เธอหมุนรอบฉันฉันหมุนรอบเธอ แบบเด็กวิทย์ๆ
หลังจากได้ฟังเพลง "เธอหมุนรอบฉัน ฉันหมุนรอบเธอ" ของวง เฉลียง ที่นำมาร้องใหม่โดย วง Scrubb ฟังครั้งแรกแบบผ่านๆไม่ได้คิดอะไร แต่เมื่อได้ฟังรอบที่สองเริ่มสะดุด ให้ฉุกคิดในเนื้อเพลงท่อนที่ว่า
"(เกิดอาการ) เธอหมุนรอบฉัน ฉันหมุนรอบเธอ แต่สองดาวก็ยังหมุนรอบตัวเอง เธอดึงดูดฉัน ฉันดึงดูดเธอ และสองดาวยังเปล่งแสงอันงดงามให้แก่กัน (ไปทั่วฟ้า)"
เอะเอ ดาวกฤษ์สองดวงที่หมุนรอบตัวเองและยังหมุนรอบ(โคจรรอบ)กันและกัน มันมีอยู่จิงนี่นาจัดไปเลย! ! ! ฟังซะเกือบ 20 รอบ ยิ่งฟังยิ่งไพเพราะ ยิ่งฟังยิ่งเห็นภาพ จึงอยากจะแบ่งบันภาพนั้นให้เพื่อนๆได้เห็นด้วยครับ
ตอนที่ 1ดาวนับล้านที่ลอยอยู่บนท้องฟ้าจะมีไหม หนาที่ลอยอยู่เองเฉยๆไม่ยอมโคจรหมุนไปไหนเลยไม่เคย ไม่เห็นเลยสักดวง ดาวของฉันเธอว่าห่างไกลลิบๆแต่ดาวไหนๆมัน ก็อยู่ไกลกันทั้งนั้นดาวของเธอฉันว่าก็เหมือนกันกี่ ปีแสงนั้นอย่านับเลย
------------------------------------------------------------------------------------------------
แค่วรรคแรกของเพลง ก็โดนใจเห็นภาพแล้วครับ ชัดเจนมากครับ เนื้อหาในตอนแรกนั้น ถูกต้องตรงกับความจริงในธรรมชาติที่ดวงดาว(กฤษ์) ในจักรวาลนั้นไม่ได้อยู่นิ่งๆ และมีการเคลื่อนไหว(โคจร) อยู่ตลอดเวลา แต่เนื่องด้วยระยะที่ไกลมาก( โครตไกล ) ทำให้ชั่วชีวิตเราไม่สามารถจะสังเกตเห็นการเคลื่อนไหวนั้นได้ชัดเจน หรืออาจจะไม่เห็นเลยซะด้วยซ้ำ ลักษณะคล้ายกัน กับเวลาที่เรามองเครื่องบิน บินอยู่บนท้องฟ้าจากระยะทางไกลๆ เราจะรู้สึกเหมือนกับมันค่อยๆขยับไปที่นิด แต่ในความเป็นจริงนั้นเครื่องบินกำลังทยานไปด้วยความ เร็วสูงมาก
ตอนที่ 4ดาวนับแสนที่มีวงแหวนนับร้อย ทั้งดาวเคราะห์น้อย ดาวฤกษ์ลอยคว้างๆดาวทุกดวงนั้นย่อมจะแตกต่างมีเส้น ทางหมุนของตัวเอง
---------------------------------------------------------------------------------------------
ขออนุญาตนำตอนนี้ขึ้นมาก่อนครับ เพราะว่าท่อนที่โดยใจนั้น มีเรื่องต้องสาทยายกันยาว เป็นที่ทราบกันดี ว่าในบรรดาดาวเคราะห์ทั้ง 8 ดวงในระบบสุริยะจักรวาลของเรานั้น ดาวเคราะห์ที่มีวงแหวนคือดาวเสาร์ เพียงดวงเดียว แต่ความจริงนั้น มีมากกว่านั้นครับ ดาวเคราะห์ที่เป็นก๊าซที่มีวงแหวน นั้นนอกเหนือจากดาวเสาร์ แล้วยังมีดาวพฤหัสบดี (ชื่อดาวพฤหัสบดี ไม่ใช่ดาวพฤหัส) และดาวเนปจูน (หรือดาวเกตุ) ซึ่งไม่สามารถสังเกตการณ์ได้จากบนพื้นโลกผ่านกล้องโทรทรรศน์ ต้องให้เทคนิคในการถ่ายภาพหลบแสงจากดวงเคราะห์ หรือ บางภาพได้มาจากการถ่ายติดโดยบังเอิญของยานสำรวจ
ตอนที่ 3(เกิดอาการ)เธอหมุนรอบฉัน ฉันหมุนรอบเธอแต่สองดาวก็ยังหมุนรอบตัวเองเธอดึงดูด ฉัน ฉันดึงดูดเธอ และสองดาวยังเปล่งแสงอันงดงามให้แก่กัน
---------------------------------------------------------------------------------------------
มาถึงท่อนโดนใจ Climate เอ๊ย Climax ของเรา
เธอหมุนรอบฉัน ฉันหมุนรอบเธอ แต่สองดาวก็ยังหมุนรอบตัวเอง
ฟังแล้วนึกภาพตามครับ เหมือนคน 2 คนเต้นรำ จับมือกันหมุนติ้วๆ พลางนึกในใจเอ.................. มันมีดาวกฤษ์สองดวงที่หมุนรอบกันและด้วยหรอ ????????
คำตอบคือ มีนั่นเอง ! ! ! !เราเรียกดวงกฤษ์(ดวงอาทิตย์) ที่หมุนหรือโคจรรอบกันและกันว่า "ระบบดาวคู่" (Binary star system)และสำหรับระบบดาวที่มีมากกว่าสองดวงโคจรรอบกันว่า "ระบบดาวหลายดวง" (Multiples star system) บางครั้งก็เรียกว่าระบบดาวพหุ จากการสำรวจของนักดาราศาสตร์พบว่า ดาวกฤษ์ บนท้องฟ้าหรือที่ลอยเคว้งอยู่ในอวกาศที่ว่างๆนั้น มากกว่า 50-75%เป็นระบบดาวคู่หรือระบบดาวหลายดวง ซึ่งนักดาราศาสตร์ได้ตั้งสมมติฐานการเกิดของระบบดาวคู่หลักๆไว้ ด้วยกัน 2 สมมติฐานครับ
- ระบบดาวคู่เกิดจากกลุ่มก๊าซเดียวกัน
- ระบบดาวคู่เกิดจากการจับกันภายใต้สนามโน้มถ่วง
ระบบดาวคู่เกิดจากกลุ่มก๊าซเดียวกันทฤษฎีการเกิดระบบ ดาวคู่นี้ตั้งอยู่บนสมมติฐานที่ว่า ดาวคู่ถือกำเนิดจากกลุ่มก๊าซ(เนบิวลา)เกิด "การยุบตัวลงภายใต้สนามโน้มถ่วง (Gravitational Collapse)"มีการหมุนรอบตัวเองด้วยโมเมนตัมเชิงมุม ผลของการหมุนรอบตัวเองนี้ทำให้กลุ่มก๊าซมีรูปร่างบิดเบี้ยวไปและยุบตัวแยก กันเป็นกลุ่มก๊าซย่อย 2 บริเวณโดยมวลของก๊าซทั้ง 2 บริเวณต้องมากพอที่จะทำให้เกิดการยุบตัวเองจนพัฒนาเป็นดาวฤกษ์ 2 ดวง และโคจรรอบจุดศูนย์กลางมวลของเนบิวลานั้น คุณสมบัติที่พบในระบบดาวคู่นี้คือดาวฤกษ์ทั้ง 2 ดวงมีองค์ประกอบทางเคมีเหมือนกันและมีอายุเท่ากัน ถ้าหากในระหว่างการยุบตัวกลุ่มก๊าซแยกกลุ่มมากกว่า 2 บริเวณจะพัฒนา "ระบบดาวหลายดวง ( multiples star system)" ซึ่งขึ้นกับสภาพแวดล้อมในระหว่างการยุบตัว
ระบบดาวคู่เกิดจากการจับกันภายใต้สนามโน้มถ่วง สมมติฐานของทฤษฎีนี้กล่าวว่า แรกเริ่มมีดาวเพียงดวงเดียวอยู่ก่อนแล้ว และมีดาวใกล้เคียงกันซึ่งถือกำเนิดจากเนบิวลาที่ต่างกัน ได้รับสนามโน้มถ่วงซึ่งกันและกันจับให้มาโคจรรอบจุดศูนย์กลางมวล ร่วมกัน(gravitational capture) ทำให้ดาวคู่ที่มีลักษณะการเกิดดังกล่าวมีองค์ประกอบทางเคมีที่ แตกต่างกัน และอายุของดาวไม่เท่ากัน ระบบดาวคู่นี้พบได้บริเวณใจกลางของกระจุกดาวเปิด(Globular Cluster) ซึ่งมีสมาชิกอยู่รวมกันหนาแน่น
ขอคารวะพี่จิกประภาสมาหนึ่งจอก
สุดยอด สุดยอด ไม่รู้คิดได้ไง ผสมผสานศิลปะและวิทยาศาสตร์เข้าด้วยกันอย่างไม่น่าเชื่อ
และที่สำคัญเพลงนี้ทำให้เด็กรุ่นใหม่รู้จักเฉลียงมากขึ้นแฮะ โดยคุณ :
สาธิตจันท์ - [20:43:08 22 ก.ค. 2552] |