กระดานความรู้สึก


... เรื่องราวของหิ่งห้อย ...
หิ่งห้อยดูเหมือนจะเป็นแมลงตัวน้อยที่อยู่ในใจของคนสนิทชิดเฉลียงทุกคนแทบไม่ต่างจากที่ช้างจะเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองไทยเรา
วันนี้ไปเจอรายละเอียดของแมลงไฟตัวจิ๋วมา จึงเอามาฝาก เผื่อจะรู้จักและรักหิ่งห้อยมากขึ้น

======================

หิ่งห้อยเป็นแมลงในวงศ์ Larnpyridae Coleoptera เป็นด้วงที่มีลำตัวอ่อนและปีกอ่อน มีขนาดลำตัว 5-20 มม.เป็นแมลงที่สามารถผลิตแสงในตัวของมันเองได้ โดยแสงมีสีเหลืองปนขาวหรือสีเขียวปนเหลือง อวัยวะผลิตแสงของหิ่งห้อยอยู่ที่ปล้องส่วนท้องด้านล่างในตัวเมียอยู่ที่ปล้องที่ 5 ตัวผู้อยู่ที่ปล้องที่ 5และปล้องที่ 6 หิ่งห้อยตัวเต็มวัยจะออกมาให้เห็นตอนกลางคืน ส่วนกลางวันจะซ่อน ตัวอยู่ตามต้นไม้ใบหญ้าที่ชุ่มชื้นตามหนองน้ำหรือชายป่า วงจรชีวิตของหิ่งห้อยมีอยู่ด้วยกัน 4 ขั้นตอน ขั้นตอนแรก คือระยะไข่ใช้เวลาประมาณ 2 อาทิตย์ จึงจะเข้าสู่ ขั้นตอนที่ 2 คือตัวหนอน ขั้นตอนนี้จะใช้เวลา 1ปี ประมาณ จึงจะเข้าสู่ ขั้นตอนที่ 3 ซึ่งเป็นขั้นตอนของการเป็นดักแด้ประมาณ 2 อาทิตย์ ดักแด้จะอาศัยอยู่ในดิน จากนั้นจะลอกคราบเข้าสู่ขั้นตอนสุดท้ายที่เรียกว่าตัวเต็มวัย พร้อมที่จะบินส่อองแสง เพื่อเป็นสื่อว่าเป็นพวกเดียวกันและจับคู่ผสมพันธุ์ หลังจากนั้นตัวเมียที่ถูกผสมพันธุ์ก็จะเริ่มวางไข่

ความสำคัญหรือประโยชน์ที่จะได้รับจากหิ่งห้อยนั้นมีมากอันดับแรกคือ เป็นตัวบ่งชี้ถึงความสมบูรณ์หรือความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศน์ ประโยชน์อีกประการหนึ่งคือ หิ่งห้อยระยะตัวอ่อนมีนิสัยเป็นตัวห้ำกินทากและหอยทากเป็นอาหารถือว่าเป็นศัตรูธรรมชาติ ควบคุมศัตรูซึ่งเป็นตัวการที่ทำความเสียหายให้แก่ พืชผลทางการเกษตรปัจจุบันประชากรของหิ่งห้อยบ้านเราลดลงมากเนื่องจากการใช้สารเคมีทางด้านการเกษตรอย่างต่อเนื่องโดยไม่เข้าใจ อย่างถ่องแท้โดยเฉพาะการใช้ยาฆ่าแมลงเป็นผลทำให้หิ่งห้อยและอาหารของหิ่งห้อยมีจำนวนลดลงมากในประเทศไทยการศึกษาเกี่ยวกับหิ่งห้อยมีอยู่น้อยมาก ปัจจุบันได้มีคณะทำงาน วิจัยเรื่องนี้ทั้ง 4 ภาคทั่วประเทศ เพื่อสนองพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ ภายใต้โครงการที่ชื่อว่า “โครงการศึกษาความหลากหลายและนิเวศวิทยาของหิ่งห้อยในประเทศไทย” โดยทำการรวบรวมข้อมูลทางภาคสนามและเก็บตัวอย่างหิ่งห้อยในระยะตัวเต็มวัย นำมาตรวจวิเคราะห์หาชื่อ สกุล และชนิดของหิ่งห้อยในแต่ละภาคพร้อมทั้งศึกษาวงจรชีวิตเพื่อข้อมูลเหล่านั้นไปจำลองรูปแบบระบบนิเวศน์ที่เหมาะสมเพื่อการอนุรักษ์หิ่งห้อยต่อไป

======================
โดยคุณ : ไก่น้อย - [16:58:38  13 ก.ย. 2544]

ความคิดเห็นที่ 1
แปลว่า...ถ้าที่ไหนมีหิ่งห้อยเยอะๆ ก็ไม่น่าจะมีทาง ใช่ป่าววว
โดยคุณ :กำแพง-กำปั่น-บันได - [17:05:22  13 ก.ย. 2544]

ความคิดเห็นที่ 2
อ่า....ไก่น้อยมีสาระ
โดยคุณ :picmee - [21:04:17  13 ก.ย. 2544]

ความคิดเห็นที่ 3
อ่า....ไก่น้อยมีสาระ
โดยคุณ : picmee - [ 13 ก.ย. 2544 , 21:04:17 น.]
คิดเหมือนกันเลย
โดยคุณ :engineer man - [0:30:30  14 ก.ย. 2544]

ความคิดเห็นที่ 4
ลืมบอกไปว่าเอามาจาก website ของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ครับ
โดยคุณ :ไก่น้อย - [7:53:33  14 ก.ย. 2544]

ความคิดเห็นที่ 5

แสดงว่าบ้านเราก้อระบบนิเวศยังดีนะซิ
เพราะกลับไปนอนที่บ้านที่ไร
ก้อมีหิ่งห้อยแวะมาทักทาย เวลานั่งเล่นตรงระเบียงบ้านทุกทีเลย
@^-^@
โดยคุณ :akejung - [10:45:24  14 ก.ย. 2544]

ความคิดเห็นที่ 6
แถวๆบ้านยังมีหิ่งห้อยมาแวบๆ

ข้อสอบ english ครั้งล่าสุดออกบทความเกี่ยวกับการส่องแสงด้วยย
ทำข้อสอบไปร้องเพลง(...ร้องไห้...)ไป เฮ้อ...
โดยคุณ :ใบหม่อน - [14:41:38  14 ก.ย. 2544]

ความคิดเห็นที่ 7
บ้านเราก็ยังมีหิ่งห้อยเหมือนกัน วันก่อนมาเกาะเสื้อเราด้วย บ้านเราไม่ได้อยู่ในป่านะ แค่ชานเมืองเอง
โดยคุณ :turbo - [13:30:51  24 ก.ย. 2544]

ความคิดเห็นที่ 8
ขอรูปวงจรของหิ่งห้อยหน่อยค่ะ
โดยคุณ :นะ - [16:09:24  27 ม.ค. 2553]

ความคิดเห็นที่ 9
มีความรู้มากมายเลยค่ะ
โดยคุณ :nam - [17:47:41  20 ก.ค. 2554]

ขอเชิญร่วมเสนอแนะความคิดเห็นครับ
จาก :
email :
icq :
รูปภาพ :

รายละเอียด

อาการ :



กรุณาคลิก "ส่งข้อมูล" เพียงครั้งเดียวครับ....