* เรือนน้ำคือเรือนไม้หลังเล็กๆ สูงราวเอวคน วางโถดินเผาใส่น้ำสะอาดและกระบวย ปลูกไว้หน้าบ้านหรือริมนอกชาน เพื่อให้คนที่เดินทางผ่านไปมาได้แวะดื่มกินตามอัธยาศัยหากเกิดกระหายพบเห็นได้ทั่วไปในชนบทไทยหลากหลายกิจกรรมที่กองทุนเฉลียงมีส่วนเสริม เติม แต่ง ให้กับโลกใบใหญ่ใบนี้

หลังการจัดคอนเสิร์ตฉลอง 10 กว่าปีของกลุ่มดนตรีเฉลียง เมื่อปี พ.ศ. 2537 กิจกรรมทางดนตรีของเฉลียงก็กลับคืนสู่ สภาวะต่างคนต่างทำงานของตน ทว่าผลต่อเนื่องจากคอนเสิร์ตแก้คิดถึงฯ ก่อให้เกิดความผูกพันกันในรูปแบบใหม่ เพราะในการจัดคอนเสิร์ตครั้งนั้น กลุ่มดนตรีเฉลียงได้รับเงินค่าโฆษณา ค่าจำหน่ายบัตร และเงินร่วมบริจาคหน้าโรง เป็นเงินราว 700,000 บาท และได้มอบเงินทั้งหมดให้กับองค์การ ยูนิเซฟ และหน่วยงานการกุศลเกี่ยวกับเด็กอีก 2 แห่ง

หลังจากนั้นได้มีการมอบลิขสิทธิ์เทปบันทึกเสียงและวิดีโอเทปการแสดงสดคอนเสิร์ตเพื่อนำไปออกอากาศ ทางโทรทัศน์และผลิตเทป/ซีดีจำหน่าย ทำให้มีรายได้เกิดขึ้นอีกเป็นจำนวนหนึ่ง ซึ่งทางเฉลียงคิดกันว่า น่าที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในด้านสาธารณกุศล เช่นเดียวกับผลประโยชน์ในส่วนแรก

กลุ่มดนตรีเฉลียงจึงจัดตั้ง 'กองทุนเฉลียง' ขึ้นเพื่อบริหารเงินทุนจำนวนนี้ โดยมีสมาชิกของเฉลียงทุกคนคือ นิติพงษ์ ห่อนาค, วัชระ ปานเอี่ยม, ภูษิต ไล้ทอง, ศุ บุญเลี้ยง, เกียรติศักดิ์ เวทีวุฒา-จารย์, ฉัตรชัย ดุริยประณีต และประภาส ชลศรานนท์ ร่วมเป็นกรรมการ แนวทางและ วัตถุประสงค์ที่สำคัญของกองทุนฯ คือจะใช้เงินกองทุนให้เกิดประโยชน์มากที่สุด โดยจะนำเฉพาะดอกผลที่เกิดขึ้นไปใช้เพื่อการกุศล และสาธารณประโยชน์กับหน่วยงานหรือบุคคล และเน้นในเรื่องที่เกี่ยวกับ 'เด็ก' และ 'เยาวชน' เป็นสำคัญ

กลุ่มดนตรีเฉลียงตั้งความหวังไว้ว่า การจัดตั้งกองทุนนี้จะเป็นการเผยแพร่แนวคิดการแบ่งปันโอกาสทางสังคมให้แก่ศิลปินรุ่นใหม่ รวมถึงบุคคลทั่วไปที่มีความพร้อมทั้งกำลังกายและกำลังใจ ว่าทุกคนสามารถรวมกลุ่มกันช่วยเหลือสังคมได้ จะมากหรือน้อยตามแต่กำลังที่ตนมี

ในส่วนของการพิจารณาโครงการที่จะมอบทุนให้นั้น กองทุนฯ รับพิจารณาการขอทุนทุกปี ปีละหนึ่งครั้ง แต่ถ้ามีโครงการที่ต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วนก็จะมีการประชุมพิจารณาพิเศษเป็นรายๆ ไป โดยมีผู้ประสานงานกองทุนเป็นผู้ดำเนินการคัดเลือกและนำเสนอที่ประชุมร่วมกันพิจารณา


การมอบทุนครั้งแรก ปี 2540 กองทุนฯ ได้พิจารณามอบทุนให้กับ
1. โครงการบ้านเด็กใกล้วัด มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก จังหวัดอ่างทอง เป็นเงิน 50,000 บาท
2. ทุนการศึกษานักเรียนชั้นประถม โดยความดูแลของ มูลนิธิร่วมจิตต์น้อมเกล้าฯ เพื่อเยาวชน เป็นเงิน 60,000 บาท
3. โครงการค่ายรักการอ่านและโครงการกล่องหนังสือเวียน ของกลุ่มเพื่อการพัฒนาและการศึกษาเด็ก เป็นเงิน 60,000 บาท
4. โครงการค่ายเยาวชนอนุรักษ์นกและธรรมชาติของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นเงิน 20,000 บาท
5. โครงการเพื่อช่วยเหลือเด็กที่ได้รับเชื้อ HIV ของศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาบุคคล เป็นเงิน 40,000 บาท
6. จัดทำหนังสือ 'ประคำลูกโอ๊ค' ร่วมกับมูลนิธิเพื่อเด็กพิการ โดยกองทุนเฉลียงเป็นผู้ออกทุนจัดพิมพ์ให้ เป็นจำนวนเงิน
77,000 บาท ได้หนังสือ 5,000 เล่ม รายได้ที่เกิดจากการจำหน่ายหนังสือทั้งหมดมอบให้มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ โครงการนี้นอกจากจะได้ตัวเงินเข้ามูลนิธิเพื่อเด็กพิการแล้ว ยังมีผลในเรื่องของการเผยแพร่การสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับคนพิการแก่บุคคล
ทั่วไปอีกด้วย

รวมยอดบริจาคของกองทุนในปี 2540 เป็นเงินทั้งสิ้น 307,000 บาท

ในปีต่อมา กองทุนเฉลียงได้พิจารณามอบทุนให้กับหน่วยงานต่างๆ เป็นครั้งที่ 2 โดยมีรายละเอียดคือ
1. ทุนช่วยปรับปรุงอาหารเด็กชาวเขาที่อพยพมาจากพม่า ร.ร.บ้านห้วยแห้ง อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน เป็นเงิน 25,000 บาท
2. สนับสนุนโครงการส่งเสริมอาชีพกลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวี อ.หางดง จ.เชียงใหม่ ของภาคีความร่วมมือเพื่อพัฒนาชุมชน
เป็นเงิน 62,400 บาท
3. ทุนการศึกษานักเรียนระดับมัธยม โรงเรียนที่นครพนม จำนวน 3 คน คนละ 10,000 บาทต่อปี เป็นระยะเวลาติดต่อกัน 3 ปี
(มอบเฉพาะปี 2541 ก่อน เป็นเงิน 30,000 บาท)
4. เงินทุนหมุนเวียนค่าอาหารกลางวันเด็ก เด็กนักเรียน ร.ร.บ้านท่าพลุ อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี เป็นเงิน 30,000 บาท
5. ทุนอาหารเสริมเพื่อเด็กขาดสารอาหาร ของกลุ่มเพื่อการพัฒนาและการศึกษาเด็ก อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว
เป็นเงิน 35,000 บาท
6. สนับสนุนการซื้อหนังสือนิทานเข้าห้องสมุดหลวงพระบาง เป็นเงิน 2,600 บาท
7. ศูนย์ช่วยเหลือระยะแรกเริ่มเด็กพิการและครอบครัว สถาบันราชภัฏสวนดุสิต เป็นเงิน 50,000 บาท


รวมยอดบริจาคของกองทุนในปี 2541 เป็นเงินทั้งสิ้น 285,000 บาท

ช่วงปี 2542 และ 2543 เกิดวิกฤตทางการเงินในประ-เทศไทย ดอกเบี้ยเงินฝากจากเงินกองทุนเดิมที่ได้รับมีจำนวนน้อยลงไปเกินครึ่ง ด้วยหลักการที่จะคงเงินต้นไว้ กองทุนเฉลียงจึงพิจารณาเพียงทุนต่อเนื่องสำหรับเป็นทุนการศึกษานักเรียนมัธยมที่ โรงเรียนในจังหวัดนครพนมเพียงรายการเดียว รวมเป็นเงิน 60,000 บาท

จนถึงวันนี้ กองทุนเฉลียงได้มอบเงินเพื่อการกุศลไปแล้ว ประมาณ 1,352,000 บาท

ทุนนักเรียนระดับประถมศึกษา มอบผ่านมูลนิธิร่วมจิตต์น้อมเกล้าฯ เพื่อเยาวชน
ทุนของเฉลียงให้น้องๆ 8 คนที่อยู่ในชนบทห่างไกลและมีฐานะยากจนได้ใช้จ่ายเพื่อการเรียนจนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ในปีการศึกษา 2544

พวกเขามีจดหมายและบัตรอวยพรความสุขในโอกาสสำคัญๆ ส่งมาให้ชาวเฉลียงอยู่เสมอ


โครงการค่ายเยาวชนอนุรักษ์นกและธรรมชาติ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ทุนสำหรับจัดค่าย พาเด็ก 4 กลุ่มไปสัมผัสธรรมชาติในป่าเขารอบนอกตัวเมืองเชียงใหม่พร้อมๆ กัน นักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่และนักเรียนจากโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นพี่เลี้ยง
เด็กตาบอดจากโรงเรียนสอนคนตาบอด เด็กหูหนวก และเด็กจากบ้านเป็นผู้ร่วมทาง

เด็กทั้ง 4 กลุ่มได้รู้จักการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน นอกเหนือจากการให้กลุ่มเด็กที่ด้อยโอกาสได้สัมผัสกับธรรมชาติ นก ต้นไม้ลำธาร ที่พวกเขาไม่อาจรู้จักได้ด้วยตนเอง

โครงการค่ายรักการอ่าน โครงการกล่องหนังสือเวียน และทุนอาหารเสริมเพื่อเด็กขาดสารอาหาร

ของกลุ่มเพื่อการพัฒนาและการศึกษาเด็ก อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว
สำหรับเด็กไทยตัวน้อยๆ ในอำเภอชายแดนที่ขาดแคลนทั้งอาหารท้องและอาหารสมอง