอ็นทรานซ์ใหม่อีก ครั้งในปีต่อมา
      " คราวนี้เลือกสถาปัตย์ จุฬาฯ อันดับ 1 เลย ไม่กลัวแล้ว แล้วก็เข้าได้สมใจ ดีใจที่ได้เรียนที่นี่"

อ่านต่อ...