กระดานความรู้สึก


จากเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา (a day และ summer : นิตยสารทางเลือกที่อันตราย )
ได้รับข้อความข้างล่างจากเพื่อนคนนึง ก็เลยเอามาแบ่งปันกันดู นานจิตตังนะครับ อย่าคิดมาก


ข้างล่างนี้เป็นบทความที่ได้มีการกล่าวถึงนิตยสาร A Day & Summer และ
ได้พาดพิงไปถึงประภาส เพลงดาบฯ โน้ต อุดม ปราย พันแสง
รู้สึกว่าจะเคยส่งไปให้เมื่อนานมากๆ แล้ว พอได้ฟังเมื่อวันอาทิตย์ก็เลยมีคนหา &
แปะมาให้อ่านอีก

a day และ summer :
นิตยสารทางเลือกที่อันตราย
ธดา

----------------------------------------------------------------------------
----


...เป็นคนค่อนไปทางสุขนิยม อะไรทุกข์ก็อยากจะลืม ๆ ไปบ้าง
พยายามคิดค้นอีกด้านหนึ่ง เป็นคนชอบความสบายใจ ความสวยงาม
แต่ก็ต้องมีความรู้ด้วย ตัวตน SUMMER จะเป็นอย่างนี้”
(ละออ ศิริบรรลือชัย บรรณาธิการนิตยสาร summer)


“...(a day)เป็นนิตยสารที่คิดมาก แต่อ่านง่าย เป็น positive thinking magazine
ของคนรุ่นนี้ที่หน่ายกฎเกณฑ์เก่า ๆ รำคาญความซ้ำซากจำเจ
ถ้าเปรียบเป็นคนจะเป็นพวกรวยอารมณ์ขัน ทันสมัย ช่างคิด มองโลกในแง่ดี แหกคอก
ขณะเดียวกันก็ฉลาดพอที่จะรู้จักกาลเทศะ”
(วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์ บรรณาธิการนิตยสาร a day หรือตำแหน่ง "Visionary
Director" ตามที่ปรากฏในนามบัตรของเขา)

----------------------------------------------------------------------------
----
summer และ a day เป็น ๒ ใน ๕ นิตยสารที่ GM (ฉบับเดือนสิงหาคม ๒๕๔๓)
เรียกว่าเป็น "หน่วยรบเลือดใหม่ในสังเวียนนิตยสาร" โดยอีกสามนิตยสารได้แก่
OPEN, HOW-TO และ Alternative Writer
เหตุที่ผู้เขียนเลือกกล่าวถึงเฉพาะการเกิดขึ้นและดำรงอยู่ของนิตยสาร summer และ
a day หรือที่วงศ์ทนงจัดประเภทตัวเองไว้ว่าเป็น "positive thinking magazine"
นั้นก็เพราะความเป็น "เลือดใหม่” ไม่ใช่ประเด็นสำคัญของบทความนี้
แต่เพราะผู้เขียนคิดว่ามีอันตรายบางอย่างซุกซ่อนอยู่เบื้องหลังวิธีคิดแบบ
"สุขนิยม", "มองโลกในแง่ดี" รวมทั้งการเฝ้าชื่นชมหลงใหลใน "เรื่องเล็ก ๆ
ที่งดงาม" ของนิตยสารที่เลือกมองแต่ความรื่นรมย์ของโลกอย่าง summer และ a day
ต่างหาก

ไม่ว่าคนทำนิตยสารจะมีเลือดเก่าหรือเลือดใหม่อยู่ในตัว
มันก็น่ากลัวด้วยกันทั้งนั้นถ้าหากว่าพวกเขาไม่ใส่ใจจะมองปัญหาเชิงโครงสร้าง
หลีกเลี่ยงความขัดแย้ง
ไม่วิพากษ์วิจารณ์สังคมอย่างถอนรากถอนโคนและทำเป็นมองไม่เห็นถึงผลกระทบ
จากการใช้ชีวิตของชนชั้นกลางในเมือง (อย่างพวกเขา)
ต่อคนส่วนใหญ่แล้วจงใจหลบเลี่ยงไปอ่อนไหวอยู่กับเรื่องราวประเภท
“บางทีผมเหยียบมดตายทั้ง ๆ ที่ผมไม่เจตนา ผมเหยียบต้นหญ้าจนบอบช้ำอยู่เรื่อย”
(คอลัมน์ Analize This ของ โลเลและนายขนุน ; summer premiere issue
November+December 1999 ) หรือหลีกหนีความโหดร้าย
ที่คนในสังคมกระทำต่อกันด้วยกันคร่ำครวญ / โหยหาอดีตอันรื่นรมย์ เช่น โฆษณาเก่า
ๆ , สินค้าเก่า ๆ และภาพยนตร์ดี ๆ ในอดีต ดูได้จากคอลัมน์ yesterday, แอด ฟอร์
ฟัน และสกู๊ปเรื่อง Nampoo…something still remains (a day ; number 2, October
2000.)

ดูเหมือนเราจะคาดหวังอะไรกับนิตยสารกลุ่มมองโลกสวยงาม-เน้นความมีอารมณ์ดีนี้ไม่
ได้มากไปกว่าเนื้อหา ที่เร่งเร้าให้ผู้อ่านหันมาหาความรื่นรมย์ใส่ชีวิต
ข้อความประเภท “…ไม่เร่งรีบ เหนื่อยก็พัก
ขี้เกียจเข้าก็ล้มตัวลงนอนหรือจะถอยกลับไปข้างหลังบ้างก็ได้
เพราะบางทีเราอาจทำของสำคัญตกหล่นไว้ บนระหว่างเส้นทางที่ผ่านมา” (“Walking
Story” ; summer issue 6, July 2000.) หรือ “…มีความสุขกับหนังสือดี ๆ สักเล่ม
เขียนโปสการ์ดถึงคนที่คิดถึงหรือเปิดเพลงโปรดให้เพลงเพราะ ๆ
กล่อมเราเข้าสู่ห้วงนิทราอันแสนสุข เข้าสู่โลกอีกโลกที่ชื่อว่า ‘ความฝัน’”
(คอลัมน์ Bed Time ; a day, number 1, September 2000) มีให้อ่านอยู่มากมายใน
summer และ a day จึงไม่แปลกเลย ถ้าพวกเขาจะมองว่าการทำหนังสือก็เป็นเหมือน
“คนพเนจรที่ระหว่างทาง อาจจะเจอร้านก๋วยเตี๋ยวร้านหนึ่งที่ดูน่าอร่อย
เอ้าแวะกินก่อน ไปเจอสวนดอกไม้ก็แวะเดินชม
หรืออาจจะเด็กสักคนก็ลงไปทักทายเพราะเราไม่รีบ ค่อย ๆ เก็บรายละเอียดให้ชีวิต”
(ภาสกร ประมูลวงศ์ นักเขียนและครีเอทีฟของ a day ให้สัมภาษณ์กับ GM)

วิธีคิดแบบนี้กำลังถูกเผยแพร่เพื่อสร้างเครือข่ายและหาแนวร่วมอย่างดุเดือดขึ้นเ
รื่อย ๆ ทุกวันนี้ นอกจากจะมีนิตยสารประจำกลุ่มอย่าง summer และ a day แล้ว
สมาชิกมองโลกสวยงามยังมีคอลัมน์ประจำในหนังสือพิมพ์รายวัน-รายสัปดาห์อีกจำนวนหน
ึ่ง เช่น ใน "มติซน" (หน้า ๑๔ นสพ.มติชนฉบับวันอาทิตย์)
รวมทั้งมีวงสนทนาว่าด้วยเรื่องราวเล็ก ๆ ซึ่งดำเนินไปอย่างแสนคึกคักใน
bookcyber.com อีกด้วย

โตมร ศุขปรีชา
นักเขียนผู้ผ่านการทำงานกับนิตยสารมาแล้วหลายฉบับเคยเขียนถึงการมองโลกในแง่ดีไว
้ในคอลัมน์ Inspiration นิตยสาร Image ว่า

"...ทุกวันนี้ การมองโลกในแง่ดีกลายเป็นกระแส กลายเป็นแฟชั่น กลายเป็นธงรบ
กลายเป็นศาสนาและกลายเป็นของเก๋ของคนกลุ่มหนึ่ง
แต่บางทีอาจจะเก๋เกินไป-เพราะการมองโลกในแง่ดีหลายครั้งไม่ได้ ‘ดี’ จริง...
และหลายครั้งถึงกับถูกใช้เป็นอาวุธ ถึงขั้นเป็นการใช้ความรุนแรงเชิงวัฒนธรรม
ที่สำคัญก็คือ แทบจะไม่มีใครตั้งคำถามต่อการมองโลกในแง่ดีเลยแม้แต่คนเดียว
ที่ผมอด ‘มองโลกในแง่ร้าย’ และทำให้รู้สึกเป็นห่วงไม่ได้ก็คือ ผมเห็นว่า
ฝูงที่มองโลกในแง่ดีต้องเป็นฝูงที่มีความสุขมากพอที่จะมองโลกในแง่ดีได้
นั่นแปลว่าฝูงที่มองโลกในแง่ดีต้องเป็นฝูงที่พออกพอใจกับชีวิตของตนในระดับหนึ่ง
และนั่นย่อมหมายความว่า
ฝูงนั้นพอใจกับระบบสังคมและโครงสร้างของสังคมที่ดำรงอยู่
ซึ่งก็คือสังคมแบบทุนนิยมที่มีระบบคิดแบบชนชั้นกลางเป็นใหญ่ เป็นสังคมที่
‘นิพพาน’ ของมัน คือ การสามารถขายทุกอย่างได้
แม้แต่ความสุขที่เกิดจากการมองโลกในแง่ดี !”

งานเขียนของโตมรชิ้นนี้ยังโจมตีไปไกลถึงขนาดว่า
การชักชวนให้ผู้คนหันมามองแต่เรื่องสวย ๆ งาม ๆ
นั้นไม่สอดคล้องกับแนวคิดทางพุทธ
เพราะแก่นของพุทธศาสนาคือการพิจารณาชีวิตตามที่มันเป็นจริงเพื่อให้รู้ว่าชีวิตน
ั้นเป็นทุกข์ อันจะนำไปสู่การค้นหาสมุทัย นิโรธ มรรค
เพื่อให้พ้นจากทั้งสุข-ทุกข์ในที่สุด

แม้จะเคลือบแคลงใจอยู่บ้างว่าโตมรเองก็อาจจะเป็นพวกฝันเฟื่องใน "เรื่องเล็ก ๆ
ที่งดงาม" หรืออยู่ในฝูงที่มองโลกในแง่ดีด้วยเหมือนกัน
เพราะเขาเคยเป็นคู่หูกับวงศ์ทนงในช่วงที่ทำนิตยสาร Trendy Man และ Image
เคยคิดจะทำนิตยสารด้วยกันมาแล้วด้วยซ้ำ
แต่ถึงตอนนี้คงต้องยอมรับว่าไม่มีใครวิพากษ์วิจารณ์
และพูดถึงอันตรายที่ซุกซ่อนอยู่เบื้องหลังวิธีคิด วิธีมองโลก
ของคนกลุ่มนี้ได้ชัดเจนเท่าเขาอีกแล้ว

บรรพบุรุษของมนุษย์สายพันธุ์นี้คือใคร ?
พวกเขาถือกำเนิดขึ้นมาด้วยปัจจัยหรือสภาพสังคมแบบไหน ?
ผู้เขียนต้องสารภาพว่ามีความรู้เกี่ยวกับพลวัตของสังคมไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน
ไม่มากพอที่จะหาคำตอบให้ได้
รวมทั้งไม่รู้จะให้คำจำกัดความคนกลุ่มนี้ว่าอย่างไรด้วย
รู้แต่เพียงว่าพวกเขาชอบเขียนและพร่ำพูดถึงเรื่องการเดินทาง, การท่องเที่ยว,
ความใฝ่ฝัน, ตัวตน, รอยยิ้มของเด็กและคนแก่, ดอกไม้ในทุ่งหญ้า,
ร้านก๋วยเตี๋ยวน่ารัก ๆ ริมทาง, คนเล็ก ๆ , เรื่องเล็ก ๆ ที่น่าจดจำ,
ร้านกาแฟเล็ก ๆ , ร้านหนังสือเล็ก ๆ, มิตรภาพและน้ำใจแสนหวาน

ประภาส ชลศรานนท์, สมาชิกศิษย์สะดือ, เพลงดาบแม่น้ำร้อยสาย, ‘ปราย พันแสง,
วงเฉลียง, อุดม แต้พานิช, ปราบดา หยุ่น, โรเบิร์ต ฟูลกัม
(ผู้เขียนหนังสือยอดฮิตเรื่อง True Love, ธรรมดาที่ไม่ธรรมดา และคนที่ประกาศว่า
“ความเฟื่องฝันมีอานุภาพมากกว่าความจริง”) เป็นตัวอย่างบุคคลที่พวกเขาปลื้ม
คิดว่าน่าสนใจและมีอะไรให้ค้นหา

ถ้อยคำที่พวกเขาใช้อยู่บ่อย ๆ มักอยู่ในกลุ่มคำว่าด้วยความฝัน (ความใฝ่ฝัน,
นักฝัน, ประกายฝันน้อย ๆ, กล้าที่จะฝัน, ก่อร่างสร้างฝัน, ทำตามความฝัน)
การเดินทาง (เส้นทาง,คนเดินทาง,ผจญภัย,การค้นหา,การแสวงหา) ความอบอุ่น
(อุ่นอารมณ์,เรื่องอุ่น ๆ,ข้อเขียนอุ่น ๆ,กรุ่นบรรยากาศเอื้ออาทร) ความงาม
ความรัก ความโรแมนติก ความอ่อนไหว เป็นต้น

ไม่ว่ามันจะเป็นสิ่งเดียวกันหรือไม่
แต่มุมมองและอารมณ์ความรู้สึกต่อปรากฏการณ์ต่าง ๆ ในสังคมที่คนของ summer และ a
day กำลังเผยแพร่อยู่นี้ทำให้ผู้เขียนนึกถึงสิ่งที่มิลาน คุนเดอรา
ผู้เขียนหนังสือเรื่อง ความเบาหวิวเหลือทนของชีวิต เรียกว่า “รสนิยมสาธารณ์”
ซึ่งหมายถึงความรู้สึกแบบที่มวลชนส่วนใหญ่คล้อยตามได้ง่าย ๆ

คุนเดอราบอกว่า “รสนิยมสาธารณ์ไม่เน้นสภาพการณ์ที่ผิดธรรมดา
แต่ต้องมาจากภาพพจน์พื้นฐานที่คนทั่วไปจดจำฝังแน่น เช่น ลูกสาวไม่รักดี
พ่อผู้ถูกทอดทิ้ง เด็ก ๆ วิ่งเล่นบนสนามหญ้า มาตุภูมิที่ถูกทรยศ
รักครั้งแรก…รสนิยมสาธารณ์ดลใจให้น้ำตาสองหยดไหลติดต่อตามกันอย่างรวดเร็ว
น้ำตาหยดแรกครวญว่า : ช่างงดงามเสียนี่กระไรที่ได้เห็นเด็ก ๆ
วิ่งเล่นบนสนามหญ้า ! น้ำตาหยดที่สองพิไรว่า :
ช่างงดงามเสียนี่กระไรที่ได้ซึ้งใจไปกับมนุษยชาติทั้งมวลเมื่อได้เห็นเด็ก ๆ
วิ่งเล่นบนสนามหญ้า”

นักเขียนผู้นี้ยังเตือนเอาไว้ด้วยว่า

“รสนิยมสาธารณ์คือฉากที่ใช้กำบังความตาย
บนเปลือกหน้าคือสิ่งมดเท็จที่ทุกคนเข้าใจ เบื้องหลังลึกลงไป
สัจจะที่ไม่มีใครเข้าใจฉายลอดออกมา”

summer และ a day ซึ่งประกาศตัวว่าเป็น “นิตยสารทางเลือก” นี้
ดูเหมือนจะเป็นโรงงานผลิตรสนิยมสาธารณ์หรือเครื่องมือสืบทอดรสนิยมสาธารณ์ชิ้นล่
าสุด เป็นคัมภีร์ที่ใช้เผยแพร่ลัทธิเล็ก ๆ ที่งดงามของพวกเขา
และเป็นเครื่องหมายการค้าของพวกสุขนิยม ซึ่งเมื่ออ่านจากบทบรรณาธิการของ a day
ฉบับปฐมฤกษ์ที่เขียนถึงจุดเริ่มต้นของนิตยสารฉบับนี้ไว้ว่า
"เอาความคิดใส่กระดาษ ๕ แผ่น ส่งไปให้อ่าน
แล้วคนเป็นพันส่งเงินกลับมาสมทบจนได้ครบล้านบาท..." ,
จำนวนคนที่เข้าไปพูดคุยถึงนิตยสารทั้งสองในห้องสนทนาทางอินเทอร์เน็ต,
อีเมล/จดหมาย/ไปรษณียบัตรวันละ ๘๐ ฉบับที่ถูกส่งมาถึงสำนักงานนิตยสาร a day,
คำพูดของบก.summer ที่ว่า “ผู้อ่านของเราเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ”
ไปจนกระทั่งถึงข้อความที่วงศ์ทนงเขียนถึงผู้อ่านคนหนึ่งใน bookcyber.com ที่ว่า
"ผมบอกได้อย่างหนึ่ง จากยอดขาย a day ที่อยู่ในมือ คือ กลุ่มของผม ‘ไม่เล็ก’
ครับ"
คงเป็นเครื่องยืนยันได้ในระดับหนึ่งว่าฝูงคนมองโลกในแง่ดีหรือพวกคลั่งไคล้
"เรื่องเล็ก ๆ ที่งดงาม" นั้นไม่ใช่เล็ก ๆ เลย

เป็นไปได้หรือไม่ว่า
เหตุที่วิธีการมองโลกของคนกลุ่มนี้เป็นที่นิยมของคนเป็นจำนวนมากในเวลาอันรวดเร็
วก็เพราะว่ามันมีลักษณะเป็น “รสนิยมสาธารณ์” นั่นเอง

summer (ราคา ๘๐ บาท) ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน ๒๕๔๒
ปีแรกประกาศว่าจะวางแผงปีละ ๘ เล่ม แต่ปัจจุบันกำลังเปลี่ยนมาออกรายเดือน
summer อธิบายตัวเองว่าเป็น The Life style for All Season
เป็นนิตยสารที่เกิดขึ้นจากความต้องการขยายธุรกิจของกลุ่ม art4d
โดยมีบรรณาธิการเป็นละออ ศิริบรรลือชัย
อดีตผู้ช่วยบรรณาธิการนิตยสารเที่ยวรอบโลกและถ้าย้อนหลังไปไกลกว่านี้อีกหน่อยก็
จะพบว่าเธอเป็นหนึ่งในสมาชิก "ศิษย์สะดือ" (หนึ่งในผู้เขียน
หนุ่มนักโบกกับสาวขี้บ่น) summer แต่ละฉบับจะมีคอนเซ็ปต์เดียวกันทั้งเล่ม เช่น
ผู้หญิงเดินทาง ความรัก มิลเลนเนียม กาแฟ การผจญภัย หนทาง เป็นต้น

a day (ราคา ๖๐ บาท) ก่อตั้งเมื่อสิงหาคม ๒๕๔๓ วางแผงทุกต้นเดือน วงศ์ทนง
ชัยณรงค์สิงห์ ผู้เป็นบรรณาธิการเคยผ่านงานนิตยสารมาแล้วหลายเล่ม เช่น
Hi-Class, Image, Life&Decor, GM, Trendy Man และช่วงสั้น ๆ ก่อนหน้า a day
ฉบับแรกจะวางแผง เขาลงมือเขียนคอลัมน์ “เรื่องเล็ก”
ในมติชนสุดสัปดาห์ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องเล็ก ๆ ที่เขาคิดว่างดงามน่าจดจำ
เช่น เรื่องราวของคุณป้าที่ขับรถสีขาว, หญิงสาวขายขนมปังที่เขาเดินผ่านทุกวัน
เป็นต้น

แม้ว่า “เรื่องเล็ก”
จะปรากฏตัวอยู่ไม่นานนักแต่มันก็ได้ทำให้คนที่เห็นดีด้วยกับการมองโลกแบบวงศ์ทนง
เพิ่มขึ้นอีกมากมายก่ายกอง เป็นไปตามแผนการที่เขาบอกกับ GM ไว้ว่า
ตั้งใจเขียนให้อุ่น ๆ หน่อยเพื่อเก็บเกี่ยวแฟนสาว ๆ ไว้บ้าง
ซึ่งน่าจะเป็นเหตุผลเดียวกับที่เขาขยันเข้าไปตอบกระทู้ด้วยถ้อยคำหวานหู ใน
bookcyber.com

วงศ์ทนงบรรยายความเป็น a day ไว้ในบทบรรณาธิการฉบับที่ ๒ ว่า “ตั้งใจให้ a day
เป็นนิตยสารที่อ่านสนุก อ่านแล้วได้แง่งามของทัศนะและจินตนาการ…a day
สร้างขึ้นบนเนื้อหาหลัก ๓ ส่วน คือ Idea (ความคิดสร้างสรรค์ต่าง ๆ ) Somebody
(คนธรรมดา ๆ ที่มีความสามารถ) แล้วก็ Nostalgia (เรื่องราวย้อนอดีตอันอบอุ่น)”
แล้วทิ้งท้ายด้วยการประกาศตัวว่า a day เป็น
“นิตยสารอัลเทอร์เนทีฟเล่มใหม่ของเมืองไทย”

แม้ว่าในความจริง มีนิตยสารที่หมางเมินกับปัญหาและความไม่เป็นธรรมในสังคม
ขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่รับใช้ทุนนิยม,บริโภคนิยม,วัตถุนิยมอย่างสุดขั้วกว่า
summer หรือ a day อีกตั้งมากมาย
ยังไม่ต้องพูดถึงนิตยสารแฟชั่นที่เต็มไปด้วยหน้าโฆษณาและยัดเยียดให้คนมุ่งสนใจแ
ต่ความสวยงาม
นิตยสารผู้หญิงหัวนอกที่เน้นเรื่องวิธีจับผู้ชายและสร้างเสน่ห์ให้ตัวเอง
นิตยสารวัยรุ่นที่เต็มไปด้วยเรื่องราวเพ้อฝัน นิตยสารท่องเที่ยว
นิตยสารอาชญากรรม นิตยสารเรื่องแปลกพิศดาร ฯลฯ
แต่นิตยสารเหล่านี้ก็ยังไม่น่ากลัวหรืออันตรายเท่านิตยสาร “ทางเลือก”
ที่ผลิตออกมาจากสมองของผู้ที่มีจิตใจดี มองโลกงดงาม ใส่ใจกับรายละเอียดเล็ก ๆ
น้อย ๆ และนิยมการเดินทางเป็นชีวิตจิตใจอย่างพวก positive thinking magazine
เพราะอย่างน้อยนิตยสารเหล่านั้นก็พูดถึงเรื่องไร้สาระทั้งหลายอย่างเปิดเผย
ตรงไปตรงมา อีกทั้งสังคมก็พอจะ “เท่าทัน” ถึงพิษภัยของมันกันบ้างแล้ว เช่น
พอจะมองออกว่านิตยสารพระเครื่องเป็นเรื่องงมงาย, นิตยสารเรื่องแปลกแหกตาคนอ่าน,
การ์ตูนมอมเมาเยาวชน, นิตยสารประเภทภาพอาชญากรรมปลูกฝังความรุนแรง,
นิตยสารแฟชั่นหลอกล่อให้คนซื้อสินค้าและสร้างนิสัยฟุ่มเฟือย ฯลฯ ซึ่งแม้แต่ a
day เองก็ยังเคยประณามสื่อทำนองนี้ไว้ว่า
“…สื่อส่วนใหญ่ในประเทศนี้มักจะไปให้ความสำคัญกับเรื่องไม่เป็นเรื่อง
เราจึงมักจะได้เห็นคนที่ทำอะไรห่วยแตก ไร้สาระ เช่น กินอะไรประหลาด ๆ
น่าขยะแขยงหรือมีพฤติกรรมจี้เส้นมาลงหนังสือออกทีวีอยู่เสมอ” (คอลัมน์ Think
Positive ; a day, number 2, October 2000.)

สาเหตุที่นิตยสารอย่าง a day และ summer
น่ากลัวกว่าก็เพราะว่ามันบดบังอันตรายของตัวเองไว้อย่างมิดชิดด้วยถ้อยคำและวิธี
คิดที่ดูเหมือนมีสาระและไม่เป็นพิษเป็นภัยกับใคร
คนกลุ่มนี้ฉลาดพอที่จะย้อมกิเลสหยาบ ๆ ที่ถูกนำเสนอในนิตยสารเล่มอื่นๆ
ให้กลายเป็นกิเลสอย่างละเอียดที่ละเมียดละไมเสียจนดูเหมือนไม่เป็นกิเลส เช่น
เรียกกิจกรรมการท่องเที่ยวของตนเพื่อเสพธรรมชาติ
เสพน้ำใจผู้คนบนรายทางเสียสวยหรูด้วยคำว่า
การเดินทาง-แสวงหาตัวตน-ค้นหาตัวเอง-ทำตามความใฝ่ฝัน
ทำให้คนไม่คิดจะตั้งคำถามกับการท่องเที่ยวและมองไม่เห็นว่า การท่องเที่ยวนั้น
ที่จริงแล้วก็เป็นแค่การบริโภคอย่างหนึ่งของชนชั้นกลาง
ที่ส่งผลกระทบอย่างลึกซึ้งใหญ่หลวงต่อระบบนิเวศและผู้คนของโลกที่พวกเขาพากันไปเ
หยียบเล่น

และถึงข้อเขียนใน summer และ a day จะมีคำว่า สิ่งใหม่ ๆ, ล้มล้างระบบเก่า,
ขบถ, แหกคอก, แตกต่าง, กล้าคิดกล้าทำอะไรใหม่ ๆ ฯลฯ อยู่เต็มไปหมด
แต่มันก็ไม่ได้หมายถึงความต้องการเปลี่ยนแปลง/ล้มล้างระบบที่ไม่เป็นธรรมต่าง ๆ
ในสังคมของเรา แม้จะไม่เลวร้ายถึงขนาดหยิบมาใช้เพื่อความเท่ห์เฉย ๆ
แต่การขบถ/แหกคอกของพวกเขาก็ไม่ได้เป็นไปเพื่อส่วนรวม
หากแต่เกิดขึ้นเพียงเพราะต้องการทำให้ชีวิตของตนมีสีสัน
หาความสนุกสนานให้กับชีวิตน้อย ๆ ของปัจเจกชนในโลกยุคใหม่
หรือไม่ก็เพียงแค่อยากทำให้ตัวเองแตกต่างพอที่จะกลายเป็นคนโดดเด่น เป็น
“somebody” ในยุคสมัยที่ใคร ๆ ก็เหมือนกันไปหมดเท่านั้น

สรุปว่าการมองโลกในแง่ดีของพวกเขา แท้ที่จริง คือ
การเลือกรับรู้แต่ด้านที่สวยสดงดงามของสิ่งต่าง ๆ
แล้วปฏิเสธที่จะใคร่ครวญถึงปัญหา-ความขัดแย้งในสังคม
พวกเขามีความเห็นใจให้กับผู้ทุกข์ยากก็จริง
แต่ไม่เคยคิดจะเอาตัวเข้าไปเกี่ยวข้องแก้ปัญหา
ไม่แม้แต่จะมองว่าตัวเองเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผู้คนอีกเป็นจำนวนมากต้องเดือดร้อ
น หรือไม่ก็มองความโศกเศร้าของคนเหล่านั้นว่าเป็นความเศร้าที่…งดงาม

นอกจากการปฏิเสธความรับผิดชอบต่อปัญหาสังคมโดยทำเป็นไม่รับรู้ว่าสังคมมีปัญหาแล
้ว นิตยสารแนวนี้--โดยเฉพาะ a day
ยังสวมบทบาททาสรับใช้ผู้ซื่อสัตย์ของลัทธิทุนนิยม/บริโภคนิยม
ทั้งยังเป็นตัวสืบทอดค่านิยม
และวิถีชีวิตอันฟุ้งเฟ้อของชนชั้นกลางอย่างขยันขันแข็งอีกด้วย
เห็นได้จากข้อเขียนบางประโยคใน a day
ซึ่งจงใจบ่งบอกถึงความเป็นนิตยสารของชนชั้นกลางอย่าง… ประภาสมองถ้วยกาแฟ…
ปราบดายกกาแฟขึ้นดื่มอีกครั้ง… ปราบดาบิบัตเทอร์เค้กส่งเข้าปากคำใหญ่…ฟลอเรนซ์
หยิบช็อคโกแล็ตเค้กกินอย่างเอร็ดอร่อย…

แต่นั่นก็ยังไม่น่าหนักใจเท่ากับการที่นิตยสารประเภทนี้ให้ความสำคัญแต่กับความค
ิดสร้างสรรค์ ความเก๋ไก๋ แหวกแนวและขำขัน
โดยไม่ใส่ใจเลยว่าเรื่องราวเหล่านั้นจะเป็นประโยชน์กับใครหรือทำให้สังคมดีขึ้นบ
้างหรือไม่ เป็นต้นว่า summer นำเสนอภาพช้างบนท้องถนนในกรุงเทพฯ
พร้อมกับตีตารางเปรียบเทียบความเหมือน-ต่างระหว่างรถกับช้างอย่างตลกขบขัน--รถยน
ต์กับช้างใช้เบรก ABS เหมือนกัน แต่ของรถยนต์เป็นแอนตี้เบรกซิสเท็ม
ส่วนของช้างเป็นแอนตี้บาทาซิสเท็ม, รถยนต์ขับถ่ายออกมาเป็นคาร์บอนไดออกไซด์
ในขณะที่ช้างขับถ่ายเป็นปุ๋ยเกษตรชั้นดี สุดท้าย summer สรุปอย่างอารมณ์ดีว่า
“…หรือว่าช้างที่เคยเป็นสัญลักษณ์อยู่บนธงชาติไทยจะกลายมาเป็นพาหนะที่เหมาะสมกั
บคนรุ่นใหม่ปี ๒๐๐๐“ (summer ; issue 2, January 2000.)
ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรเลยกับปัญหาช้างในเมืองที่หลายฝ่ายกำลังระดมสมองเพื่อห
าทางออกกันอยู่

การนำปัญหามาเล่นตลกเช่นนี้ นอกจากจะไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาแล้ว
ยังอาจส่งผลให้ผู้อ่านชินชาหรือไม่จริงจังกับปัญหาที่เกิดขึ้นมากมายรอบตัว
กระทั่งมองไม่เห็นว่าเรื่องนั้น ๆ เป็นปัญหาอีกด้วย

แต่ที่ร้ายไปกว่าสิ่งที่นิตยสารแนวนี้กระทำกับปัญหาช้างในเมือง
น่าจะเป็นเรื่องของการที่ความคิดสร้างสรรค์และเรื่องเก๋ ๆ
ที่ถูกนำเสนอนั้นล้วนแต่ไปไม้พ้นจาก “กระแสหลัก” ทั้งสิ้น เช่น การที่ a day
เลือกสัมภาษณ์กลุ่มหนุ่มสาว ๕ คนที่กำลังเป็นดาวรุ่งอยู่ในวงการโฆษณา
ซึ่งแม้ว่าผลงานของเขาและเธอจะโดดเด่นจริง
แต่วงการโฆษณาก็เป็นตัวร้ายที่ยั่วยวนล่อหลอกให้ผู้คนใช้ชีวิตอย่างฟุ่มเฟือย
บริโภคเกินความจำเป็นอยู่ดี การที่ a day เสนอเรื่องราวของคนกลุ่มนี้
ย่อมแสดงว่าเขาสนับสนุนการทำทุกวิถีทางเพื่อให้คนควักเงินซื้อสินค้าของพวกนักโฆ
ษณานั่นเอง

Today Special ใน a day
เป็นอีกคอลัมน์หนึ่งที่ประกาศความเป็นสาวกลัทธิบริโภคนิยม
สิ่งของที่เขาหยิบมาแนะนำด้วยเหตุผลที่ว่ามันกำลัง “In Trend”
นั้นล้วนอยู่ในวัฒนธรรมบริโภคกระแสหลักโดยนิตยสารที่ประกาศตัวว่าเป็น
“ทางเลือก” อย่าง a day นำเสนอด้วยความภาคภูมิใจ ไม่ขัดเขินแม้แต่น้อย
ไม่ว่าจะเป็น เพลงชุดใหม่ของ Oasis, วิดีโอเกมเรื่อง Final Fantasy IX,
ร้านอาหารอิตาเลี่ยนที่สยามสแควร์ชั้น ๑, หนังเรื่องใหม่ของจิม แครี่,
ปลาและปลาหมึกแผ่นอบกรอบยี่ห้อเบนโตะและเว็บไซต์บันเทิงของแกรมมี่
ส่วนสุดยอดความคิดสร้างสรรค์ที่เจ้าของคอลัมน์ Think Positive
เลือกนำเสนอก็หนีไม่พ้นโฆษณาซ้อสทาบาสโก้และโฆษณาแมคโดนัลด์ฝีมือเอเจนซี่ไทยซึ่
งได้รับรางวัลในการประกวดโฆษณาที่ฝรั่งเศส,
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ล่าสุด--เม้าส์ไร้สาย
สุดยอดความคิดสร้างสรรค์อันสุดท้ายได้แก่ แคมเปญล่าสุดของกาแฟสตาร์บัคส์ คือ
สมุดสะสมตราปั๊มเพื่อแลกกาแฟสตาร์คบัคส์ขนาด ๒๐๐ กรัม ฟรี ๑ ถุง

การเสพนิตยสารประเภทนี้จึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ
เพราะพวกเขาได้ทำให้โฆษณาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับเนื้อหาอย่างสนิทแนบแน่น
ตลอดเวลาที่อ่านเนื้อหาใน a day
สมองของเราจะบันทึกยี่ห้อสินค้าลงไปโดยไม่รู้ตัว ส่วน summer นั้น
ด้วยความที่เน้นความสวยงามในทุก ๆ หน้า
จึงพิถีพิถันกับการจัดหน้าโฆษณาเสียสวยและกลมกลืนไปกับส่วนอื่น ๆ
ของนิตยสารจนคนไม่รู้ว่าเป็นหน้าโฆษณา กรณีเช่นนี้
ผู้เขียนคิดว่าไม่ต่างจากการที่รัฐวิสาหกิจอย่างปตท.หรือ
กฟผ.แอบแฝงโฆษณาประชาสัมพันธ์องค์กรของตัวเองมาในรูปของเนื้อข่าวของหนังสือพิมพ
์รายวันหรือนิตยสารบางฉบับนั่นเอง

อันตรายประการสุดท้ายของนิตยสารกลุ่มนี้
(ซึ่งเป็นอันตรายที่น่าหวาดกลัวที่สุดสำหรับผู้เขียน) ก็คือ
พวกเขามักจะใช้รสนิยมสาธารณ์ชุดหนึ่งเข้าสยบความคิดเห็นที่แตกต่างและข้อวิพากษ์
วิจารณ์ต่อแนวคิดหรือสิ่งที่พวกเขาทำ กล่าวคือ
ยิ้มรับคำวิจารณ์เหล่านั้นอย่างอ่อนโยน
รับฟังความคิดเห็นที่แตกต่างด้วยเมตตาและจิตใจอันกว้างขวางยิ่งนัก
แล้วพวกเขาก็จะเอ่ยอย่างชื่นชมว่า มันเป็นความเห็นแตกต่างที่…งดงาม
น่าซาบซึ้งใจเสียนี่กระไรที่มีคนติชม เป็นการติชมอันเนื่องมาจากความรัก
ความปราถนาดีต่อกันโดยแท้

กระบวนการอันแยบยลนี้เองที่สยบคำวิพากษ์วิจารณ์ให้เงียบไปในเวลาอันรวดเร็ว--ซึ่
งคงไม่เว้นแม้แต่บทความนี้

อย่างไรก็ตาม “อันตราย” เพียงเท่านี้ก็มากพอแล้ว
ที่ผู้เขียนจะแสดงความไม่เห็นด้วยกับการหลีกหนีปัญหา / ความขัดแย้งในสังคม
แล้วเลือกมองแต่ความน่ารื่นรมย์อย่างที่ summer และ a day ทำ

การปลูกดอกไม้เพื่อแต่งแต้มโลกให้สวยงามไม่ใช่เรื่องเสียหาย
แต่ดอกไม้ไม่อาจเติบโตขึ้นได้จากดินเลว อากาศเป็นพิษ น้ำที่เน่าเสีย
ถ้ารักจะปลูกดอกไม้จริงต้องลงแรงปรับปรุงดินเสียใหม่
รวมทั้งกำจัดต้นเหตุที่ทำให้น้ำและอากาศเสีย เมื่อปัจจัยต่าง ๆ
ได้รับการเปลี่ยนแปลงให้สะอาดสมบูรณ์แล้วต่างหาก
ดอกไม้จึงจะโตวันโตขึ้นและเบ่งบานอยู่เนิ่นนาน

ผู้เขียนมั่นใจว่า คนปลูกดอกไม้รู้เรื่องนี้ดี แต่พวกเขาจงใจละเลยมัน
เพราะการเปลี่ยนดินเลวให้เป็นดินดีมันเหนื่อยยากกว่านัก หรือเอาเข้าจริง
พวกเขาก็ไม่ได้อยากให้โลกหรือสังคมมันดีขึ้นหรอก
เขาจงใจหล่อเลี้ยงระบบแห่งความไม่เป็นธรรม
และส่งเสริมให้คนวนเวียนอยู่แต่กับการบริโภคอย่างไร้สาระต่อไปด้วยซ้ำ
เพราะถ้าปัญหาสังคมหมดไป จะหาผู้ทุกข์ยากและรอยยิ้มอันหม่นเศร้าที่ไหน
ให้พวกเขาได้แสดงความเห็นอกเห็นใจหรืออ่อนไหวไปกับมัน ?
โดยคุณ : Mr.Mint - [21:59:00  27 ส.ค. 2544]

ความคิดเห็นที่ 1
แล้วกระทู้เรื่องนี้ก็วนมาที่บ้านเรา...
อันนี้ก็แล้วแต่ความคิดของแต่ละคนค่ะ..
โดยส่วนตัวเชื่อว่าวิจารณญาณเป็นเรื่องสำคัญ..
ลองแวะไปดูความคิดที่เพื่อนๆเขียนไว้
เมื่อครั้งที่แปะอยู่ที่บ้านโน้น (ไทมุง) ดูสิคะ
ได้มุมมองอะไรอีกแยะ
http://www.thaitle.com/prapas/webboard/07235.html
http://www.thaitle.com/prapas/webboard/07334.html
โดยคุณ :pitsie~~ - [22:31:21  27 ส.ค. 2544]

ความคิดเห็นที่ 2
"รสนิยมสาธารณ์"
มีรสนิยม ไหน ถึงกับต้องเรียกว่า "สาธารณ์" เชียวหรือ!!!
"สาธารณ์" กับ "สาธารณะ" ดูคล้ายคลึง แต่ที่จริง ไม่คล้ายกันเลย ลองเปิดพจนานุกรมดูเถอะ..
คนเขียน เพียงต้องการจะ quote คำพูด ของใคร ก็ได้ที่สอดคล้องกับตัวเองมา เพื่อให้ข้อเขียนมีน้ำหนัก จนลืมดูไปว่า ข้อความที่ยกมา บ่งบอกถึง ความอ่อนด้อย ทั้งแง่ภาษาและสังคม

การที่มี "รสนิยมสาธารณ์" (ให้ตายเหอะเกลียดคำนี้เป็นบ้า ขอเปลี่ยนเป็น "สาธารณนิยม" จะได้ไหม) ไม่ได้แปลว่าเราจะเพิกเฉยต่อปัญหาสังคม และหาความสุขใส่ตัวแต่เพียงอย่างเดียวเสียเมื่อไร

"สาธารณนิยม" ไม่ได้ขัดแย้งกับการยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส หรือการปรับปรุงแก้ไขสังคม แต่อย่างใด

ตรงกันข้าม แนวคิด "สารธารณนิยม" ทำให้คนมองเห้นความงาม ของสิ่งที่เคยมองข้ามไป ทำให้จิตใจละเอียดอ่อน รู้สึกปรารถนาดี และมีเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์มากขึ้น สิ่งเหล่านี้ ยังอยู่ในหัวใจของทุกๆคน

ความเมตตา กรุณา แม้มิใช่โมกขธรรมอันสูงสุดในบวรพุทธศาสนา แต่ก็เป็นธรรมขั้นต้น มิใช่หรือ??
โดยคุณ :กำแพง-กำปั่น-บันได - [11:37:14  28 ส.ค. 2544]

ความคิดเห็นที่ 3
อาจจะเป็นการคิดอย่าง"เพิกเฉยต่อปัญหา" อย่างที่เขาว่ากันหรือเปล่านะคะ แต่ว่า คนเราก็มีวิธีการในการมองและปฏิบัติต่อสิ่งต่างๆไม่เหมือนกัน ถ้าสิ่งที่เรา(และใครๆ)ปฏิบัติต่างก็มีจุดมุ่งหมายเหมือนกัน เราจะต้องเถียงกันทำไมละคะ ว่าวิธีของฉันดีกว่า วิธีของฉันถูกต้อง เราต่างมีหน้าที่ที่เรารู้อยู่แล้ว ทำหน้าที่ของเราให้ถูกต้องและดีงามเถิดค่ะ แล้วผลลัพธ์ก็จะออกมาดี โดยที่ไม่ต้องกังวลว่า "คนอื่นเขาทำกันอย่างไร" "ทำไมเขาไม่ทำอย่านี้ อย่างนั้น หรืออย่างโน้น"
โดยคุณ :neko - [13:25:47  28 ส.ค. 2544]

ความคิดเห็นที่ 4
จากนามจอคงจะพอบอกได้นะคะว่าเป็นคนยังไง
อยากจะบอกว่าเป็นอย่างนี้มานานแล้วไม่ใช้เพราะ a day หรือ summer

ลองเอาเรื่องการมองโลกในแง่ดีมาคิดเป็นคณิตศาสตร์ (แบบพี่จิก) ดูนะคะ

ถ้าคุณมีปัญหาอะไรสักอย่าง คุณจะทำอย่างไร
มองปัญหาอย่างคนมองโลกในแง่ร้าย
ผลลัพท์คือ:ปัญหายังอยู่
มองปัญหาอย่างคนมองโลกในแง่ดี
ผลลัพท์คือ:ปัญหายังคงอยู่เช่นกันค่ะ(อ้าว)
แต่ว่า...มีแต่ค่ะ
อย่างน้อย....ปัญหาที่ยังอยู่
.....มันทำร้ายกำลังใจที่จะต่อสู้ของเราไม่ได้ค่ะ

จากคณิตศาสตร์(หรือเปล่า)ข้างต้น
คุณคิดว่าคนมองโลกคนไหน
"ขาดทุน!!"

โดยคุณ :อารมณ์ดี - ICQ: 112287947 [16:09:22  31 ส.ค. 2544]

ความคิดเห็นที่ 5
ในทางจิตวิทยา
บางครั้งบางคนต้องการปกปิดปมด้อยตัวเอง
ด้วยการสร้างสิ่งที่ตรงกันข้าม ซึ่งไม่สามารถเป็นไปได้ ในความเป็นจริง
การใช้วิธีปฏิเสธ( Denial ) หลีกหนี ตลอดจนการคิดแบบทดแทน ( Compensation )
บางครั้งเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่ดี บางครั้งมันกลับสร้างปัญหามากมาย
...
พวกเขามีความเห็นใจให้กับผู้ทุกข์ยากก็จริง
แต่ไม่เคยคิดจะเอาตัวเข้าไปเกี่ยวข้องแก้ปัญหา
ไม่แม้แต่จะมองว่าตัวเองเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผู้คนอีกเป็นจำนวนมากต้องเดือดร้อน
...
หากยึดหลักการเดินทางสายกลางทุกคนจะมีความสุขอย่างแท้จริง
...
และเชื่อเถอะว่า กระทู้นี้จะไม่ค่อยมีคนเข้ามาตอบ เพราะเหตุผลที่ต้องการยุติ และหลีกเลี่ยงการเกิดปัญหา

โดยคุณ :เพียงผ่านมาเห็น - [22:44:28  9 ก.ย. 2544]

ความคิดเห็นที่ 6
นิตยสารเล่มเดียวมันใส่ไม่หมดทุกอย่างหรอกคุณคนเรามันก็ต้องมีจุดขายของตัวเองเขาขายหนังสือไม่ได้พิมพ์แจก ความใส่ใจและการต้องการเปลี่ยนแปลงสังคมเป็นสิ่งที่ดี แต่ต้องมีจุดแบ่งไม่จำเป็นว่าเราต้องร้องไห้หรือเต็มไปด้วยความไม่พอใจเสมอไป บางครั้งหัวเราะบ้างก็ได้ a day หรือ summerก็เหมือนโอเอซิท หรือฟาสฟูด มันไม่ใช่อาหารหลัก แต่ก็พอให้ได้พักใจบ้างในโลกที่ร้อนแล้งแห่งนี้
โดยคุณ :ผมเอง - [18:44:32  24 ม.ค. 2550]

ความคิดเห็นที่ 7
เห็นด้วยกับ comment 6 ที่สุด!..  มันก็แล้วแต่คนจะคิดค่ะ
.  ..  ...  ....  .....
ชอบ a day  โดยส่วนตัว ชอบ  วงวงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์  มากๆ

*กระชากใจ

โดยคุณ :เยี่ยมเยือน - [11:53:52  18 ธ.ค. 2550]

ขอเชิญร่วมเสนอแนะความคิดเห็นครับ
จาก :
email :
icq :
รูปภาพ :

รายละเอียด

อาการ :



กรุณาคลิก "ส่งข้อมูล" เพียงครั้งเดียวครับ....