กระดานความรู้สึก


ตัดมาจากมติชน
“หัวใจไกวเปล”  ศุ บุญเลี้ยง ฝันยังไม่แกว่งไกว

มนุษย์ทุกคนมีความฝัน ฝันสั้น ฝันยาว ฝันสวยงาม ตามอารมณ์ของแต่ละคน เพราะฉะนั้นเพลงที่มีมุมฝันที่หวานละมุนละไม   ในแง่บวกหรือเชิงคิดในแง่ดีแบบโพสิทีพ ธิงกิ้ง (Positive Thinking) จึงเป็นที่สนใจและอยู่ในใจของกลุ่มคนฟังกลุ่มหนึ่ง   ที่ติดตามอย่างเหนียวแน่น

หากบอกว่า วงเฉลียง โดยการกุมบ งเหียนของ ประภาส ชลศรา-นนท์  เป็นต้นแบบหรือพิมพ์เขียวที่ให้รสนิยมนี้เข้าสู่หมู่นักศึกษาและปัญญาชน

ผ่านมาเกือบ 20 ปี การแตกดอกออกผลจาวิธีคิดเหล่านั้น            ก็แผ่กระจายอยู่ในสังคมไทย โดยเฉพาคนรุ่นใหม่ที่รับหน่ออ่อนทางความคิดแบบนี้ไปเป็นของตัวเองและเติบโตขึ้นมา

ถือว่ายาวนานมากว่าครึ่งชีวิตของเขาที่ ศุ บุญเลี้ยง อยู่ในวงการหนังสือ และวงการเพลงไทย ขยับขยายเข้าสู่วงการนม ชา กาแฟด้วยเช่นกัน

ยี่ห้อของศุ บุญเลี้ยง มีแฟนคอยติดตามอยู่เสมอเหนียวแน่นและ   อุ่นหนาฝาคั่ง ถึงแม้เด็กรุ่นใหม่ในปัจจุบันจะลดน้อยลงไปบ้าง   แต่เขาก็สร้างฐานแฟนกลุ่มใหม่ขึ้นมาได้เช่นกัน

อัลบั้มชุมใหม่ “หัวใจไกวเปล” ที่ออกมาประมาณ 2 เดือนแล้ว     ศุ บุญเลี้ยง ที่อยู่ในสภาวะละเมียดละไม ฝัน สวย โรแมนติกในเชิงความรัก ความงามของชีวิต แม้จะรวดร้าวบ้างก็ตาม ถึงครึ่งอัลบั้ม อาทิเพลง “คำตอบ” , “คนเก็บฝัน” , “ดีกว่าเมื่อวาน” , “ขาดเธอไปหัวใจเต้นช้าลง” และ “อุ่นไอรัก”

เรียกว่า ขาเก่าขาแก่ที่เป็นแฟนเพลงของ ศุ บุญเลี้ยง กรี๊ดกันลั่น  ยิ่งโดยเฉพาะสาว ๆ ที่ชอลเพลงบัลลาดช้าซึ้ง

อีกส่วนก็คือเพลงอารมณ์ดี มองโลกในแง่บวก มุมมองสนุก ๆ แปลกแต่ไม่เหงาไปจากมุมมองของคนธรรมดาทั่วไปนัก ก็มีเพลง      “บลูคาเฟ่” , “ฉันจะยืมยางลบใคร” , “ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง” และ “คนรักเด็ก” ใครฟังแล้วก็อดยิ้มไม่ได้

เพลงที่ถือว่าผิดบุคลิกของ ศุ บุญเลี้ยง ออกไป แต่ถือว่าทำได้ยอดเยี่ยมก็คือเพลง “แม่ฟ้าหลวง” นับว่าเป็นเพลงเทิดพระเกียรติ  สมเด็จย่าแม่ฟ้าหลวงของประชาชนชาวไทย ดีที่สุดอีกเพลงหนึ่ง เป็นฝีมือการแต่งคำร้องและทำนองของ ศักดิ์ศิริ มีสมลืบ กวีซีไรท์ การเลือกนักร้องลูกทุ่งอย่าง ศิรินทรา นิยากร มาร้องเพลงนี้ เรียกว่าเยี่ยมเลยทีเดียว ในสัมผัสพิเศษการเลือกคนมาโชว์พลังเสียง     ถ่ายทอดอารมณ์เพลง ส่วน ศุ บุญเลี้ยง ก็ถอยตัวเองเป็นแค่ลูกคอร้องประสานเท่านั้น การเรียบเรียงดนตรีก็ครบถ้วยอลังการสมกับเพลงที่ยิ่งใหญ่

สำหรับภาพรวมดนตรีในอัลบั้มชุดนี้ก็เป็นอะคูสติกบัลลาด  กับ    อะคูสติกพ็อพ ที่ฟังแบบสบายๆ นุ่มละเมียดละไมหู เป็นอีซี่สิลซึนนิ่งที่ผ่อนคลายอารมณ์เป็นอย่างยิ่ง

ปฏิเสธไม่ได้ว่า งานเพลงของ ศุ บุญเลี้ยง นั้นสามารถตอบสนอง ชนชั้นกลางปัญญาชนหนุ่มสาวที่อิงสายองค์กรพัฒนาเอกชนหรือเอ็นจีโอ คือ พวกที่มีฐานะดีหรือพอใช้ แต่มีจิตสำนึกต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมถึงมีความโรแมนติก ฟุ้งฝันอยู่ในตัวเอง ซึ่งเป็น ช่องว่างของนักเพลงเพื่อชีวิตที่ไม่สามารถข้ามมาได้

นั่นคือเสน่ห์โดยตรงของ ศุ บุญเลี้ยง ที่ไม่มีใครสามารถเลียนแบบได้

จามหนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันพฤหัสบดีที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2546 หน้า 24-25
โดยคุณ : นิ่มนุ่ม - [14:28:56  4 ก.ย. 2546]

ความคิดเห็นที่ 1
ขอบคุณที่ตัดมาให้อ่านครับ
โดยคุณ :โอ๋นครปฐม - ICQ: 44693690[18:18:12  4 ก.ย. 2546]

ความคิดเห็นที่ 2
เห็นด้วย...เพราะเราก็เป็นหนึ่งในกลุ่มคนฟังเพลงที่ชอบแนวเพลงแบบพี่จุ้ยมาก..มาก...
โดยคุณ :นิมา - [11:37:54  6 ก.ย. 2546]

ความคิดเห็นที่ 3
ผมก็ด้วย
โดยคุณ :หมงครับ - [19:55:26  8 ก.ย. 2546]

ความคิดเห็นที่ 4
อยากฟังเพลงแม่ฟ้าหลวงจังค่ะ

หาแผ่นม่ายเจอ

แหะๆๆ


^^
โดยคุณ :อุ้ม นะคะ - [2:00:35  10 มิ.ย. 2550]

ขอเชิญร่วมเสนอแนะความคิดเห็นครับ
จาก :
email :
icq :
รูปภาพ :

รายละเอียด

อาการ :



กรุณาคลิก "ส่งข้อมูล" เพียงครั้งเดียวครับ....