กระดานความรู้สึก


โออิชิ เดสก๊ะ ? 'ซาชิมิ' มีพยาธิไหมคะ ?
> > ถ้า "ต้มยำกุ้ง" เป็นอาหารไทยที่ดังไปทั่วโลก "ซาชิมิ"ก็ต้อง
> > > เป็นอาหารญี่ปุ่น ที่คนทุกมุมโลกรู้จักเช่นกัน หรือที่ชาวไทยรู้จักกัน
> > > ในรูปลักษณ์ของ "ปลาดิบ" นั่นเอง ท่ามกลางกระแส
> > > ที่ร้านอาหารญี่ปุ่นผุดทุกมุมเมือง ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ
> > > สืบค้นและตั้งคำถามว่า อาหารประเภทปลาดิบในบ้านเรา ปลอดภัยเพียงพอ
> > > สำหรับการบริโภคหรือไม่
> > >
> > >
> > > ..ในเมื่อธรรมชาติได้มอบของดีมาให้แล้ว เหตุใดจึงต้องเสริมแต่ง ปรุง
> > > หรือแปลงให้รสชาติและค่าแห่งเนื้อแท้ที่เรียกว่า 'ความอร่อย'
>(ภาษาญี่ปุ่นว่า
> > > 'โออิชิ') ต้องสูญเสียไปเล่า...
> > >
> > > ควมเชื่อบรรพกาลนานโพ้นของชาวอาทิตย์อุทัย ทำให้อาหารประเภท 'ปลาดิบ'
> > > หรือซาชิมิ ติดอันดับต้นๆ อาหารถูกปากของชาวซากุระ
> > > จนส่งกระแสแรงข้ามชาติมาถึงนักเปิบสัญชาติไทยจนได้
> > >
> > >
>ร้านอาหารญี่ปุ่นที่แข่งกันผุดขึ้นยิ่งกว่าดอกเห็ดคงเป็นตราประทับการันตีชิ้น
> > > เยี่ยมสำหรับเมนูชนิดนี้ ด้วยเป็นอาหารประเภทสุขภาพ ไร้ไขมัน
> > >
>ดูจะเข้าขากันดีเหลือเกินกับธรรมชาติบำบัดที่กำลังแพร่ระบาดในสมองหนุ่มสาวเมื
> > > องหลวงอยู่ทุกลมหายใจ
> > >
> > > จนไม่อาจรู้ว่าสีสันสวยงามที่ฉาบเปลือกไว้ จะหุ้มเนื้อในอันน่าสะพรึงกลัว
> > >
> > > เย็นไม่พอ ระวัง! แขกไม่ได้รับเชิญ
> > >
> > > เนื้อในของปลาที่ถูกนำมาประกอบขึ้นเป็นตำรับ 'ซาชิมิ'
> > > ก็ไม่ได้แตกต่างกันทั้งในแง่รสชาติ และคุณภาพ ไม่ว่าจะเป็นปลาโอ ปลากะพง
> > > ปลาแซลมอน ปลาทูน่าญี่ปุ่น หรือปลาช่อนทะเล
> > > แต่ต้องอยู่ในข้อแม้ที่ว่าเจ้าของร้านหรือพ่อครัว (เชฟ)
> > > มีความรับผิดชอบต่อลูกค้าเพียงพอ
> > >
> > > ถ้าไม่เช่นนั้นแล้ว... แขกไม่ได้รับเชิญ 2 ตัวสำคัญอย่างแบคทีเรีย
>และพยาธิ
> > > จะเข้ามาชอนไช ซอกซอน ให้ได้ป่วน ชวนเสียชีวิตก็ย่อมได้
> > > เพราะมีผู้บริโภคโชคร้ายเกิดใหม่อยู่เป็นระยะ
> > >
> > > "ส่วนใหญ่จะท้องเสียกัน
>พอถามเขาก็เล่าให้ฟังว่าไปกินปลาดิบมาจากร้านเดียวกัน
> > > ซึ่งร้านนี้ก็มีปัญหาเรื่องนี้มาโดยตลอด เพราะปลาไม่สด
>คนมาร้องเรียนกันเยอะ
> > > แต่ก็ไม่รู้จะทำอย่างไร" นายสัตวแพทย์สมภพ ฉัตราภรณ์
>กองสัตวแพทย์สาธารณสุข
> > > สำนักอนามัย อธิบายปัญหา
> > >
> > >
>เพราะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยยังไม่มีมาตรฐานร้านอาหารญี่ปุ่นมารองรับ
> > > จึงทำได้แค่จัดการอบรม รวมทั้งให้คำแนะนำแก่ร้านต่างๆ เท่านั้น
> > >
>แต่ก็ยังมีความพยายามพัฒนาสภาพที่เป็นอยู่ให้ดีขึ้นกว่าเดิมโดยใช้มาตรฐานของต
> > > ่างประเทศมาเปรียบเทียบ โดยกฎหมายชื่อ The Green Herring Laws
> > > ของเนเธอร์แลนด์ ซึ่งกำหนดไว้ว่า ต้องแช่แข็งปลาที่อุณหภูมิต่ำกว่า -20 C
> > > เป็นเวลา 24 ชั่วโมง จึงนำออกจำหน่ายได้
> > >
> > > "ถ้าต้องการทำลายพยาธิ จะต้องแช่เย็นจัดอย่างรวดเร็ว
> > > จนกลายเป็นเนื้อแช่แข็งที่ -18 C อย่างน้อย 24 ชั่วโมง หรือที่ -15 C
> > > ในช่องแช่แข็งของตู้เย็นปกติเป็นเวลา 20 วัน แต่ปรากฏว่า
> > > ร้านอาหารญี่ปุ่นในเมืองไทยสอบตกหมด ไม่มีใครทำอย่างนี้ได้
> > > กฎหมายไทยก็ไม่มีอำนาจไปสั่งพวกเขา
>อีกอย่างพวกเขาก็ไม่ค่อยมีใครยอมทำตามหรอก
> > > เพราะจะเสียความอร่อยของปลาดิบไป" นายสัตวแพทย์สมภพ พูดอย่างจนใจ
> > >
> > > "ความเย็นไม่พอ" จึงเป็นปัญหาอันดับ 1 ของร้านอาหารญี่ปุ่นในเมืองไทย (47
> > > เปอร์เซ็นต์ของทั้งหมด จากการสำรวจของศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ
> > > คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ จุฬาฯ)
> > >
> > > ระหว่างคำฟ้องที่ 1 เรื่องความเย็นกำลังถูกซักฟอก
> > >
>ตัวแทนของจำเลย-ผู้ประกอบการร้านอาหารญี่ปุ่นบางส่วนก็ลุกขึ้นให้การแก้ต่างทั
> > > นที
> > >
> > > "ถ้าเป็นซาชิมิ ทางร้านจะไม่เก็บไว้นานอย่างมาก 1 วัน
> > > เพราะเราใช้วิธีสับเปลี่ยนใช้ในหลายเมนู ทำให้ของไม่เหลือค้าง
> > > ลูกค้าก็จะได้กินของสดทุกวัน หรือไม่ก็จะใช้วิธีแช่แข็งแบบสุญญากาศ
> > > (คล้ายไส้กรอกหรือแฮม) ซึ่งจะทำให้เหมือนสดอยู่ตลอดเวลา" ซาโตชิ ซาวาดะ
> > > เชฟเลือดอาทิตย์อุทัยแท้ประจำร้านชินทาโร่ โรงแรมรีเจนท์ รับรองแข็งขัน
> > >
> > > เชฟซาโตชิ บอกว่า จะใช้วิธีกะปริมาณให้พอเหมาะในแต่ละวัน
> > > และสั่งปลาจากเอเย่นต์ที่ไว้ใจได้ ซึ่งมีทั้งปลานำเข้า เช่น ปลาโอ
>ปลาแซลมอน
> > > และปลาในน่านน้ำไทยอย่างปลากะพง หรือปลาทับทิม
> > >
> > > "ข้อดีของร้านอาหารญี่ปุ่นตามโรงแรม คือ ลูกค้าไม่เยอะมาก
> > > เชฟจะสั่งของพอประมาณราวๆ วันละ 50 ตัว
> > > ซึ่งเชฟต้องคัดเองทุกตัวเพื่อเช็คอีกครั้งให้แน่ใจ ว่า สด
>สะอาดจริงหรือไม่
> > > จากนั้นจึงเอามาแช่ไว้ในอุณหภูมิที่ 4-5 C เตรียมเสิร์ฟลูกค้าทันที
> > > ไม่เหมือนกับร้านบุฟเฟ่ต์ต่างๆ ที่ต้องสั่งปลาทีละเยอะๆ ร่วมร้อยกิโล
> > > เชฟมีเท่าไหร่ก็ไม่มีพอตรวจคุณภาพปลาได้ทั่ว" ทัศนะของเชฟซาโตชิ
> > >
> > > ปฏิเสธไม่ได้ว่า ร้านอาหารญี่ปุ่นประเภทบุฟเฟ่ต์
> > > หรือตามสั่งที่เปิดเป็นสาขาอยู่ทั่วมุมเมือง
> > > เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญให้คนไทยต้อนรับอาหารสไตล์ซากุระมากขึ้น...
> > > จึงย่อมจะหนีไม่พ้นตำแหน่งจำเลยในคำฟ้องนี้ด้วย
> > >
> > > "ขายดีที่สุดคงเป็นพวกปลาดิบ จึงต้องพยายามทำให้สดเสมอ ถ้าเป็นปลาไทย
>และกุ้ง
> > > จะสั่งมาจากสัตหีบ ปลาแซลมอนจากนอร์เวย์ ส่วนปลาหมึกยักษ์จากญี่ปุ่น
> > > ส่วนเรื่องการตรวจสอบคุณภาพวัตถุดิบ
> > > เรื่องนี้เอเย่นต์ที่เราส่งของเป็นคนจัดการ เราไว้ใจเขา"
>พ่อครัวเชื้อชาติไทย
> > > สัญชาติไทย ถนอม ดีนาน เชฟใหญ่ของภัตตาคารบุฟเฟ่ต์ญี่ปุ่น โออิชิ
> > > เล่ากระบวนการ
> > >
> > > ปลาหัวนอก เชฟถนอม บอกว่า เอเย่นต์จะฟรีซ (แช่แข็ง) มาให้เลย
> > > จากนั้นก็เอามาทำละลายแล้วจึงแล่เป็นชิ้นๆ จากนั้นจึงนำใส่ตู้เย็น
> > > ซึ่งเคล็ดลับสำคัญอยู่ที่ไม่ต้องแช่แข็งมากนัก
> > > เอาแค่พอให้มีนำแข็งจับเป็นเกล็ดๆ จึงจะได้รสชาติอร่อยชวนลิ้มที่สุด
> > >
> > > และเมื่อถามถึงอุณหภูมิ มาตรฐานตัวยิ่งยวด เชฟถนอมนิ่งคิดพักหนึ่ง
> > > ก่อนเรียบเรียงคำตอบออกมาว่า
> > >
> > > "ก็ไม่แน่ใจ แต่ก็แช่น้ำแข็งให้เย็นอยู่ตลอดเวลา คงสัก 23-24 C ได้มั้ง"
> > > เชฟใหญ่โออิชิ กะความเย็น
> > >
> > > คนกินถึงตาย คนขายติดคุก
> > >
> > > เมื่อถอดผ้ากันเปื้อนออกไป ก็ไม่มีใครรู้แล้วว่า ซาโตชิ ซาวาดะ
>เป็นเชฟโรงแรม
> > > พอมีวันว่างเขาจึงเปลี่ยนสถานะไปเป็นลูกค้า
> > > ดอดเข้าร้านอาหารญี่ปุ่นยอดนิยมในกรุงร้านหนึ่ง
> > >
> > > "ผมเลือกกินแต่อาหารที่ทำสุกแล้ว เช่น ปลาย่างหรือปลา ทอด
> > > ไม่กล้ากินพวกปลาดิบ หรือซาชิมิต่างๆ
> > > เพราะแค่มองก็รู้แล้วว่ามันไม่สด"ภาษาไทยสำเนียงญี่ปุ่นของเชฟซาโตชิ
> > >
> > > อีกเหตุผลหนึ่งที่ปลาดิบเป็นสัญลักษณ์ของชาวซากุระได้ ก็เพราะว่า
> > > ความเป็นหมู่เกาะกลางทะเล จึงเป็นที่รวมตัวของปลานานาชนิด
> > > ทั้งแบบกินสุกและกินดิบ
> > >
>แต่ประเภทที่กินดิบนั้นมีวิวัฒนาการมาจากการดองเกลือก่อนแล้วจึงค่อยพัฒนามาเป
> > > ็นกินสดๆ ทั้งนี้ เพราะน้ำทะเลที่ญี่ปุ่นมีอุณหภูมิต่ำมาก
> > > พยาธิและเชื้อโรคต่างๆ จึงอยู่ไม่ได้ ดังนั้น จึงมั่นใจได้ว่า
> > > ปลาสัญชาติญี่ปุ่นแท้ ปลอดโรค สด สะอาด ควรค่าแก่การกินดิบได้
> > >
> > > "แต่คนไทยจะเลียนแบบมาทั้งหมดไม่ได้ เพราะน้ำทะเลไทยร้อนกว่าญี่ปุ่น
> > > เชื้อโรคโดยเฉพาะแบคทีเรีย อหิวาต์ และพยาธิ สามารถเข้าสู่ตัวปลา
> > > หรือสัตว์น้ำอื่นๆ ได้ นักเปิบเองก็เช่นกัน ท้องร่วงท้องเสียมันเลยระบาด"
> > > สัตวแพทย์ประจำสำนักอนามัยคนเดิมให้ข้อมูล
> > >
> > > ปลาน่านน้ำไทยจึงสมควรได้รับการกวดขันมากที่สุด
> > > แต่เพราะการสั่งครั้งละจำนวนมาก
> > > การเผลอเรอหรือการตรวจตราไม่ทั่วถึงจึงเกิดขึ้นได้ง่าย
> > >
> > > "แบคทีเรียเป็นตัวการสำคัญ บางรายท้องร่วงถึงตายได้เลยนะ
> > > มันเกิดขึ้นได้ในช่วงที่เอาปลาขึ้นจากทะเลแล้วไม่ได้ตัดลำไส้ออกทันที
> > > แบคทีเรียที่ว่าจะซึมเข้าสู่กล้ามเนื้อ น้ำเหลือง กระแสเลือด
>ลามไปทั้งตัว
> > > ที่นี้กำจัดยังไงก็ไม่ทันแล้วล่ะ"สัตวแพทย์สมภพ พูดถึงจุดหัวเลี้ยวหัวต่อ
> > >
> > > ส่วนพยาธิ งานนี้มีพยาธิตัวจี๊ดเป็นพระเอก
> > > โดยจะแฝงตัวเวียนวนอยู่ในตัวปลาและอาหารดิบต่างๆ
> > > สมมติว่าถ้าพยาธิเหล่านี้ย้ายสำมะโนครัวไปฝังตัวอยู่ในมนุษย์เมื่อใด
> > > เมื่อนั้นความตายเข้ามาเยือนในได้ทุกขณะ
> > >
> > > "เคยมีผู้ป่วยหญิงรายหนึ่งไปกินปลาดิบมา เกิดอาการปวดหัวอย่างหนัก
> > > พอไปเอกซเรย์มา พบว่า มีพยาธิตัวจี๊ดอยู่ในเส้นประสาท
> > > ทำให้ประสาทไม่สามารถควบคุมการทำงานได้ พูดกับใครก็ไม่รู้เรื่อง
>ลิ้นคับปาก
> > > โชคยังดีที่พยาธิไม่ได้เคลื่อนไปที่ตา ไม่อย่างนั้นตาคงบอด
> > > หรือถ้าหลุดเข้าไปที่ก้านประสาทด้านหลังสมอง
> > > หมอก็คงช่วยอะไรไม่ได้แล้ว"สัตวแพทย์คนเดิมเล่าประสบการณ์
> > >
> > >
>ความต่างกันสูดกู่ระหว่างความสะอาดของทะเลญี่ปุ่นกับความสกปรกของน่านน้ำไทย
> > > เป็นอีกตัวการที่ดึงกราฟความเสี่ยง (ตาย) ให้ยิ่งทวีคูณขึ้นไปอีก
> > >
> > > ปัญหาสะระตะที่มาจากซาชิมิเพียงอย่างเดียวนี้
> > > กลับจำเพาะเจาะจงจะเกิดขึ้นกับนักเปิบแดนไทยเท่านั้น
> > >
>ด้วยในดินแดงของเจ้าตำรับอย่างญี่ปุ่นเองนั้นมีกฎเหล็กตีกรอบอย่างเข้มแข็ง
> > > สโลแกนไม่ผิดกับ "ยาบ้า" ของไทยกี่มากนัก
> > >
> > > "ที่ประเทศญี่ปุ่นจะมีปัญหาน้อย เพราะร้านอาหารบ้านเขาเข้มงวดมาก
> > > ถึงกับมีกฎเอาไว้ว่าถ้าร้านไหนมีลูกค้ากินแล้วตาย คนขายต้องติดคุกทันที
> > > ดังนั้น คนขายจึงต้องทำตัวเป็นเภสัชกรไปด้วย" สัตวแพทย์สมภพ ยกตัวอย่าง
> > >
> > > เข้าทำนองที่ว่า "คนกินถึงตาย คนขายติดคุก" เลยเชียว
> > >
> > > เบื้องหน้า-เบื้องหลังของญี่ปุ่นบุฟเฟ่ต์
> > >
> > > "ข้อดีของแบบบุฟเฟ่ต์อยู่ที่ ลูกค้าสามารถเลือกกินได้หลากหลาย
> > > จ่ายเงินแค่ครั้งเดียว คุณจะเลือกกินเท่าไหร่ก็ได้ ไม่อั้น
> > > ถ้าเทียบกับร้านอื่นแล้วถือว่าคุ้มกว่า" เชฟใหญ่ของภัตตาคารโออิชิ นำเสนอ
> > >
> > > ด้วยเหตุนี้มื้อกลางวันเรื่อยไปถึงมื้อเย็นของวันเสาร์-อาทิตย์
> > > คนจึงแน่นร้านตลอดเวลา
>เพราะนอกจากจะมีอาหารตำรับญี่ปุ่นคอยวางบริการไว้แล้ว
> > > ยังพ่วงด้วยตำรับจีน เกาหลี อิตาเลียน ไว้เปรอปรนพร้อมสรรพ
> > >
>แต่ถึงอย่างไรหมายเลขหนึ่งก็ยังคงหนีไม่พ้นตำหรับยุ่นแท้ดั้งเดิมอย่างซาชิมิไ
> > > ปได้
> > >
> > > "ชอบครับ มาทีไรก็กินปลาดิบทุกที แต่ผมว่ามันแพงเกินไปนะ"
> > > กองเชียร์ปลาดิบอย่าง นที ตรีวัชรเดชา ลูกค้าวัย 27 ปี
> > >
> > > ปลาดิบหลากชนิดถูกวางเรียงสีบนก้อนน้ำแข็ง
>กวักลูกค้าให้เข้ามาชิมได้ง่ายดาย
> > > เพราะจุดนี้กระมัง...บุฟเฟ่ต์จึงได้เปรียบ
> > >
> > > "อาหารญี่ปุ่นแบบบุฟเฟ่ต์ที่เห็นขายกันอยู่ อันตรายนะ
>เพราะอุณหภูมิไม่เย็นพอ
> > > ที่เห็นๆ วางบนก้อนน้ำแข็งนั่นน่ะไม่ใช่ความเย็นที่ปลอดภัย
> > > มีโอกาสที่แบคทีเรียจะเจริญเติบโต
> > > ยิ่งวางไว้นานเท่าไหร่ก็ยิ่งจะเสี่ยงมากเท่านั้น
>เพราะแบคทีเรียจะแบ่งตัวทุกๆ
> > > 20 นาที"สัตวแพทย์คนเดิม เตือน
> > >
> > > ผู้นำตำรับบุฟเฟ่ต์อย่างโออิชิเอง ให้ข้อมูลในเรื่องนี้ว่า
> > > ปลาดิบจะใช้เสิร์ฟให้หมดภายในวันเดียว
>ถ้ามีเหลือจะนำไปดัดแปลงโดยการทำให้สุก
> > > และใช้ประกอบกับอาหารชนิดอื่นแทน
> > > พร้อมย้ำถึงความสะอาดในวัตถุดิบว่าเชื่อถือได้
> > > โดยมีประสบการณ์ในร้านอาหารญี่ปุ่นกว่า 20 ปีเป็นประกัน
> > >
> > > "เราจะมีการเดินตรวจอาหารในร้านตลอดเวลา
>เพื่อเช็คดูว่าของยังสดอยู่หรือไม่
> > > ถ้าไม่ดีเราก็จะนำไปเปลี่ยน" เชฟ ถนอมย้ำ
> > >
> > > เจ้าตำรับแท้ชาวอาทิตย์อุทัย ที่จบวิชาการทำอาหาร
> > > และได้รับใบอนุญาตการประกอบอาหารจากญี่ปุ่นโดยเฉพาะ
>กลับบอกว่าอาหารญี่ปุ่น
> > > ไม่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการเสิร์ฟแบบบุฟเฟ่ต์
> > >
> > > "ปลาดิบจริงๆ ไม่อันตรายหรอก แต่ถ้าทำเป็นแบบบุฟเฟ่ต์ ไม่แนะนำเลย
> > > เพราะการวางถาด การจัดเสิร์ฟทั่วร้าน
>จะทำให้อหารเปลี่ยนสภาพและคุณสมบัติได้
> > > ดังนั้น ผมจึงไม่เคยคิดจะทำแบบบุฟเฟ่ต์เลย" เชฟซาโตชิ เปิดอก
> > >
> > > การดูแลรักษาปลาดิบให้สดสะอาดเป็นสิ่งที่ต้องระแวดระวังมากๆ
> > > เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว
> > > ถ้าเสริมความยุ่งยากโดยการวางบริการไว้ในที่ที่ควบคุมความเย็นไม่ได้
> > > เพิ่มเข้าไปอีก
> > > ความเสี่ยงและอันตรายก็จะตกอยู่ที่ลูกค้าผู้ไม่รู้อิโหน่อิเหน่
> > >
> > > "บุฟเฟ่ต์ญี่ปุ่นบังคับให้คนจ่ายต้องกินมากๆ เอาให้คุ้ม
> > > อีกอย่างอาหารมีเยอะวางอยู่รอบตัวเต็มไปหมด
>เท่ากับยิ่งกระตุ้นให้ยิ่งต้องกิน
> > > พอกินเสร็จแทนที่จะสบายใจอิ่มเอม กลับต้องมาอารมณ์เสีย อย่างนี้มีเยอะ
> > > ซึ่งอย่างนั้นมันไม่ใช่ การได้กินอาหารอร่อยมันคือความสุขไม่ใช่เหรอ"
> > > เชฟซาโตชิ ตั้งคำถาม
> > >
> > > แต่ก็มีอีกหลายคนกลับชื่นชอบวิธีการนำเสนอแบบนี้
> > > เพราะให้เหตุผลว่าเป็นอิสระและเลือกทานได้เองตามใจชอบ
> > >
> > > "ก็ดีค่ะ ชอบเดินเลือก มีให้กินเยอะดี ไม่ต้องจำกัดอยู่ในเมนู
> > > ราคาก็โอเค.ค่ะ" รสนิยมของแม่บ้านยังสาวนาม พจนีจัตตานนท์
> > >
> > > ความไม่เหมาะสมด้วยประการทั้งปวงของวิถีบุฟเฟ่ต์กับอาหารสไตล์เจแปน
> > >
>ยังถูกตอกย้ำด้วยจุดด้อยของไทยในเรื่องภูมิอากาศที่ร้อนระอุ-ของโปรดของแบคทีเ
> > > รีย และพยาธิ
> > >
> > > "ความชื้นสัมพันธ์ในเมืองไทยก็สูง อุณหภูมิก็สูง
> > > เหมาะแก่การเจริญเติบโตของเชื้อโรคต่างๆ ดังนั้น
> > > จึงต้องมีกระบวนการที่พิถีพิถันให้มาก
> > > มากยิ่งกว่าเจ้าของประเทศอย่างญี่ปุ่นเสียอีก แต่นี่ไม่ มาตรฐานอะไรๆ
> > > ก็ไม่มีเลย ทำได้ดีที่สุด คือ ให้คนกินระมัดระวังด้วยสายตา
> > > และวิจารณญาณของตัวเองเท่านั้น"สัตวแพทย์สมภพ เสนอทางแก้เฉพาะหน้า
> > >
> > > แต่ใครล่ะ...จะพกแว่นขยายหรือกล้องจุลทรรศน์เข้าร้านอาหารไปด้วย?
> > >
> > > ................................................
> > >
> > > ใช่ว่าโจทก์เองจะไม่เคยได้ยินข่าวร้ายเรื่องของโปรดเหล่านี้มาก่อน
> > > แต่เพราะโชคร้ายยังไม่เคยเกิดกับตัว
>ความอยากจึงมากกว่าความกลัวเป็นธรรมดา
> > >
> > > "เท่าที่กินมาก็สะอาด สดดีนะครับ ยังไม่เคยท้องเสียเลย แต่ก็เคยทราบ
> > > อันตรายพวกนี้มาบ้าง ก็ไม่กลัวครับ เพราะยังไม่เคยเจอ
> > > เอาเป็นว่ายังไม่กลัวจนกว่าจะเจอก็แล้วกันครับ" นที ลูกค้าหนุ่มคนเดิมบอก
> > >
> > > สัตวแพทย์สมภพ เสริมว่า ปัญหาเรื่องปลาดิบเป็นพิษมีมาตลอด
>แต่อาจไม่บ่อยนัก
> > > เพราะว่าคนที่กินไม่ค่อยได้สังเกต
> > > มักโยนความผิดเหล่านี้ให้เป็นของอาหารชนิดอื่น
> > > และฟูมฟักเอาใจอาหารญี่ปุ่นต่อไป ในฐานะเมนูสุดโปรด
> > >
> > > คำฟ้องปลาดิบที่มีคนกินเป็นโจทก์ และมีผู้ประกอบการเป็นจำเลย
> > > ยังต้องซักฟอกกันต่อไป ตราบใดที่ยังไม่ผู้พิพากษามาทุบโต๊ะตัดสิน
> > >
> > > รออีกสักหน่อย...เผื่อว่า "ความตาย" อาจมาสะสางเรื่องทั้งหมดก็ได้
โดยคุณ : Mr.Mint - [8:19:25  3 ก.ย. 2544]

ความคิดเห็นที่ 1
อ่านจบแล้วก็ทำให้รู้สึกว่าต้องระวังให้มากขึ้นเวลาทานอาหารญี่ปุ่น แต่ถึงเราจะชอบอาหารญีปุ่นมากๆๆๆๆ ก็เหอะ แต่ sashimi ที่โออิชิไม่เคยทำให้เรารู้สึกอยากทานเลย มันดูไม่เหมือน sashimi ในร้านทั่วๆ ไปแบบที่ไม่ใช่ บุฟเฟต์ ดูเยอะจนไม่น่าทานยังไงก็ไม่รู้ แต่เราอาจจะเรื่องมากไปเองก็ได้มั้ง
โดยคุณ :i-ma-ni - [18:12:53  3 ก.ย. 2544]

ความคิดเห็นที่ 2
เพื่อนที่ทำงานเขาจบวิทยาศาสตร์ทางทะเลมาก็บอกแบบนี้แหล่ะ เรื่องพยาธิหน่ะ หวาดเสียว - -'
โดยคุณ :ไก่น้อย - [20:00:11  3 ก.ย. 2544]

ความคิดเห็นที่ 3
เราก็ชอบซาชิมิมากเลย เวลาไปทานข้าวปั้นก็กลัวเหมือนกันค่ะ แต่เราก็เลือกร้านที่ดูดี มีความสด เราโชคดีตรงที่ว่ามีสามีเป็นคนญี่ป่น และส่วนมาก เขาจะพาเราไปทานอาหารญี่ป่น ที่รสชาดเป็นอาหารญี่ป่นค่ะ
โดยคุณ :ฝน - [15:33:50  22 ส.ค. 2551]

ความคิดเห็นที่ 4
    ถ้าสมมุติว่าอาหารยี่ปุ่นราคาถูกกวอาาพวกมสั่งอาหารตาแต่ถ้าปลาดิบรึอะไรดิบๆถึงถูกก็ไม่กินหรอกเช่นปูอัดใส่ไข่ปลาสีส้มๆทำไมแพงมากกินแค่คำเดียวเท่ากับข้าวเหนียวหมูย่างเลยนะอย่างน้อยชั้นก็ภูมิใจคะว่าที่อำเอบ้านชั้นไม่มีร้านอาหารจำพวกนี้อยุ่เพราะว่าคนที่นี่เค้าชอบอาหารท้องถิ่นกันคะไม่เป็นไปตามกระแสอยู่แล้ว
โดยคุณ : มะระสีฟ้า - [16:01:04  1 ก.พ. 2554]

ความคิดเห็นที่ 5
    ขอติติงนะคะ เวปนี้เสียอย่างนึงพื้นสีขาว ไม่มีลายสวยๆตัวพิมพ์ก็เล็กอยากให้ปรับปรึงคะขอพื้นสีเขียวอ่อนๆ จะดีมากคะเออดีนะเขียนอะไรหมิ่นเหม่ก็ไม่โดนลบชอบอีตรงนี้แหละคะอ้อ วันนี้เวลา11.55นาทีมีเฮลิคอปเตอร์บินค่อนข้างต่ำผ่านไปททางทิศตะวันออกของบ้านชั้นเองเป็นลูกหลานพระมหากษัตริย์ถ้าไม่ทำอะไรให้ประชาชีเห็นก็ววางตัวลำบากเหมือนกันนนนะต้องแบบตั้งโคครงการอะไรสักอย่างเพือ่เรียกเครดิตขอไม่ใช่ว่าจะไปแจกใบปริญญาอย่างเดียวงตัวเอง
โดยคุณ : มะระสีฟ้า - [15:42:56  21 ก.พ. 2554]

ขอเชิญร่วมเสนอแนะความคิดเห็นครับ
จาก :
email :
icq :
รูปภาพ :

รายละเอียด

อาการ :



กรุณาคลิก "ส่งข้อมูล" เพียงครั้งเดียวครับ....