กระดานความรู้สึก


มาอนุรักษ์ภาษา(เขียน)ไทยกันเถอะ
เดี๋ยวนี้เจอภาษาเขียนแปลกๆ บ่อยมาก ไม่รู้เหมือนกันว่าผู้เขียนตั้งใจเขียนผิด หรือไม่รู้จริงๆว่าที่ถูกต้องนั้นต้องเขียนอย่างไร แต่เห็นทีไรก็รู้สึกไม่ค่อยดี ขอยกตัวอย่างเท่าที่นึกออกดังนี้
๑. เดี๋ยว  เด๋ว
๒. จริง จิง
๓. ครับ คับ
๔. ใคร คัย
๕. ไง งัย
๖. อะไร อารัย

โดยคุณ : ริมตลิ่ง - [0:28:31  13 ส.ค. 2550]

ความคิดเห็นที่ 1
ต่อไปนี้ข้าพเจ้าจะเขียนภาษาไทยให้ถูกต้อง
ไม่ใช้ภาษาพูดมาเขียนแปลงไปจากเดิม
จากนี้ต่อไป ........
โดยคุณ :แชงคูสฯ - [11:56:29  13 ส.ค. 2550]

ความคิดเห็นที่ 2
อ้อ.. ภาษาแอ๊บแบ๊ว
เชื่อสิว่า เขียนให้ถูก ก็เขียนเป็น
ลองให้ไปเขียนจดหมายสมัครงานสิ มันไม่กล้าเขียนงี้แน่

จริงๆแล้ว ภาษามันเปลี่ยนกันได้
ภาษาที่เรายอมรับกันว่าถูกต้องทุกวันนี้ มันก็ไม่ได้เหมือนภาษาสมัยพ่อขุนรามฯหนิ ไม้บรรทัดอันเดียวกันคงวัดความถูกต้องไม่ได้ทุกยุค อยู่ที่ว่าใช้"แบบผิดๆ"ได้"ถูกกาลเทศะ"หรือเปล่า

ภาษาเขียนที่เพี้ยนไป เช่น จิง อาราย ชิมิ  บางคำทีฯเห็นเป็น"วรรณศิลป์ในหมู่เพื่อนฝูง"อย่างนึงด้วยซ้ำ เพราะมันสื่ออารมณ์กว่าคำที่ถูกต้อง จำกัดไว้แค่ใช้คุยกับเพื่อน ตำรวจคงไม่จับน่า..

มีสะกดแบบเลวๆอีกอย่าง ทีฯใช้บ่อย เวลาคุยm  
คือ สะกดแทบจะเป็นคำอ่าน เช่น ปรากด(ปรากฏ) โคนา(โฆษณา) เพราะบางทีหาแป้นฆ.ระฆังไม่เจอ -  -'
โดยคุณ :ทีฯ - [15:34:17  13 ส.ค. 2550]

ความคิดเห็นที่ 3
เห็นด้วยกับคุณ ที นะคะ

อยากให้ไปรณรงค์ การแต่งตัวให้ถูกกาลเทศะมากกว่าค่ะ
ไปงานศพทีไร เห็นวัยรุ่น แต่งแบบว่า (มัน) จะไปเที่ยวเทค
ไม่รู้ว่าเอาอะไรคิด เห็นแล้ว so seng
โดยคุณ :balcony - [16:31:00  13 ส.ค. 2550]

ความคิดเห็นที่ 4
ของบางอย่างน้อยๆ มันก็สื่ออารมณ์ดี แต่บางทีมากไป เห็นแล้วก็หงุดหงิด
อย่างเรื่องคุยเล่น ใช้ภาษานี้มันก็สนุกดี แต่ไปเจอเด็กบางคน เธอเอ๋ยเล่นทุกคำเลย
เห็นแล้วกลุ้ม...
โดยคุณ :auminta - [18:48:37  13 ส.ค. 2550]

ความคิดเห็นที่ 5
พวกที่เขียนภาษาแชทเวลาแชทกับเพื่อน หรือใส่ภาษาพูดลงมาในภาษาเขียน (ที่ไม่ทางการนัก) เพื่อจะให้ดูเป็นกันเองหรือไม่เคร่งเครียดเคร่งครัด ก็ไม่น่าจะเป็นปัญหาใหญ่หรอกค่ะ

ปัญหาคือ ตอนนี้(อิคคิวเข้าใจว่า) มีคนจำนวนมาก สะกดภาษาไทยให้ถูกต้องไม่เป็นจริงๆนี่สิคะ เห็นแต่ละคำแล้วอยากจะผูกคอตาย

โอกาศ (สงสัยต้องสอนเรื่อง โอกาส อากาศ กะผักกาด ใหม่ซะแล้ว :P)
พฤษจิกายน (อันนี้เห็นจากโปสเตอร์ของคณะที่ชอบอ้างว่าเป็น คณะอันดับหนึ่งของประเทศ)
อุปถัมป์ (เพิ่งอ่านเจอเมื่อเช้านี้เลย)
วิจารย์ (อาจารย์ วิจารณ์ จานชามช้อนส้อม - -' )
ประเมิณ (เอาประมาณ มารวมกับประเมินซะงั้น)
ฯลฯ

อันนี้น่าห่วงจริงๆ ค่ะ
โดยคุณ :อิคคิว - [20:33:53  13 ส.ค. 2550]

ความคิดเห็นที่ 6
ขออนุญาตเพิ่มเติมอีกซักเรื่องครับ  ผมว่า กว่าจะประดิษฐ์คิดค้นเลขไทยกันขึ้นมาได้คงไม่ง่ายนัก  มาช่วยกันเขียนเลขไทยกันด้วยดีไหมครับ จะได้มีใช้กันไปตลอดกาล ส่วนตัวผมเขียนมาได้หลายปีแล้วครับ  ยกเว้นรายงานเกี่ยวกับตัวเลข กลัวคนอื่นงง ครับ
โดยคุณ :หวานพอเหมาะพอดี - [21:39:33  13 ส.ค. 2550]

ความคิดเห็นที่ 7
ผมว่าการใช้เพื่อสื่อถึงอารมณ์ของผู้พูดในบางโอกาสก็พอรับได้อยู่ครับ เช่นการเจตนาลากเสียงคำบางคำให้ยาวขึ้น แต่บางคำนี่สิครับ ผมก็ยังนึกไม่ออกอยู่ดีว่ามันให้อารมณ์มากกว่าการสะกดให้ถูกต้องอย่างไร  หรือสื่อถึงอารมณ์อะไรได้บ้าง เช่นคำว่า จิง คับ
บางทีเราอาจมีลักษณะอะลุ่มอล่วย (รอมชอม สมานฉันท์ ฯ) จึงอาจทำให้เราพร้อมรับสิ่งใหม่ๆ ก็ไม่ใช่ไม่ดีนะครับ แต่มันก็ไม่ได้ดีกับทุกเรื่องเสมอไป  ผมว่าเราควรต้องคิดสักนิดก่อนที่จะเดินตามใครไปว่าเขาจะพาเราไปไหน ไปทำอะไร ดีกับตัวตนของเราหรือไม่

บางทีเส้นแบ่งระหว่างความพอดีกับความเกินพอดีนี่ ผมว่ามันก็บางมากจนเรามองไม่เห็นหรือข้ามมันไปโดยไม่รู้ตัว (ถ้าหากไม่ตั้งใจมองให้ดี)

อย่ายอมเพราะความง่าย

ป.ล. เห็นด้วยกับ ค.ห. ๖ ในการอนุรักษ์เลขไทยครับ
โดยคุณ :ริมตลิ่ง - [1:44:53  14 ส.ค. 2550]

ความคิดเห็นที่ 8
ผมมองว่าภาษาเป็นเครื่องมือสื่อสารที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นมา ธรรมชาติของสิ่งประดิษฐ์นี่มันเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาอยู่เสมอครับ "คนหนึ่งคิด คนหนึ่งรับ คนหนึ่งปรับ คนหนึ่งใช้ " ของทุกอย่างในโลกนี้ที่มนุษย์เราสร้างขึ้นมาล้วนอยู่ในวงจรนี้หมดครับ ภาษาไทยที่เราใช้ทุกวันนี้ก็มีอิทธิพลมาจากภาษาอื่นๆ เช่นกัน แถมเรายังปรับเปลี่ยนไปจากของเดิมด้วยไม่มากก็น้อย

ผมเห็นเหมือนคุณทีฯ ครับว่า ภาษาแอ๊บแบ๊ว มันเป็นเรื่องของความพยายามจะสื่ออารมณ์ให้เหมือนกับเวลาตัวเองพูด

ตัวอย่างที่คุณริมตลิ่งยกไว้คือ

สะกดแบบ "จิง คับ" แปลกดีนะครับที่ผมรู้สึกว่ามันสบายๆ เหมือนคุยกับเด็กอยู่ (แต่ผมก็ยังเขียนว่า "จริงครับ" ด้วยว่าภาษาแอ๊บแบ๊วมันไปไม่ได้กับตัวเรา)

สะกดแบบ  "จริงครับ" ผมก็รู้สึกว่าตอนนี้มันดูจริงจังขึ้นมาเยอะเลย เหมือนคุยกับผู้ใหญ่หรือคนที่ไม่สนิทด้วย ส่วนที่คุณริมตลิ่งนึกไม่ออกว่ามันต่างกันอย่างไร ผมคิดแบบนี้ครับ

ผมว่าคนเราจะผูกพันกับยุคที่เราโตมามากกว่ายุคอื่น อย่างเช่น เพลง เป็นต้น คนที่อายุประมาณสามสิบขึ้นไป ลองคุยกับพ่อแม่ดู ผมเชื่อว่าพ่อแม่หลายคนจะส่ายหัวกับเพลงยุคเราครับ ส่วนผมอายุสามสิบขึ้นก็ไม่รู้สึกร่วมกับเพลงยุคกอล์ฟ ไมค์ ต้องกลับไปหาเพลงยุคตัวเองอย่างเช่น เฉลียง เป็นต้น แต่ยังไงคงย้อนไม่ถึงไทยเดิมได้บ่อยๆ

ผมเห็นด้วยกับคุณริมตลิ่งเหมือนกันว่าควรช่วยกันอนุรักษ์ แต่ผมก็ยังเปิดใจรับสิ่งใหม่อยู่ ดังนั้นแนวทางของผมจึงเป็น
"การใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องตามกาลเทศะ"

ไม่รู้เจ้าของภาษาต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อภาษาไทยเราจะคิดยังไง ถ้าเขารู้ว่าเราปรับเปลี่ยนภาษาเขาไปจากเดิม
ก็หวังว่าเขาคงจะ    ใ      จ      ก      ว้      า      ง นะ เพราะถ้าเขาใจแคบภาษาไทยจะมีอยู่ไหมและจะเป็นแบบไหน?
โดยคุณ :แขก - [4:57:31  14 ส.ค. 2550]

ความคิดเห็นที่ 9
เขียนให้ถูกเป็นในเวลาที่ควรเขียนให้ถูก
เขียนให้สื่ออารมณ์ได้ในเวลาที่ควรสื่ออารมณ์ (ไม่งั้นภาษาจะตายหมดนะ)
โดยคุณ :ชายตาบอด -_- - [9:56:11  14 ส.ค. 2550]

ความคิดเห็นที่ 10
มาร่วมแสดงความคิดเห็นค่ะ
โดยส่วนตัวเป็นคนที่อ่านหนังสือมาก เลยได้เห็นวิวัฒนาการของภาษา
ตั้งแต่สมัยรุ่นปู่รุ่นพ่อ ที่ตัวสะกดหรือสำนวนบางอย่างก็เลิกใช้ไปแล้ว เลยคิดว่า
มันเป็นวิวัฒนาการของภาษา ที่มีเกิด มีตาย มีการหยิบยืมภาษาอื่นมาประยุกต์ใช้ จนนึกว่าเป็นภาษาของเราเอง บางคำที่เป็นกระแสแฟชั่นก็คงอยู่ได้ไม่นาน
ตัวเองก็เป็นคนหนึ่งที่ใช้ภาษาได้ทุกแบบ แล้วแต่กาละเทศะ เลยไม่ค่อยซีเรียสกับภาษาแฟชั่นเท่าไหร่นัก คิดว่าถ้าจะรณรงค์จริงๆ ก็น่าจะสอนให้เด็กๆ รวมถึงผู้ใหญ่ด้วยให้รู้ว่าภาษาที่ถูกต้องเป็นอย่างไร รู้ว่าต้องสะกดอย่างไร ใช้ให้ถูกกาละเทศะ น่าจะดีกว่า ส่วนภาษาวัยรุ่นอายุขัยมันสั้น เด๋ว ..เอ๊ย..เดี๋ยว มันก็ตายไปเอง
โดยคุณ :อ้อแอ้ - [10:09:24  14 ส.ค. 2550]

ความคิดเห็นที่ 11
ถ้าใครเคยไปแจ้งความ ไม่ว่าจะเป็นของหาย ขโมยขึ้นบ้าน แย่งแฟน หรืออะไรก็แล้วแต่
จะเห็นคุณตำรวจเขียนเลขไทยนะคะ

โดยคุณ :balcony - [18:01:57  14 ส.ค. 2550]

ความคิดเห็นที่ 12
ถ้าใครเคยไปแจ้งความ ไม่ว่าจะเป็นของหาย ขโมยขึ้นบ้าน แย่งแฟน หรืออะไรก็แล้วแต่
จะเห็นคุณตำรวจเขียนเลขไทยนะคะ

โดยคุณ :balcony - [18:01:57  14 ส.ค. 2550]

ความคิดเห็นที่ 13
ผมว่า จะใช้ก็ใช้ไปเถอะครับ แต่ให้รู้คำที่เขียนถูกต้องไว้ด้วย
แล้วรู้จักใช้ให้ถูกกาละเทศะ ก็พอแล้วครับ
ภาษาไทยดเปลี่ยนแปลงมาตั้งแต่ยุคก่อนพ่อขุนรามปรพดิษฐ์ ลายสือไทยอีกนะครับ
และมันจะยังเปลี่ยนไปอีกเรื่อยๆตามยุคสมัยครับ
โดยคุณ :ตะไคร่น้ำบนบก - [21:38:32  14 ส.ค. 2550]

ความคิดเห็นที่ 14
"สะกดแบบ "จิง คับ" แปลกดีนะครับที่ผมรู้สึกว่ามันสบายๆ เหมือนคุยกับเด็กอยู่ (แต่ผมก็ยังเขียนว่า "จริงครับ" ด้วยว่าภาษาแอ๊บแบ๊วมันไปไม่ได้กับตัวเรา)"
ค.ห. ๘
เป็นมุมมองที่ผมไม่ได้คิดครับ ขอบคุณมากครับ
ถึงแม้อาจจะไม่แตกต่างโดยสิ้นเชิงแต่ก็ต้องขอบอกว่าที่ยกตัวอย่าง จิง คับ ไม่ได้หมายถึงคำที่ใช้ติดกันแบบ จริงครับ แต่ตั้งใจหมายถึงคำที่ใช้แยกกันอย่างเช่น เรื่องจิง (จริง) ไปเที่ยวมาคับ(ครับ)
แล้วก็อีกอย่างที่บอกว่า "เหมือนคุยกับเด็กอยู่" มันก็ให้ความรู้สึกว่าคุยกับเด็กจริงๆครับ แต่เป็นเด็กที่พึ่งจะหัดพูดหรือยังพูดไม่ชัดนะครับ พูดเรื่องนี้ก็เลยคิดออกอีกหนึ่งเรื่องว่า บ้านเรานี่ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการสอนเด็กให้ออกเสียง ร ล ให้ชัดเจนเสียด้วยซ้ำ (นอกเรื่องไปหน่อยนะครับ เพราะว่ารณรงค์เรื่องภาษาเขียนอยู่)
อ้อ! สงสัยเหมือนกันนะครับว่า เด็กคนที่พูดว่า "จิงคับ" นี่ เวลาเขาเขียนหนังสือนี่เขาจะเขียนว่า "จิงคับ" หรือ "จริงคับ" หรือถ้าเขากำลังหัดเขียนอยู่นี่ เราควรจะสอนเขาให้เขียน "จริงครับ" ดีกว่าไหม
ขอแตกประเด็นสักนิดนะครับ คือผมชักจะสงสัยว่าประเทศที่เขาสามารถรักษาศิลปวัฒนธรรมของชาติไว้ได้อย่างยาวนานนี่ เช่นบางประเทศใส่ชุดประจำชาติไปประชุมระดับนานาชาติก็มี หรือเคยได้ยินมาว่านักเรียนประเทศเวียดนามนี่เขาใส่ชุดประจำชาติไปโรงเรียนกันทีเดียว หรือระยะหลังๆนี่กระแสท่องเที่ยวประเทศภูฏานกำลังมาแรง ผมเข้าใจว่าสาเหตุหนึ่งเป็นเพราะเขาสามารถรักษาศิลปวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาติไว้ได้อย่างเหนียวแน่น ผมสงสัยว่าผู้คนในประเทศเหล่านี้เขามีแนวความคิดอย่างไร คือวิธีคิดส่วนใหญ่ของคนในประเทศย่อมต้องมีส่วนในการกำหนดทิศทางของการคัดสรร ยอมรับสิ่งใหม่ๆเข้ามาในสังคม ตอนนี้ยังไม่มีเวลาค้นคว้า ถ้าใครมีข้อมูลเหล่านี้ก็ขอเชิญเข้ามาแสดงความคิดเห็นนะครับ
โดยคุณ :ริมตลิ่ง - [23:41:06  14 ส.ค. 2550]

ความคิดเห็นที่ 15
ควรรณรงค์ให้เขียนศัพท์ต่างๆให้ถูกต้องมากขึ้นจริงๆครับ เพราะว่าในปัจจุบันเราเคร่งครัดกับตัวสะกดน้อยลงมาก การเรียนการสอนสมัยนี้ก็ไม่มีการเน้นเรื่องนี้แล้ว เป็น"พื้นฐาน"ของภาษาทางการน่ะครับ

ผมเองก็รำคาญอยู่บ่อยๆกับการใช้วรรณยุกต์ผิดๆถูกๆหรือบางครั้งก็หงุดหงิดตัวเองที่นึกไม่ออกจริงๆว่าคำคำนี้มันสะกดอย่างไรกัน

แต่ว่า ภาษาวัยรุ่น ใช้กันอย่างไม่เป็นทางการ ผมว่าไม่เป็นไรครับ ผมจำได้ว่าเมื่อครั้งยังเด็ก อาจารย์ได้สอนไว้ว่าภาษาไทยของเรานั้น เป็นภาษาที่พิเศษ คือ มีระดับชั้น ตั้งแต่ชั้นสูงสุด คือภาษาพิธีการ ที่เรามักจะพบในการรายงานต่างๆของพระราชพิธี รองลงมาก็เป็นภาษาทางการ คือภาษาที่เราใช้เขียนรายงาน หรือภาษาที่เป็นภาษาเฉพาะทาง เช่น ภาษากฎหมาย ภาษาแพทย์ หรือภาษาที่เราใช้ติดต่อกับสังคมขนาดใหญ่และหน่วยงานต่างๆ ที่ค่อนข้างจะมีระเบียบแบบแผนน้อยก็คือภาษากึ่งทางการ เป็นภาษาพูดแบบสุภาพ และสุดท้ายก็คือภาษาที่ไม่เป็นทางการ คือภาษาพูดกันเองในกลุ่มคนที่เราสนิท หรือถือวิสาสะด้วย

ผมว่ามันเป็นสเน่ห์อย่างหนึ่งของภาษาไทยนะ ระดับภาษาต่างๆกันเนี่ย
โดยคุณ :พระยาขายกำจายมูลมูก - [23:51:28  14 ส.ค. 2550]

ความคิดเห็นที่ 16
ผมว่า ภาษาแอ๊บแบ๊ว ก็มาจาก ภาษาพูดที่วัยรุ่น(และไม่รุ่น) พูดกันอยู่แล้ว

แต่เนื่องจาก สมัยนี้ เราใช้การเขียนเป็นการสื่อสารมากกว่าสมัยก่อนมาก ทั้งเมล์ แชท กระทู้ เราก็เลยได้เห็น ได้อ่าน การเขียนลักษณะนี้กันบ่อยๆ

คิดว่าเป็นพรรณาโวหาร วิธีหนึ่งแล้วกันครับ
โดยคุณ :nobi - [0:09:54  15 ส.ค. 2550]

ความคิดเห็นที่ 17
picmee เคยทะเลาะกะคนในเนตมาแล้วหลายต่อหลายคน เรื่องสะกดภาษาไทยไม่ถูกต้องเนี่ย
เอาถึงขั้นเลิกคุยกันไปเลยก็มี

ยกตัวอย่างเช่น




X1        เมื่อวานโทรใป จาชวน ใปดูหนังน่ะ
picmee  ช่วงนี้ไม่ไปไหนค่ะ
picmee   ไป ใช้ไม้มลายค่ะ
picmee   จะ เป็น สระอะ ค่ะ
X1        8o|
picmee    ไม่ชอบคนสะกดไม่ถูกค่ะ


X2          เมื่อใดใปเที่ยวกัน
picmee    เมื่อพี่สะกดภาษาไทยถูกหมด
X2          :@
picmee    ทำไม่ได้เหรอ
X2          กวนนะ
picmee    ไม่ชอบคนสะกดภาษาไทยผิดจริงๆ ไม่ได้พูดเล่น
X2          งั้นพี่ใช้ E นะ
X2          english
picmee    ถนัดกว่าเหรอ
X2          yes
picmee    งั้นก็ว่าต่อไป
X2          ท่าทางพี่ถูกดวงกะเรานะ จิงๆ
picmee    ทำไมคิดงั้น
X2          ดูเราอารมดีใง
picmee    ไม่ได้อารมณ์ดี ที่พูดน่ะไม่ได้กวน ไม่ได้มุข ไม่ชอบจริงๆ นะ เห็นคนสะกดภาษาไทยผิดแล้วหงุดหงิดมากๆ
X2          พี่มีเหตผลนะ เพราะพี่พิมใทยใม่ใด้ ใช้จิ้มเอา
picmee    ไม่ได้เป็นเหตุที่สะกดผิดนี่ งั้นก็ใช้ภาษาอังกฤษสิ ถ้าถนัดกว่า
picmee    ไทย ก็ใช้ ไม้มลาย ไม่เห็นน่าจะผิดได้
X2          เพาะหาแป้นใม่เจอ
picmee    ไม่มีเหตุผล
picmee    งั้นก็ใช้ภาษาอังกฤษสิ ถ้าถนัดกว่า
picmee    ok
X2          also, why u not call me?
......(picmee ตอบภาษาไทย เขาก็ตอบกลับมาภาษาไทยผิดๆ เหมือนเดิมในประโยคถัดมานั่นเอง).....

.....(ตัดมาอีกวัน)..........
X2          สงกราน ใม่ชวนพี่เที่ยวเลยนะ
picmee    ไม่โทรมาเอง
X2          สงกาย ใปใหน
picmee    สะกดภาษาไทยดีๆ ได้ไหม
X2          ok i will use english
X2          ({)
X2          เสาหน้า ใปหานะ
picmee    สรุปจะเอาภาษาอะไร
picmee    ถ้าภาษาไหนก็ไม่รอดสักอย่าง ก็อย่าคุยกันเลยค่ะ


เป็นอันจบข่าว....
โดยคุณ :picmee - [1:50:32  15 ส.ค. 2550]

ความคิดเห็นที่ 18
เข้ามาขำpicmeeครับ
โดยคุณ :ริมตลิ่ง - [2:14:05  15 ส.ค. 2550]

ความคิดเห็นที่ 19
-เคยทะเลาะกะคนในเนต-

picmee คำว่า เนต ผิดนะ ต้องเป็น เน็ต ซึ่งเป็นการย่อมาจากคำว่า อินเตอร์เน็ต เนื่องจากว่า เน็ต เป็นการออกเสียงสั้น วรรณยุกต์ "  ็" จะต้องถูกนำมาใช้กำกับเสียงในคำนี้ เอ...ว่าแต่ต้องเลิกคุยกันไปเลยรึป่าว??  อย่าให้ถึงขั้นต้องเลิกคุยเลย  ก็แค่สมมติน่ะ

พี่จิกเคยพูดถึงภาษาไทยไว้ตรงนี้...
http://www.thaimung.net/lanthaimung/webboard/03107.htm
โดยคุณ :วงนอก - [4:06:07  15 ส.ค. 2550]

ความคิดเห็นที่ 20
คำว่า Internet ถ้าเป็นภาษาไทยที่ใช้เป็นคำทับศัพท์ จะใช้ว่า "อินเทอร์เน็ต" ค่ะ ไม่ใช่ อินเตอร์เน็ตนะคะ
โดยคุณ :แม่น้องเอย - [9:11:46  15 ส.ค. 2550]

ความคิดเห็นที่ 21
ู^
^
^
อิคคิวจึงชอบเขียนไทยคำ อังกฤษคำ ด้วยประการฉะนี้

โดยคุณ :อิคคิว - [10:05:35  15 ส.ค. 2550]

ความคิดเห็นที่ 22
โอ๊ะ! จริงด้วย ขอบคุณคร้าบ ^_^
โดยคุณ :วงนอก - [10:25:10  15 ส.ค. 2550]

ความคิดเห็นที่ 23
เห็นด้วยกับคุณอ้อแอ้และคุณPICMEE  มากๆ
โดยคุณ :piggy - [10:58:12  20 ส.ค. 2550]

ความคิดเห็นที่ 24
ต่อไปนี้จะพยายามใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องนะค่ะ  ....  ขอโทษค่ะ  >_<
โดยคุณ :หลานแม่เภา - [22:03:55  26 ส.ค. 2550]

ขอเชิญร่วมเสนอแนะความคิดเห็นครับ
จาก :
email :
icq :
รูปภาพ :

รายละเอียด

อาการ :



กรุณาคลิก "ส่งข้อมูล" เพียงครั้งเดียวครับ....