กระดานความรู้สึก


เหมาะกับใครไหมเอ่ย ?????
โรคอ้วนนับเป็นปัญหาสำคัญที่สุดต่อสุขภาพ นอกจากปัญหาภายนอกที่ทำให้รู้สึกอึดอัด ไม่กระฉับกระเฉงไม่สมส่วน
อาจถูกเพื่อนฝูงล้อเลียนแล้วความอ้วนยังเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ เช่นด

-ไขข้อกระดูดเสื่อม -ไขมันในเลือดสูง

-ปวดเข่า -โรคหลอดเลือดแดงแข็งื

-โรคเบาหวาน -โรคหัวใจขาดเลือดื

-โรคเบาหวาน -โรคนิ่วในถุงน้ำดี

-โรคความดันโลหิตสูง

ทราบได้อย่างไรว่าอ้วน

- คะเนจากสายตาของเราเองว่าด้วนหรือไม่ัง

- คำนวณหาค่าดัชนีความหนาของร่างกาย (Body Mass Index = BMI)

***โดยใช้สูตร

น้ำหนักตัว (ก.ก.)
(ส่วนสูง)2 (เมตร)


*แล้วนำค่าที่ได้ไปเปรียบเทียบกับตาราง ดังนี้

 

BMI น้อยกว่า 20 ผอม

ระหว่าง 20-25 น้ำหนักพอดียบ

ระหว่าง 25-30 น้ำหนักมากไป (ท้วม)

มากกว่า 35 อ้วนมาก

 

สาเหตุที่ทำให้อ้วน

- บริโภคอาหารเกินความจำเป็น โดยเฉพาะอาหารจำพวกแป้งและไขมันสูง

- รับประทานของหวาน, ขนมทานเล่น หรือรับประทานพร่ำเพรื่อเกินวันละ 3 มื้อง

- ขาดการออกกำลังกายจึงทำให้ร่างกายสะสมพลังงานที่เหลือใช้ไว้ในรูปของไขมันส่วนเกินเกาะตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

- ตัวยาบางชนิดหรือกรรมพันธ์ ก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้อ้วนได้เช่นกัน

 

การลดน้ำหนักให้ได้ผลดี ควรประกอบด้วยด้

1. ความตั้งใจจริงหรือสิ่งสำคัญในการลำน้ำหนักถ้าไม่ตั้งใจจริงแล้ว โอกาสล้มเหลวมีมาก
ไม่ว่าจะมาพบแพทย์หรือรับประทานยาลดความอ้วนแล้วก็ตาม

2. การควบคุมอาหารที่ถูกวิธี เริ่มจากการปรับเปลี่ยนนิสัยในการรับประทานอาหารใหม่ คือ
รับประทานให้น้อยแต่ต้องได้คุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนและครบ 5 หมู่

3. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ สำหรับผู้ที่ไม่เคยอกกำลังกายมาก่อน ก็ควรค่อย ๆ ฝึกทีละเล็กละน้อย เช่น
การเดินจนถึงการเต้นแอโรบิคในการออกกำลังกายแต่ละครั้งควรใช้เวลาประมาณ 15-30 นาที และทำอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

 

อาหารเพื่อลดน้ำหนัก

การเลือกรับประทานอาหารเพื่อลดน้ำหนักให้ได้ผลดีต้องเป็นอาหารที่ครบส่วน และมีคุณค่าทางโภชนาการตามที่ร่างกายต้องการ
แค่ควรจำกัดปริมาณให้น้อยลง โดยคำนึงถึงหลักการดังนี้

1. เลือกอาหารที่ให้พลังงานต่ำแต่ครบตามมาตรฐาน

2. งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิดม

3. ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง, ของหวานทุกชนิด

4. ควรรับประทานอาหารโดยวิธีนึ่ง, ปิ้งหรือย่างและต้ม หลีกเลี่ยงอาหารประเภททอดต่าง ๆ่า

5. บริโภคอาหารที่มีกากมาก ๆ เช่น ผักและผลไม้

6. บริโภคอาหารเป็นเวลา โดยเฉพาะมื้อเย็นควรลดให้น้อยที่สุดี่

การลดน้ำหนักที่เหมาะสม โดยเฉลี่ยประมาณสัปดาห์ละ 0.5.1 หรือเดือนละ 2-4 ก.ก.
ควรลดอาหารควบคู่ไปพร้อมกับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและจัดสัดส่วนอาหารให้ เหมาะสมาง

 

คำแนะนำจากนักกายภาพบำบัดในการออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนักให้ได้ผลดียิ่งขึ้น

*ขอแนะนำท่าออกกำลังกายที่สามารถปฏิบัติได้ด้วยตนเอง ดังนี้อ

1) ท่าซิท-อัพ (Sit-up) จะเป็นท่าที่ช่วยให้กล้ามเนื้อหน้าท้องกระชับ

1.1 นอนหงายบนพื้นเรียบ งอเข่าให้เท้าราบกับพื้นโดยหลังต้องแนบกับพื้น

1.2 สอดแขนรองใต้ศีรษะ ทิ้งน้ำหนักศีรษะลงบนฝ่ามือย

1.3 ค่อย ๆ ยกศีรษะและไหล่ทั้งสองข้างขึ้น โดยหายใจออกให้ท้องแฟบ สายตาเพ่งไปที่ปลายเท้าและท้องเกร็งนิ่งอยู่กับที่นับ 1-10 แล้วจึงค่อย ๆ
ลดศีรษะลงก

2) ท่าบริหารสะโพก ท่านี้จะช่วยกระชับกล้ามเนื้อสะโพกและต้นขา

2.1 นอนตะแคงบนพื้นเรียบ ให้ขา (ล่าง) งอเข่าไว้และจัดหลังให้อยู่ในแนวตรง

2.2 ยกขาข้าง (บน) ที่อยู่ในลักษณะเหยียดตรง เข่าตึงยกขึ้นเกร็งนิ่งกับที่นับ 1-10 แล้วค่อย ๆ ลดระดับขาลงแนบพื้น

2.3 ทำแบบเดิมแต่สลับข้าง
โดยคุณ : ปลิว - [12:59:25  20 ส.ค. 2544]

ความคิดเห็นที่ 1
ไม่อ้วนเอาเท่าไหร่อะ
โดยคุณ :ปาน - [16:23:59  21 ส.ค. 2544]

ขอเชิญร่วมเสนอแนะความคิดเห็นครับ
จาก :
email :
icq :
รูปภาพ :

รายละเอียด

อาการ :



กรุณาคลิก "ส่งข้อมูล" เพียงครั้งเดียวครับ....