กระดานความรู้สึก


อยู่ม.6ครับ กำลังสนใจคณะเทคโนโลยีสารสนเทศครับ ช่วยแนะนำด้วยคับ
ขอรายละเอียดเกี่ยวกับวิชาที่สอบ
และสายอาชีพด้วยครับ
.......ขอบพระคุณเป็นอย่างสูงครับ......^_^ /ฝากด้วยครับ
โดยคุณ : ขนมโก๋(จากเก่า 3.50ต. ) - [14:33:34  22 พ.ค. 2548]

ความคิดเห็นที่ 1
อืมคณะนี้มีหรอที่ไหนจาได้ไปเรียนด้วย
โดยคุณ :ผ่านไปผ่านมา - [14:40:52  22 พ.ค. 2548]

ความคิดเห็นที่ 2
น้องขนมโก๋มาผิดเว็บหรือเปล่าครับ

พี่แนะนำให้หาข้อมูลจากเว็บไซต์ของคณะในมหาวิทยาลัยที่น้องอยากจะสอบเข้าครับ คิดว่าคงมีคำตอบมากมายรอน้องอยู่นะครับ

โชคดีครับ ^_^
โดยคุณ :ผ่านมาผ่านไป - [17:44:40  22 พ.ค. 2548]

ความคิดเห็นที่ 3
ถ้าน้องอยากจะทำงานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์.....
- เป็นโปรแกรมเมอร์(programmer) คือเขียนชุดคำสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ออกแบบไว้
- เป็นผู้วิเคราะห์ระบบ(system analyst) คือออกแบบระบบงานคอมพิวเตอร์  ว่าควรจะประกอบด้วยโปรแกรมอะไรบ้าง  แต่ละโปรแกรมทำงาน อะไรบ้าง  หรือ
- เป็นวิศวกรระบบ(system engineer) คือ ดูแลการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์  อาจจะเป็นระบบเก็บข้อมูล  ระบบการสื่อสารข้อมูล  หรือระบบการประมวลผลข้อมูล

ถ้าชอบงานข้างต้น  เรียนด้านนี้ก็จะเหมาะกับน้องนะ

ตอนเริ่มทำงานใหม่ๆ งานด้านนี้จะอาศัยทักษะด้านการเขียนโปรแกรมเป็นส่วนใหญ่    ถ้าใจรักจริงก็ดี เพราะเวลาทำงานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ต้องนั่งหน้าจอเป็นเวลานาน  วันละ 8 - 13,14 ชั่วไมง .......   ต้องใจชอบนะจ๊ะ  ไม่งั้นเรียน หรือทำงานไปไม่เท่าไรก็จะเบื่อซะก่อน

สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศที่น้องว่าเนี่ย  พี่ไม่แน่ใจนะ  แต่เคยรู้มาว่า มีที่พระจอมเกล้าพระนครเหนือ  ถ้าจำไม่ผิด  น่าจะอยู่คณะวิทยาศาสตร์.....ที่จริงแล้วหลักสูตรหรือรายวิชา  คล้ายๆ กัน กับคณะวิทยาศาตร์ สาขา(วิทยาการ)คอมพิวเตอร์  ซึ่งมีเปิดสอน ทั้งที่ ธรรมศาสตร์   จุฬา  และ ลาดกระบัง    ที่ธรรมศาตร์หลักสูตรปริญญาตรี  มีภาคพิเศษด้วยนะ  คือ สอบทีหลังสอบ เอนทรานซ์ปกติ ......
ตามมหาลัยเอกชน ก็มีเปิดสอนเกือบทุกที่แหละ ..... หอการค้า   ม.กรุงเทพ ,etc..
ที่ ราม ,  ราชภัฏ  ก็เปิดสอน

รายวิชาสอบ ?   หมายถึงตอนสอบเอ็นเหรอ  ก้อสอบ เหมือนเด็กสายวิทย์ทั่วไป  แต่ไม่สอบชีวะ   และก็ไม่มีวิชาความถนัด .... อืมแต่เด็กสมัยนี้  สอบไม่เหมือนสมัยพี่นี่นา ......ยังไงก็ทำตามที่พี่ผ่านมาผ่านไปบอก น่าจะดีกว่านะ  คือหาข้อมูลจากเว็บไซต์  ถ้าไม่รู้ว่าที่ไหนก็โทรไปที่คณะของมหาลัยก็ได้

โชคดีนะ    
โดยคุณ :ี่พี่บัว - [20:29:48  22 พ.ค. 2548]

ความคิดเห็นที่ 4
ขอโทษจ้ะ....ขอ update ข้อมูลหน่อย
ที่พระจอมเกล้าพระนครเหนือ    
มีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ  (http://it.kmitnb.ac.th/ )

แต่ก็มี ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ อยู่ที่คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ด้วย (http://www.cs.kmitnb.ac.th/ )  

แล้วก็มีสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ อยู่ที่คณะเทคโนโลยีและการจัดการอุตสาหกรรมด้วย http://www.fitm.kmitnb.ac.th/

ลองศึกษารายละเอียดดูนะ   เปรียบเทียบกับของมหาลัยอื่นด้วยก็จะดีแน่แน่พี่ว่า

โชคดีจ้ะ
โดยคุณ :ี่พี่บัว - [20:46:46  22 พ.ค. 2548]

ความคิดเห็นที่ 5
อืม ผมไม่รู้เรื่องนี้เลย
สนใจทางเคมีไหมหละฮะ
อิ..อิ
โดยคุณ :ป.ล. - [22:35:21  24 พ.ค. 2548]

ความคิดเห็นที่ 6
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ  มีที่เทคโนฯบางมดจ้ะ (School of Information Technology , King Mongkut's University of Technology Thonburi)  ไปดูรายละเอียดคณะได้ที่หน้า www.it.kmutt.ac.th  
โดยคุณ :arnis - [9:50:14  25 พ.ค. 2548]

ความคิดเห็นที่ 7
ลาดกระบังก็มีนะคะ  เป็นคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ  ไม่แน่ใจว่าจะได้เป็น วทบ.รึเปล่า เดี๋ยวสืบให้อีกทีนะคะ  เพิ่งเปิดได้ 1-2 ปี ตึกใหม่ สวย เย็นมากๆๆ หรูเหลือเกิน

และมี  วิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชา วิศวกรรมสารสนเทศ  เรียน telecommunication, electronic, computer รวมกัน เป็น วศบ.คะ กำลังเรียนอยู่ ปี 4  ถ้าสนใจมาเลยๆๆ

ไว้จะหาข้อมูลมาเพิ่มให้อีกนะ ; )
โดยคุณ :MOn - [11:34:37  25 พ.ค. 2548]

ความคิดเห็นที่ 8
เราก็สนใจเหมือนกันแต่ไม่รู้รายละเอียดเท่าไรเราสนใจวิศวคอมพิวเตอร์
โดยคุณ :moma - [14:02:25  17 ต.ค. 2550]

ความคิดเห็นที่ 9
ผมเรียนศิลป์คำนวนอะครับ จะเรียนคณะนี้ได้หรือป่าวครับ ชอบด้าน IT อะครับ
โดยคุณ :เด็กโข่ง - [19:11:31  4 ม.ค. 2551]

ความคิดเห็นที่ 10
ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับสาขาวิชานี้ครับ
มีอะไรไปเม้นบอกที่ไฮทีครับ
jump044.hi5.com
โดยคุณ :เด็กสุรินทร์ - [20:37:57  16 ก.ค. 2551]

ความคิดเห็นที่ 11
อยากทราบว่าคณะเทคโนโลยีสารสนเทศเปนอย่างไรค่ะ
บอกหน่อยดั้ยป่ะค่ะ
โดยคุณ :นู๋โบว์ คิขุจัง - [14:47:38  5 ก.พ. 2552]

ความคิดเห็นที่ 12
รักยอดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดยอดรักกกกกกกกกกกกกกก
นะนะนะนะนะนะนะนะนะนะนะนะนะนะ
โดยคุณ :นู๋ดา น่ารักกกกกกกกกกกกก - [14:51:26  5 ก.พ. 2552]

ความคิดเห็นที่ 13
เท่าที่รู้นะ (เฉพาะที่บางมด หรือ มจธ.)
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ..มีสองสาขาด้วยกัน

1 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ >> เรียนเปนภาษาไทย

2 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ >> เรียนเปนภาษาอังกิดอ่ะ

- สาขาที่เรียนเอาไปใช้ทำอะไรได้บ้าง?

ตอบแบบตรงๆก็คือทำได้ทุกอย่างที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอ ร์คแต่ หลักๆที่เราควรทำได้หลังจากเรียนจบคณะนี้คือ เขียนโปรแกรม หรือ เขียน software ได้ ส่วนจะเขียนได้ในระดับไหน และ เป็น software ประเภทไหนก็ขึ้นอยู่กับความสามารถเฉพาะตัว

แต่สำหรับอาชีพที่จบออกไปแล้วคนไทยมักจะทำกันก็มีทั้ง เป็นนักเขียนโปรแกรม (programmer) , ผู้วางระบบ network , ผู้ดูแลหรืออกแบบระบบ Database

มุมขำๆ จบไปทำเปิดร้านขายกับข้าวก็ได้  ฮ่าๆๆ

ซึ่งแต่ละอาชีพก็จะมีสายงานที่ไม่เหมือนกัน แตกต่างกันออกไปตามลักษณะของงานอ่า
โดยคุณ :xiangjiao - [19:28:40  6 ก.พ. 2552]

ความคิดเห็นที่ 14
อยากทราบว่าเทคโนโลยีและสารสนเทศหมายถึงอะไร
โดยคุณ :Naaaarrraaakkkkkkk - [16:58:01  3 ก.ค. 2552]

ความคิดเห็นที่ 15
คณะสารสนเทศที่ม.ราชภัฎเชียงใหม่เปิดสอนไหมค่ะ
โดยคุณ :เด็กอาชีวะ - [8:25:37  2 ก.ย. 2552]

ความคิดเห็นที่ 16
เทคโนโลยีสารสนเทศ
ปัจจุบันนี้ เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทอย่างกว้างขวางในทุกวงการ และเทคโนโลยีสารสนเทศกลายเป็นเครื่องมือสำคัญของการทำงานทุกด้าน นับตั้งแต่ทางด้านการศึกษา พาณิชยกรรม เกษตรกรรม อุตสาหกรรม สาธารณสุข การวิจัยและพัฒนา ตลอดจนด้านการเมืองและราชการ อันที่จริงแล้วจะเห็นว่าไม่มีงานด้านใดที่ไม่มีผู้คิดประยุกต์หรือนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้าไปช่วยให้การทำงานนั้น ๆ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น

ข้อมูลกับสารสนเทศ
ข้อมูล (Data) หมายถึง กลุ่มตัวอักขระที่เมื่อนำมารวมกันแล้วมีความหมายอย่างใดอย่างหนึ่งและมีสำคัญควรค่าแก่การจัดเก็บเพื่อนำไปใช้ในโอกาสต่อ ๆ ไป ข้อมูลมักเป็นข้อความที่อธิบายถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง อาจเป็นตัวอักษร ตัวเลข หรือสัญลักษณ์ใด ๆ ที่สามารถนำไปประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ได้ (ทักษิณา สวนานนท์ และฐานิศรา เกียรติบารมี 2546: 165)
สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ต่าง ๆ ที่ได้รับการสรุป คำนวณ จัดเรียง หรือประมวลแล้วจากข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบตามหลักวิชาการ จนได้เป็นข้อความรู้ เพื่อนำมาเผยแพร่และใช้ประโยชน์ในงานด้านต่าง ๆ (สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี 2538: 3)
ข้อมูลและสารสนเทศนับว่ามีประโยชน์ต่อการนำไปใช้บริหารงานด้านต่าง ๆ มากมาย อาทิเช่น
1. ด้านการวางแผน สามารถนำสารสนเทศไปใช้ในการวางแผนเกี่ยวกับการจัดการองค์การ การบริหารงานทรัพยากรมนุษย์ กระบวนการผลิตสินค้า การตลาด เป็นต้น
2. ด้านการตัดสินใจ สามารถนำสารสนเทศไปใช้ในการตัดสินใจเพื่อเลือกแนวทางหรือทางเลือกที่มีปัญหาน้อยที่สุดในการแก้ปัญหาต่าง ๆ การมีสารสนเทศที่สมบูรณ์ ทันสมัย และครบถ้วนจะช่วยให้การตัดสินใจถูกต้อง รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
3. ด้านการดำเนินงาน สามารถนำสารสนเทศไปใช้ในการดำเนินงานต่าง ๆ เช่น ใช้เพื่อควบคุมหรือติดตามผลการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับกฎระเบียบ วัตถุประสงค์ และเป้าหมายขององค์การ

ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology: IT) หรือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technologies: ICTs) ก็คือ เทคโนโลยีสองด้านหลัก ๆ ที่ประกอบด้วยเทคโนโลยีระบบคอมพิวเตอร์ และ เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมที่ผนวกเข้าด้วยกัน เพื่อใช้ในกระบวนการจัดหา จัดเก็บ สร้าง และเผยแพร่สารสนเทศในรูปต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเสียง ภาพ ภาพเคลื่อนไหวข้อความหรือตัวอักษร และตัวเลข เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้อง ความแม่นยำ และความรวดเร็วให้ทันต่อการนำไปใช้ประโยชน์

ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
มี 5 ประการ (Souter 1999: 409) ได้แก่
ประการแรก การสื่อสารถือเป็นสิ่งจำเป็นในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ สิ่งสำคัญที่มีส่วนในการพัฒนากิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ประกอบด้วย Communications media, การสื่อสารโทรคมนาคม (Telecoms), และเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT)  
ประการที่สอง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารประกอบด้วยผลิตภัณฑ์หลักที่มากไปกว่าโทรศัพท์และคอมพิวเตอร์ เช่น แฟกซ์, อินเทอร์เน็ต, อีเมล์ ทำให้สารสนเทศเผยแพร่หรือกระจายออกไปในที่ต่าง ๆ ได้สะดวก
ประการที่สาม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีผลให้การใช้งานด้านต่าง ๆ มีราคาถูกลง
ประการที่สี่ เครือข่ายสื่อสาร (Communication networks) ได้รับประโยชน์จากเครือข่ายภายนอก เนื่องจากจำนวนการใช้เครือข่าย จำนวนผู้เชื่อมต่อ และจำนวนผู้ที่มีศักยภาพในการเข้าเชื่อมต่อกับเครือข่ายนับวันจะเพิ่มสูงขึ้น
ประการที่ห้า เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทำให้ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ และต้นทุนการใช้ ICT มีราคาถูกลงมาก

องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นอาจกล่าวได้ว่าประกอบขึ้นจากเทคโนโลยีสองสาขาหลักคือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม สำหรับรายละเอียดพอสังเขปของแต่ละเทคโนโลยีมีดังต่อไปนี้คือ
1. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถจดจำข้อมูลต่าง ๆ และปฏิบัติตามคำสั่งที่บอก เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งให้ คอมพิวเตอร์นั้นประกอบด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ ต่อเชื่อมกันเรียกว่า ฮาร์ดแวร์ (Hardware) และอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์นี้จะต้องทำงานร่วมกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือที่เรียกกันว่า ซอฟต์แวร์ (Software) (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2546: 4)
ฮาร์ดแวร์ ประกอบด้วย 5 ส่วน คือ
อุปกรณ์รับข้อมูล (Input) เช่น แผงแป้นอักขระ (Keyboard), เมาส์, เครื่องตรวจกวาดภาพ (Scanner), จอภาพสัมผัส (Touch Screen), ปากกาแสง (Light Pen), เครื่องอ่านบัตรแถบแม่เหล็ก (Magnetic Strip Reader), และเครื่องอ่านรหัสแท่ง (Bar Code Reader)
อุปกรณ์ส่งข้อมูล (Output) เช่น จอภาพ (Monitor), เครื่องพิมพ์ (Printer), และเทอร์มินัล
หน่วยประมวลผลกลาง จะทำงานร่วมกับหน่วยความจำหลักในขณะคำนวณหรือประมวลผล โดยปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยการดึงข้อมูลและคำสั่งที่เก็บไว้ไว้ในหน่วยความจำหลักมาประมวลผล
หน่วยความจำหลัก มีหน้าที่เก็บข้อมูลที่มาจากอุปกรณ์รับข้อมูลเพื่อใช้ในการคำนวณ และผลลัพธ์ของการคำนวณก่อนที่จะส่งไปยังอุปกรณ์ส่งข้อมูล รวมทั้งการเก็บคำสั่งขณะกำลังประมวลผล
หน่วยความจำสำรอง ทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลและโปรแกรมขณะยังไม่ได้ใช้งาน เพื่อการใช้ในอนาคตซอฟต์แวร์ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญและจำเป็นมากในการควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
ซอฟต์แวร์ระบบ มีหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในระบบคอมพิวเตอร์ และเป็นตัวกลางระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์หรือฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ระบบสามารถแบ่งเป็น 3 ชนิดใหญ่ คือ  1. โปรแกรมระบบปฏิบัติการ ใช้ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์พ่วงต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างโปรแกรมที่นิยมใช้กัน ในปัจจุบัน เช่น UNIX, DOS, Microsoft Windows
2. โปรแกรมอรรถประโยชน์ ใช้ช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในระหว่างการประมวลผลข้อมูลหรือในระหว่างที่ใช้ เครื่องคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างโปรแกรมที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน เช่น โปรแกรมเอดิเตอร์ (Editor)
3. โปรแกรมแปลภาษา ใช้ในการแปลความหมายของคำสั่งที่เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในรูปแบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจ และทำงานตามที่ ผู้ใช้ต้องการ
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ เป็นโปรแกรมที่เขียนขึ้นเพื่อทำงานเฉพาะด้านตามความต้องการ ซึ่งซอฟต์แวร์ประยุกต์นี้สามารถแบ่งเป็น 3 ชนิด คือ
1. ซอฟต์แวร์ประยุกต์เพื่องานทั่วไป เป็นซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้งานทั่วไปไม่เจาะจงประเภทของธุรกิจ ตัวอย่าง เช่น Word Processing, Spreadsheet, Database Management เป็นต้น
2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะงาน เป็นซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในธุรกิจเฉพาะ ตามแต่วัตถุประสงค์ของการนำไปใช้
3. ซอฟต์แวร์ประยุกต์อื่น ๆ เป็นซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้นเพื่อความบันเทิง และอื่น ๆ นอกเหนือจากซอฟต์แวร์ประยุกต์สองชนิดข้างต้น ตัวอย่าง เช่น Hypertext, Personal Information Management และซอฟต์แวร์เกมต่าง ๆ เป็นต้น



2. เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม
เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม ใช้ในการติดต่อสื่อสารรับ/ส่งข้อมูลจากที่ไกล ๆ เป็นการส่งของข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์หรือเครื่องมือที่อยู่ห่างไกลกัน ซึ่งจะช่วยให้การเผยแพร่ข้อมูลหรือสารสนเทศไปยังผู้ใช้ในแหล่งต่าง ๆ เป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง ครบถ้วน และทันการณ์ ซึ่งรูปแบบของข้อมูลที่รับ/ส่งอาจเป็นตัวเลข (Numeric Data) ตัวอักษร (Text) ภาพ (Image) และเสียง (Voice)
เทคโนโลยีที่ใช้ในการสื่อสารหรือเผยแพร่สารสนเทศ ได้แก่ เทคโนโลยีที่ใช้ในระบบโทรคมนาคมทั้งชนิดมีสายและไร้สาย เช่น ระบบโทรศัพท์, โมเด็ม, แฟกซ์, โทรเลข, วิทยุกระจายเสียง, วิทยุโทรทัศน์ เคเบิ้ลใยแก้วนำแสง คลื่นไมโครเวฟ และดาวเทียม เป็นต้น สำหรับกลไกหลักของการสื่อสารโทรคมนาคมมีองค์ประกอบพื้นฐาน 3 ส่วน ได้แก่ ต้นแหล่งของข้อความ (Source/Sender), สื่อกลางสำหรับการรับ/ส่งข้อความ (Medium), และส่วนรับข้อความ (Sink/Decoder) ดังแผนภาพต่อไปนี้ คือ
สำหรับกลไกหลักของการสื่อสารโทรคมนาคมมีองค์ประกอบพื้นฐาน 3 ส่วน ได้แก่ ต้นแหล่งของข้อความ (Source/Sender), สื่อกลางสำหรับการรับ/ส่งข้อความ (Medium), และส่วนรับข้อความ (Sink/Decoder) ดังแผนภาพต่อไปนี้ คือ

นอกจากนี้ เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถจำแนกตามลักษณะการใช้งานได้เป็น 6 รูปแบบ ดังนี้ต่อไปนี้ คือ
1. เทคโนโลยีที่ใช้ในการเก็บข้อมูล เช่น ดาวเทียมถ่ายภาพทางอากาศ, กล้องดิจิทัล, กล้องถ่ายวีดีทัศน์, เครื่องเอกซเรย์ ฯลฯ
2. เทคโนโลยีที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล จะเป็นสื่อบันทึกข้อมูลต่าง ๆ เช่น เทปแม่เหล็ก, จานแม่เหล็ก, จานแสงหรือจานเลเซอร์, บัตรเอทีเอ็ม ฯลฯ
3. เทคโนโลยีที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูล ได้แก่ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์
4. เทคโนโลยีที่ใช้ในการแสดงผลข้อมูล เช่น เครื่องพิมพ์, จอภาพ, พลอตเตอร์ ฯลฯ
5. เทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดทำสำเนาเอกสาร เช่น เครื่องถ่ายเอกสาร, เครื่องถ่ายไมโครฟิล์ม
6. เทคโนโลยีสำหรับถ่ายทอดหรือสื่อสารข้อมูล ได้แก่ ระบบโทรคมนาคมต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์, วิทยุกระจายเสียง, โทรเลข, เทเล็กซ์ และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้งระยะใกล้และไกล

ลักษณะของข้อมูลหรือสารสนเทศที่ส่งผ่านระบบคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร ดังนี้
ข้อมูลหรือสารสนเทศที่ใช้กันอยู่ทั่วไปในระบบสื่อสาร เช่น ระบบโทรศัพท์ จะมีลักษณะของสัญญาณเป็นคลื่นแบบต่อเนื่องที่เราเรียกว่า "สัญญาณอนาลอก" แต่ในระบบคอมพิวเตอร์จะแตกต่างไป เพราะระบบคอมพิวเตอร์ใช้ระบบสัญญาณไฟฟ้าสูงต่ำสลับกัน เป็นสัญญาณที่ไม่ต่อเนื่อง เรียกว่า "สัญญาณดิจิตอล" ซึ่งข้อมูลเหล่านั้นจะส่งผ่านสายโทรศัพท์ เมื่อเราต้องการส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังเครื่องอื่น ๆ ผ่านระบบโทรศัพท์ ก็ต้องอาศัยอุปกรณ์ช่วยแปลงสัญญาณเสมอ ซึ่งมีชื่อเรียกว่า "โมเด็ม" (Modem)

ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
สามารถอธิบายความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศในด้านที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านต่าง ๆ ของผู้คนไว้หลายประการดังต่อไปนี้ (จอห์น ไนซ์บิตต์ อ้างถึงใน ยืน ภู่วรวรรณ)
ประการที่หนึ่ง เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้สังคมเปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมมาเป็นสังคมสารสนเทศ
ประการที่สอง เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนจากระบบแห่งชาติไปเป็นเศรษฐกิจโลก ที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจของโลกผูกพันกับทุกประเทศ ความเชื่อมโยงของเครือข่ายสารสนเทศทำให้เกิดสังคมโลกาภิวัฒน์
ประการที่สาม เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้องค์กรมีลักษณะผูกพัน มีการบังคับบัญชาแบบแนวราบมากขึ้น หน่วยธุรกิจมีขนาดเล็กลง และเชื่อมโยงกันกับหน่วยธุรกิจอื่นเป็นเครือข่าย การดำเนินธุรกิจมีการแข่งขันกันในด้านความเร็ว โดยอาศัยการใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นตัวสนับสนุน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ง่ายและรวดเร็ว
ประการที่สี่ เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีแบบสุนทรียสัมผัส และสามารถตอบสนองตามความต้องการการใช้เทคโนโลยีในรูปแบบใหม่ที่เลือกได้เอง
ประการที่ห้า เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดสภาพทางการทำงานแบบทุกสถานที่และทุกเวลา
ประการที่หก เทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดการวางแผนการดำเนินการระยะยาวขึ้น อีกทั้งยังทำให้วิถีการตัดสินใจ หรือเลือกทางเลือกได้ละเอียดขึ้น
กล่าวโดยสรุปแล้ว เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทที่สำคัญในทุกวงการ มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโลกด้านความเป็นอยู่ สังคม เศรษฐกิจ การศึกษา การแพทย์ เกษตรกรรม อุตสาหกรรม การเมือง ตลอดจนการวิจัยและการพัฒนาต่าง ๆ

ปัจจัยที่ทำให้เกิดความล้มเหลวในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้
จากงานวิจัยของ Whittaker (1999: 23) พบว่า ปัจจัยของความล้มเหลวหรือความผิดพลาดที่เกิดจากการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในองค์การ มีสาเหตุหลัก 3 ประการ ได้แก่
1. การขาดการวางแผนที่ดีพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวางแผนจัดการความเสี่ยงไม่ดีพอ ยิ่งองค์การมีขนาดใหญ่มากขึ้นเท่าใด การจัดการความเสี่ยงย่อมจะมีความสำคัญมากขึ้นเป็นเงาตามตัว ทำให้ค่าใช้จ่ายด้านนี้เพิ่มสูงขึ้น
2. การนำเทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสมมาใช้งาน การนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในองค์การจำเป็นต้องพิจารณาให้สอดคล้องกับลักษณะของธุรกิจหรืองานที่องค์การดำเนินอยู่ หากเลือกใช้เทคโนโลยีที่ไม่สอดรับกับความต้องการขององค์การแล้วจะทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา และเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณโดยใช่เหตุ
3. การขาดการจัดการหรือสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง การที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้งานในองค์กร หากขาดซึ่งความสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูงแล้วก็ถือว่าล้มเหลวตั้งแต่ยังไม่ได้เริ่มต้น การได้รับความมั่นใจจากผู้บริหารระดับสูงเป็นก้าวย่างที่สำคัญและจำเป็นที่จะทำให้การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในองค์การประสบความสำเร็จ
สำหรับสาเหตุของความล้มเหลวอื่น ๆ ที่พบจากการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ เช่น ใช้เวลาในการดำเนินการมากเกินไป (Schedule overruns), นำเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยหรือยังไม่ผ่านการพิสูจน์มาใช้งาน (New or unproven technology), ประเมินแผนความต้องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศไม่ถูกต้อง, ผู้จัดจำหน่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ (Vendor) ที่องค์การซื้อมาใช้งานไม่มีประสิทธิภาพและขาดความรับผิดชอบ และระยะเวลาของการพัฒนาหรือนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้จนเสร็จสมบูรณ์ใช้เวลาน้อยกว่าหนึ่งปี
นอกจากนี้ ปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ไม่ประสบความสำเร็จในด้านผู้ใช้งานนั้น อาจสรุปได้ดังนี้ คือ
1. ความกลัวการเปลี่ยนแปลง กล่าวคือ ผู้คนกลัวที่จะเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งกลัวว่าเทคโนโลยีสารสนเทศจะเข้ามาลดบทบาทและความสำคัญในหน้าที่การงานที่รับผิดชอบของตนให้ลดน้อยลงจนทำให้ต่อต้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
2. การไม่ติดตามข่าวสารความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก หากไม่มั่นติดตามอย่างสม่ำเสมอแล้วจะทำให้กลายเป็นคนล้าหลังและตกขอบ จนเกิดสภาวะชะงักงันในการเรียนรู้และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
3. โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศกระจายไม่ทั่วถึง ทำให้ขาดความเสมอภาคในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือเกิดการใช้กระจุกตัวเพียงบางพื้นที่ ทำให้เป็นอุปสรรคในการใช้งานด้านต่าง ๆ ตามมา เช่น ระบบโทรศัพท์ อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ฯลฯ


ที่มาของข้อมูล
วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อชีวิต, http://dusithost.dusit.ac.th/~librarian/it107/C1.html
โดยคุณ :t..k..o - [18:19:45  4 ธ.ค. 2552]

ความคิดเห็นที่ 17
อยาก ทราบ ว่า เทคโนโลยีบัณฑิต
กับ วิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขา เทคโนโลยีสารสนเทศ
แตก ต่าง กัน ยัง ไงหรอ ใคร รุ้ ช่วยบอกหน่อย....
โดยคุณ :t...k...o - [18:28:32  4 ธ.ค. 2552]

ความคิดเห็นที่ 18
สายศิลป์คำนวนเรียนได้ป่าวอ่ะครับ

แล้วเข้ามหาลัยไหนได้บ้างครับ

โดยคุณ :tor - [19:02:35  2 พ.ค. 2553]

ความคิดเห็นที่ 19
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
รับสมัครนักศึกษาระดับปริญญาตรี เพิ่มเติม
ประจำปีการศึกษา 2553

สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ  (IT)

สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรภาษาอังกฤษ)  (CS)

คุณสมบัติของผู้สมัคร

- รับนักเรียนสายวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์

- สาขา CS มีความรู้และทักษะภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี

สมัครผ่านเว็บ http://www.kmutt.ac.th/admission/main.html  ตั้งแต่วันที่ 12-19 พ.ค. 2553        

ผู้ สมัครสามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ คุณพรทิพย์ (IT) หรือ คุณจารุวรรณ (CS)    
เบอร์ โทรศัพท์ 02-4709857 เพื่อรับการสอบสัมภาษณ์ได้ทุกวัน จันทร์-ศุกร์ ภายในวันที่ 24 พ.ค. 2553
โดยคุณ :|3A/VA/VA - [13:35:14  18 พ.ค. 2553]

ความคิดเห็นที่ 20
เราอยากรู้ว่า เรียนยากไหม พอดีสนใจนั่งหน้าคอมพ์นานๆ(ชอบเล่นคอมพ์)
โดยคุณ :ืNoname - [21:09:19  21 พ.ค. 2553]

ความคิดเห็นที่ 21
จบการตลาดมา แต่สนใจด้านคอม  
แต่พอดูรายวิชาแล้วรู้สึกสับสน เริ่มลังเล ทำไงดี ขอคำปรึกษาหน่อยสิ

ชอบคอมจิงๆ  แต่ไม่มีพื้นฐานคอมเลย   เฮ้อ~ เซ็ง  T^T

อยากเรียนสื่อสารมวลชนอยู่ เอกการพิมพ์ แต่ไม่รู้จบมาจะทำงานรัย
คัยรู้บอกที ตอนนี้งงกับชีวิตไปหมดแล้ว


ไม่ก็ แอดมาคุยได้นะ noo_ann586@hotmail.com
โดยคุณ :แอน - [22:01:05  26 พ.ค. 2553]

ความคิดเห็นที่ 22
เราอยากรุเกี่ยวกับคเทคณะเทคโนโลยีสารสนเทศคอมพิวเตอร์อ่า
มีใครจะบอกเราได้ไหม ว่าต้องเรียนสาขาไหน เราเรียนสายศิลป์คำนวนมา จะเข้าคณะอะไรได้บ้าง ช่วยบอกทีแอดเมลมาบอกกันหน่อย Kisos.k@msn.com
โดยคุณ :kwan'z - [17:01:37  13 มิ.ย. 2553]

ความคิดเห็นที่ 23
อยากรู้ว่าเราเรียนสาย ภาษา-สังคม
แร้วจาเรียนคณะสารสนเทศได้ไหมอ่า
คัยทราบช่วยหั้ยคำแนะนำหน่อยดั้ยมั้ยค่า
โดยคุณ :ไข่ตุ้น - [22:43:38  25 มิ.ย. 2554]

ขอเชิญร่วมเสนอแนะความคิดเห็นครับ
จาก :
email :
icq :
รูปภาพ :

รายละเอียด

อาการ :



กรุณาคลิก "ส่งข้อมูล" เพียงครั้งเดียวครับ....