ผู้เชื่อมั่นใน ‘เฉลียง’ และรับเป็นโปรดิวเซอร์ชุดแรกให้
เป็นพี่ชายใจดีที่เอ็นดูน้องๆ เสมอมา ตั้งแต่วันแรกรู้จัก จนน้องๆ เติบกล้า กระทั่งถึงวันที่พี่เต๋อจากไป

พี่เต๋อถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2539














หากจะพูดถึงการ ‘ให้โอกาส’ พี่ต้น-ลาวัณย์ กันชาติ และพี่หน่อย-จำนรรค์ ศิริตัน คือเจ้าตำรับตัวจริง
ตั้งแต่ให้น้องๆ เข้าไปเขียนบท เข้าไปแสดง และเรียนรู้เรื่องการทำรายการโทรทัศน์

‘เฉลียง’ ได้ทำเทปชุดแรก เมื่อพี่ทั้งสองให้การสนับสนุนเรื่องทุน ครั้นเฉลียงออกเทปชุดต่อๆมา ก็ยังสนับสนุนการทำรายการทีวีเพื่อ ‘เฉลียง’ ไม่ว่าจะเป็นใน น้ำแข็งใส่น้ำหวาน, เจาะใจ หรือการนำเทปคอนเสิร์ตออกอากาศในรายการต่างๆ






















ภายใต้คีตาแผ่นเสียงและเทป ที่พี่สมพงษ์เป็นผู้ดูแล
คือยุครุ่งเรืองที่สุดของเฉลียง
จาก ‘เอกเขนก’ จนถึง ‘ตะไคร่น้ำสุดขอบฟ้า’
สนับสนุนเฉลียงอย่างดี ทุกวิถีทาง
แม้พวกเฉลียงจะเรื่องมาก และเทปไม่ค่อยขายก็ตาม














แม้จะเคยสงสัยว่า “ไอ้พวกนี้มันเพี้ยนหรือเปล่าวะ” แต่ ทรงวุฒิ จรูญเรืองฤทธิ์ หรือ ‘พี่จู๊ด’ โปรดิวเซอร์ร่างใหญ่ ก็ร่วมงานกับเฉลียงมาตั้งแต่เทปชุด ‘อื่นๆ อีกมากมาย’ จนถึงชุด ‘แบ-กบาล’
ทั้งในฐานะผู้สร้างทำนอง ผู้เรียบเรียง เสียงประสาน งานเทป และผู้ควบคุมวง ‘ดิอะลุ่มอะล่วยฟีลฮาร์โมนิค’ วงดนตรีที่สนับสนุนในการแสดงคอนเสิร์ต ของเฉลียงหลายต่อหลายครั้ง รวมทั้งคอนเสิร์ตแก้คิดถึง เมื่อปี 2537

“
ผมทำอยู่กันตนา ตอนนั้นจิกเขามาทาบทามให้ไปทำเพลงละคร เรื่อง ‘คุณยายกายสิทธิ์’
ผมก็ไม่รู้นะว่าเขาไปได้ชื่อผมมาจากไหนเหมือนกัน แล้วหลังจากนั้นก็ร่วมงานกันมาเรื่อย
จนมาทำ ‘อื่นๆ อีกมากมาย’
จิกเขาเอาเพลงมาให้ผมมาฟังดูก่อน เขาอัดกันมาแล้ว จากห้องซ้อมดนตรี มันก็คือเพลงในชุด อื่นๆ อีกมากมาย น่ะแหละ บางเพลงนะ มีแต่งใหม่เพิ่มเข้ามาอีกนิดหน่อย จิกเขาว่า จะทำให้สองคนนี่ร้อง คือ เกี๊ยงกับจุ้ย ตอนแรก ยังไม่ได้คิดจะเป็นเฉลียงหรอกนะ แต่พอทำไปทำมามันเลยขยายไปเรื่อย เพิ่มคนโน้นคนนี้เข้ามา
ใช้เวลาเป็นปี เพราะว่าเขาไปเสียเวลาหาคนร้อง ดนตรีไม่ช้าหรอกแต่เขาเปลี่ยน คนร้องไปเรื่อย เพราะเกี๊ยงกับจุ้ยร้องเพลง บางเพลงไม่ได้

เพลงนี่ จิกเขาทำมาเสร็จเป็นเพลงออกมาเลย มีทำนอง เมโลดี้ มีเนื้อมา
เพลงของเขาเป็นอย่างนี้มาแล้ว แล้วเราก็เอามาทำดนตรี ซึ่งผมสามารถคิดอะไรไปก็ได้ อย่างเพลง ‘กล้วยไข่’ มันก็ไม่ได้มีแบบอย่าง ของเพลงอื่นเข้ามา คิดกันมาเอง ตรงนี้จะเอาอย่างนั้น อย่างนี้ มันคิดขึ้นมาได้เลย พอทำดนตรีเสร็จแล้ว ผมก็จะเป็นคนร้องไกด์ ให้กับเกี๊ยงกับจุ้ยเขาฟัง พอเป็นแนว แล้วจิกเขาจะเป็นคนมานั่งฟังหลังจากที่ผมทำเสร็จหมดแล้ว พอฟังแล้ว เอ้าไปดึงเจี๊ยบมาอีกคน มันเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาอยู่ตรงนี้นาน กว่าจะเรียบร้อยลงตัวออกมาได้ฟังกัน

พลงเฉลียงนี่ฟังดูแล้วมันแปลกดี เนื้อร้องอะไรต่างๆ มันมีลักษณะที่แปลกจากเพลงทั่วไป มันลงตัว เป็นเอกลักษณ์ จะพ็อพก็ไม่เชิง เพลงของเขาแฝงความคิด มีแนวของเขาอยู่”

ปัจจุบันทรงวุฒิ จรูญเรืองฤทธิ์ยังคงทำงานด้านเพลงอยู่เบื้องหลังอย่างต่อเนื่อง












“ผมรู้จักเฉลียงอยู่แล้วจากอัลบั้มแรก ‘ปรากฏการณ์ฝน’ แล้วผมมารู้ว่าเขากำลังฟอร์มวง ก็ชวนมาอยู่ด้วยกันที่ครีเอเทียฯ

ส่วนตัวแล้วผมชอบเพลง ‘อื่นๆ อีกมากมาย’ มันมีแง่มุมเนื้อหาที่น่าคิดและเหมาะกับสังคมไทย
แล้วในสมัยนั้นจังหวะมันพอดี เฉลียงเป็นวงดนตรีที่ไม่เหมือนวงทั่วๆ ไปในตอนนั้น เขามีวิธีพูดกับคนดูในแบบของเขาเอง สนุก กวน อะไรไปเรื่อย เป็นตัวของเขาเอง ที่ไม่น่าเชื่อก็คือ ในปีนั้นเฉลียงเป็นหนึ่งในห้าของอัลบั้มที่ขายดีที่สุดของประเทศ ว่าไปแล้วคงไม่มีใครเชื่อ แต่ผมมั่นใจว่าอัลบั้มนี้จะต้องประสบความสำเร็จตั้งแต่เริ่มฟังเดโมที่ได้มาจากเก้ง ผมมั่นใจว่ามันจะต้องขายได้ มันจะต้องดัง เพราะเนื้อหามันไม่เหมือนคนอื่น เมโลดี้มันจะเพราะจริงๆ
เพลงของเฉลียงมันแข็งแรงมาก

จะเรียกก็ได้ว่า ผมเป็นแฟนเพลงเฉลียง และ ‘อื่นๆ อีกมากมาย’ คือ งานที่ผมภูมิใจมากที่สุดในชีวิต”












“
มีความอิ่มใจ เอิบบุญ ทุกครั้งที่นึกขึ้นได้ว่าเคยทำมิวสิกวิดีโอให้กับวงเฉลียง
เพราะทำด้วยศรัทธาในเนื้อเพลง ดวงตาคล้ายเห็นเฉลียงบ้านลอยตรงหน้า เลื่อมใสในความสามารถทางดนตรี และเล่นตลกของสมาชิกวง
เรียกได้ว่าทำถวายเฉลียง
ถ้าเป็นสมัยนี้อาจจะขายรถเอาเงินไปเหมาเทปเป็นเฉลียงกุศล”












คล้ายๆ จะเป็นเฉลียงกับเขาด้วย แต่ก็ไม่ใช่ ทั้งที่ได้เห็นมาตั้งแต่เป็นเพียงเฉลียงในอากาศ ได้ฟังเพลงเฉลียง ตั้งแต่ยังไม่เป็นเพลง จนถึงวันที่เฉลียงแข็งแรง ก็ได้ทำคอนเสิร์ตให้เฉลียงนับครั้ง ไม่ถ้วน จะปิดอั้ลบั้ม เปิดอัลบั้ม เปิดกระหม่อม หรือปิดท้ายทอย กระทั่งคิดถึงกันยังต้องเรียกอั๋นมาแก้คิดถึง

เป็นคนที่เข้าใจและรู้ใจเฉลียงที่สุดคนหนึ่ง

อั๋นร่วมงานกับเฉลียงครั้งสุดท้ายในฐานะโปรดิวเซอร์ของคอนเสิร์ตแก้คิดถึงฯ หลังคอนเสิร์ตอั๋นประกาศ
“กูไม่เอาอีกแล้ว”
ก่อนหันไปทำงานที่ยุ่งน้อยกว่าการทำคอนเสิร์ตให้พวกเฉลียง อย่างพิธีเปิด-ปิดเอเชี่ยนเกมส์ที่กรุงเทพฯ และพิธีเปิด-ปิด ซีเกมส์ที่บรูไน

ฉลียง...
ด้วยรัก แกมหมั่นไส้
ปนรำคาญ ปนคิดถึง

เฉลียง...
ทั้งซึ้ง ทั้งแสบแสน
อยากหัวเราะ อยากเตะก้น

เฉลียง...
เพราะ เพลง เพราะ ตัวคน
เพราะ กมลสันดาน

เฉลียง...
เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

รู้สึกได้โดย อั๋น-วัชระ

 













เพื่อนร่วมรุ่นสถาปัตย์ ที่ได้ทำมิวสิกวิดีโอให้เฉลียงหลายเรื่อง ซึ่งรวมทั้งเป็นคนออกแบบฉากและกำกับศิลป์มิวสิกวิดีโอ ‘เร่ขายฝัน’

ได้ออกแบบฉากเวทีคอนเสิร์ตให้เฉลียงหลายครั้ง และยังตามมาเป็นธุรกิจและการตลาดให้กับคอนเสิร์ตแก้คิดถึงฯ และคอนเสิร์ตเรื่องราวบนแผ่นไม้ด้วย

“ผมรู้สึกขำ ในครั้งแรกที่ได้ยินเพลงของเฉลียง ตอนที่เขาเคาะโต๊ะ ดีดกีตาร์ แต่งเพลงแปลกๆ ในอัลบั้มชุดแรก...ขำว่ามันจะขายได้เหรอ?
ผมรู้สึก ‘ขำ’ อีกครั้ง ตอนที่คุณประภาสเอาแบบ Artwork ปกแผ่นเสียงเพลงชุดนั้นที่เพื่อนสถาปัตย์ด้วยกันทำให้มาให้ดู... ขำตรงที่มันประหลาด และชุ่ยขนาดรอยดินสอก็ยังไม่ยอมลบให้หมดเลย

หลังจากนั้นก็ขำเรื่อยมาทุกครั้งที่ร่วมในเหตุการณ์...ไม่ว่าในฐานะเพื่อน ฐานะพี่ ฐานะที่มีหน้าที่การงานรับผิดชอบบางอย่างเกี่ยวกับเฉลียง
จนถึงวันที่คิดว่าคงไม่ได้ขำอีกแล้ว หลังอัลบั้มสุดท้ายของเฉลียง

"ผมได้ขำขนานใหญ่อีกครั้งเมื่อ 6ปีที่แล้ว ตอนที่พวกเขามีความคิดอยากเล่นคอนเสิร์ตกัน
จนต้องช่วยกันทำให้ความขำนั้นเป็นจริง แล้วก็ได้ยืนขำข้างเวทีทุกรอบเช่นเคย แล้วก็คิดว่าคงเป็นขำสุดท้าย

แต่ผมก็ได้ขำอีกในปีนี้ (พ.ศ. 2543) ขำที่จะต้องมายืนข้างเวทีคอนเสิร์ต และดูคนดูขำไปกับเฉลียงเหล่านี้อีก

แต่มีอีกสองอย่างที่ผมรู้สึกนอกจากขำ คือ ความสุขใจและพองในใจ ทุกๆ ครั้ง หลังจากที่ขำพวกเขาเสร็จลงครับ”











รุ่นน้องร่วมคณะสถาปัตย์ ที่เคยทำรายการโทรทัศน์ให้เฉลียงหลายครั้ง ทำมิวสิกวิดีโอก็อีกหลายเรื่อง รวมทั้งช่วยกำกับมิวสิกวิดีโอ ‘เร่ขายฝัน’ และยังแต่งเพลง ‘โลกกลมๆ’ ให้เฉลียงเพลงหนึ่งด้วยในชุด ‘แบ-กบาล’

“ผมเคยมีโอกาสได้ร่วมงานกำกับการแสดงชาวเฉลียงอยู่หนสองหนเมื่อนานมาแล้ว งานหนึ่งเป็นละครพิเศษโปรโมตเทปใช้ชื่อว่า ‘เฉลียงรวมตัว’ อีกงานก็คือมิวสิกวิดีโอ ‘เร่ขายฝัน’ ทั้ง สองงานนี้คงต้องถือเป็นโชคดีที่ได้ทำเพราะมันให้ประสบการณ์ดีๆ กับผมมากมายไปในตัว

‘เฉลียงรวมตัว’ เป็นงานละครทีวีสนุกๆ จับแคแร็กเตอร์เด่นๆ ของแต่ละคนมาผูกเป็นเรื่องราวการรวมวง
มีคุณประภาสร่วมแสดงในบทสำคัญ เป็นเด็กส่งก๋วยเตี๋ยวประจำห้องอัดเสียง ได้ป้า ทองสุลาลีวัลย์ ผู้ล่วงลับมาแสดงเป็นมือกีตาร์รับจ้าง ที่มาเล่นท่อนโซโล่ให้เฉลียงในห้องอัด สีหน้าอารมณ์ที่แกฟีล
ขณะโซโล่กีตาร์นั้นยังบาดใจผมมาถึงวันนี้

‘เร่ขายฝัน’ เป็นงานมิวสิกฯ ที่ค่อนข้างใหญ่ ตัวประกอบหลายร้อยคน ทำงานกลางแดดร้อน ภูเขาหิน ฝุ่น และทราย ได้กำกับคุณภูษิตที่ออกจะรับบทเด่น เป็นฮีโร่ผู้มาช่วยเพื่อนๆ ไว้ได้ทัน การณ์ มีฉากบู๊เล็กๆ ที่ต้องลงไปคลุกฝุ่นฟัดกับผู้ร้าย กะว่าจะทำให้แกดูเหมือนอินเดียน่าโจนส์ แต่ก็ไม่สำเร็จ ด้วยหุ่นแกท้วมผิดกันไปหน่อย

แน่นอนว่าเฉลียงทุกคนเป็นนักคิด ซึ่งคงไม่ใช่ประเภทที่ใครจะสั่งให้ทำอะไรก็ทำ แต่ทุกคนก็ล้วนเป็นมืออาชีพในการทำงาน ซึ่งจะรับรู้และเข้าใจในงานที่กำลังจะทำกันเป็นอย่างดีตั้งแต่เริ่มต้น เมื่อถึงขั้นตอนทำงานจริง ทุกอย่างจึงราบรื่น ครึกครื้น สนุกสนาน แถมยังเพลิดเพลินไปด้วยฝีปากเชือดเฉือนของแต่ละคนที่คิดค้นมา ประชันกันเป็นกิจวัตร คล้ายว่าจบโทมาทางนี้โดยตรง

นอกจากงานกำกับฯ แล้ว ก็ยังมีงานพลงของผมอยู่เพลงหนึ่งที่เฉลียงนำไปร้อง ซึ่งต้องยอมรับว่าดีใจมากตอนที่คุณประภาสมาขอไป เพราะผมเองเป็นแฟนเฉลียงมาตั้งแต่อัลบั้มแรก และมานึกๆ ดูแล้วนักร้องนำ
ของเฉลียงก็ยังเคยเวียนวนกันมาร้องเพลงในงานอื่นๆ ของผมอยู่หลายคราว ตั้งแต่คุณสมชายที่เคยมาร้องเพลงโฆษณาให้ คุณวัชระเคยมาร้องเพลงให้หนัง ‘ลูกบ้าเที่ยวล่าสุด’ คุณเกี๊ยงก็มาร้องเพลงให้ละคร ‘พระจันทร์ลายกระต่าย’ นั่นคงไม่ใช่เพราะความสนิทกันเพียงอย่างเดียว แต่เพราะความชื่นชม และนับถือ
ในงานของพวกเขาอยู่เป็นส่วนตัว
จึงรู้สึกดีทุกครั้งที่ได้ทำงานด้วย”












"ช่วงชีวิตที่ดีที่สุดและสนุกที่สุดของอีชั้น เห็นจะเป็นช่วงที่เป็นผู้จัดการวงเฉลียง

อีชั้นได้ถูกชักนำเข้าสู่วงการการเป็นพี่เลี้ยงนักร้อง Boy Band วงแรกๆ ของเมืองไทย ตอนนั้นสักประมาณปี 30มั้ง ตอนนั้นอีชั้นเรียนอยู่ปี 4 เทอมสุดท้าย ที่นิเทศ จุฬาฯ ก็มาคลุกคลีกับพี่จุ้ย พี่อั๋น พี่จิก ช่วยเค้าทำ
หนังสือไปยาลใหญ่ หวังฟลุกเผื่อจะได้ขึ้นปกถ่ายเปลือยอะไรบ้าง แต่ก็ไม่มีวี่แวว พอดีพี่จิกเห็นหน่วยก้านการ
ต่อรอง ด่าทอ ความอดทนสูง หรือความงามของอีชั้น ในข้อใดข้อหนึ่งนี่แหละ จึงคิดว่าอีชั้นคงรับมือกับผู้ชาย
ทั้ง 5 คนนี้ไหว เลยเสนอให้เราเป็นผู้จัดการวงเฉลียง

อีชั้นก็รีบตอบรับทันที โดยไม่คิดหน้าคิดหลังหรือหันซ้ายหันขวาเลย แหม...ฟังดูดีออกจะตาย ได้อยู่กับพี่ๆ 5 คน
หล่อกันไปคนละแบบ แถมเท่ด้วย เล่นดนตรีก็เก๋...ตลกอีกต่างหาก...น่ารัก...มีเสน่ห์...ช่างน่าอิจฉาตัวเองจริงจริ๊ง

แต่พี่จิกไม่ยักบอกเราว่า ผู้จัดการวงเฉลียงคือ...ผู้มีหน้าที่จับผู้ชาย 5 คน ที่ไม่เหมือนกันสักนิด มาให้ทำอะไร
เหมือนๆ กัน...

เอาตัวอย่างเล็กๆ นะ...เช่น นัดซ้อมดนตรี กว่าจะเลือกสถานที่กันได้ ใช้เวลา 3 วัน เสร็จแล้ว คนนี้อยากจะซ้อม
เช้า คนนั้นอยากจะซ้อมเย็น คนนี้ตอนซ้อมเสร็จอยากกินข้าวมันไก่ อีกคนว่าไปกินที่ร้านเหอะอร่อยกว่า อีกคน
ว่าไปกินอาหารทะเลที่พัทยาเหอะ...ว่าไปโน่น

ตอนแรกๆ อีชั้นก็ยังใจดีวิ่งเอาใจพี่ๆ ทั้ง 5 คน ไม่ให้ใครน้อยใจใครได้ว่าอีชั้นไม่เอาใจ อีชั้นเอาใจคนนั้นมากไป
อีกคนก็กระแหนะกระแหนว่า อ๋อ...ก็เค้าเป็นพี่คณะฯ มันนี่...หรือไม่ก็ประชดประชันว่า...ตกเป็นทาสสวาทเค้า
ละสิ ฯลฯ สารพัดที่จะมากระหนะกระแหนให้อีชั้นเจ็บช้ำน้ำใจ แต่อีชั้นก็ไม่ท้อถอยง่ายๆ หรอกค่ะ

มีอยู่ครั้งหนึ่งที่อีชั้นจำได้ติดตาคาใจมากที่พี่ๆ เค้าทำร้ายจิตใจอีชั้นมาตลอด ก็ถึงเวลาที่อีชั้นได้เอาคืนบ้าง

เรื่องมันมีอยู่ว่า

เรามีคอนเสิร์ตกันที่เชียงใหม่ และด้วยความเป็นเฉลียงนะเจ้าคะจะไปรถตู้ รถเก๋ง เครื่องบินอะไรมันก็ไม่เท่
ต้องนั่งรถไฟไทยค่ะถึงจะได้บรรยากาศ อีชั้นก็จับจองตั๋วรถไฟตู้นอนชั้น 1 กรุงเทพฯ-เชียงใหม่เรียบร้อย
นัดหมายกันทุกท่าน 5 โมงเย็นเจอกันที่หัวลำโพง ห้ามสายนะพี่ รถไฟมันไม่รอพี่นะเออ...

จากนั้นเวลานัดหมายรถไฟก็เริ่มเคลื่อนขบวน พี่จุ้ย, พี่เจี๊ยบ, พี่แต๋ง, พี่เกี๊ยง, พี่ดี้ มาพร้อม 5 โมง
เย็นตรงเป๊ะ...ขาดแต่อีชั้น แฮะๆ...รถมันติดน่ะฮ่ะ ตั๋วรถไฟทั้งหมดก็อยู่ที่เรา โรงแรมก็มี เรารู้คนเดียว
ว่าพักที่ไหน เล่นคอนเสิร์ตที่ไหน...กี่โมง...

พวกพี่ทั้งห้าเดินทางไปกับรถไฟสายนั้น ออกจากหัวลำโพง มุ่งหน้าเชียงใหม่...โดยไม่มีเรา อนิจจา...
ผู้ชายผู้น่าสงสารทั้งห้าเห็นแล้วใช่ไหมว่าขาดเราแล้วเป็นอย่างไร

แต่ด้วยความรักอาชีพเท่าชีวิต หวังชิงตำแหน่ง ผู้จัดการวงดนตรี Boy Band ดีเด่น เราก็ได้ให้แท็กซี่ซิ่งต่อไป
ที่สถานีสามเสน ไปทันกันที่นั่น อีชั้นรีบกระโดดเกาะ รถไฟด้วยมือข้างซ้าย มือ ข้างขวาหิ้วสัมภาระ พอขึ้นรถได
้ปาดเหงื่อยังไม่ทันหมด พี่ๆ เฉลียงทั้งห้าก็หันมาเห็นอีชั้น รอยยิ้มทั้งห้าปรากฏขึ้นแทรกรอยตีนกาออกมาให้
เห็นว่าดีใจมากที่เห็นอีชั้น พร้อมกับเสียงพี่เจี๊ยบร้องทักมา ด้วยความเป็นห่วงว่า...
"มาแล้วหรือนางแพศยา..."

เป็นคำทักที่อีชั้นชื่นใจจริงๆ ว่านี่แหละพี่ๆ เฉลียง...เฉลียง และเค้าไม่โกรธอีชั้น ทุกวันนี้เวลาพบกันกับพวกพี่ๆ
ก็ยังหัวเราะกับความเป็นนักดนตรีมือใหม่กับผู้จัดการมือใหม่ของเราทั้งคู่อยู่เลย และคำทักทายที่อีชั้นกลัวที่สุด
ก็คือ    "เฮ้ย...ยุ้ย เฉลียงเค้าจะเล่นคอนเสิร์ตกันอีกแล้วนะ นัดให้หน่อยเด่ะ..

." ศศิธร โตแย้ม ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ผู้จัดการฝ่ายผลิต บริษัทวิชวล เรฟโวลูชั่น จำกัด












กลุ่มนักดนตรี นักแต่งเพลง นักเขียนเพลง จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ประกอบด้วย พนัส วิวัฒน์พนชาติ,ปิติ ลิ้มเจริญ, นิติธร ยุวะจิตติ ฯลฯ

เพลงของพวกเขาได้เป็นส่วนหนึ่งของอัลบั้มชุด ‘ตะไคร่น้ำสุดขอบฟ้า’

“ก็ดีใจ ภูมิใจเป็นธรรมดา ที่ได้มีโอกาสร่วมทำงานกับพี่ๆ เพราะชอบงานของเฉลียงมาก่อนแล้ว เคยฟังมาตั้งแต่มัธยม
ดีใจที่งานออกมาดี และมีคนชื่นชม”
พูดแทนผองเพื่อนโดย ปิติ ลิ้มเจริญ ซึ่งปัจจุบันทำงานเป็นนักแต่งเพลงอยู่ที่แกรมมี่ เอนเตอร์เทนเมนท์





















รุ่นน้องคณะเดียวกับ ภูษิต ไล้ทอง
ผู้มีโอกาสมาเล่นดนตรีสนับสนุนเบื้องหลังให้กับเฉลียงตั้งแต่แรกเริ่มการออกคอนเสิร์ตสด จนกระทั่งทุกวันนี้
ความรักและถนัดในเรื่องดนตรียังทำให้เขาโคจรอยู่ห่างเฉลียง แค่เพียงช่วงแขน
เมื่อมีกิจกรรมใดเขามักถูกกวักมือเรียกให้มาร่วมงานด้วยเสมอ
ทว่าสิ่งที่ทำให้เขาติดอกติดใจกลับไม่ใช่ผลงานหรือดนตรีที่เขามีโอกาสได้สร้างสรรค์

“เป็นรุ่นน้องที่มีรุ่นพี่รักสนุก ก็รักสนุกได้ด้วย กินอะไรก็กินด้วย เรื่องเล่นดนตรีก็อยากทำเป็นปกติ แต่เวลาไปด้วยแล้วมันสนุกส่วนผลงานถ้าถามว่าชอบไหม เหมือนถูกบังคับให้ชอบ เพราะสนิทกับทุกคน แต่กลับไปบ้านไม่ได้หยิบฟัง เวลาได้ยินเพลงเฉลียงจะคิดถึงที่เคยไปด้วยกัน แต่ไม่ค่อยได้ชื่นชมผลงาน เพราะเราทำงานใกล้เคียงกันอยู่แล้ว

เจอกันทีไรก็ประทับใจทุกที ปล่อยมุขได้บ้าง ไม่ได้เก็บอย่างเดียว เดี๋ยวเขาจะเก็บตังค์ จะอบอุ่นมากในการอยู่ร่วมกัน ไม่ว่าเฉลียงจะอยู่ครบหรือไม่ เวลาเอาตัวเข้ามาอยู่แล้วอบอุ่นเสมอ”

ทุกวันนี้ โดม ทิวทอง ทำงานอยู่ที่บริษัททีวีธันเดอร์ จำกัดในตำแหน่ง Music Director


 



หน้าแรก | หน้าสอง