กระดานความรู้สึก


ไทยติดอันดับชาติคอรัปชั่นที่เท่าใด?
ไทยติดอันดับชาติคอรัปชั่นที่เท่าใด?
องค์การนานาชาติอีกองค์การหนึ่งที่ทำหน้าที่แปลกกว่าใคร ก็คือ องค์การที่เรียกตัวเองว่า “แทรนสปาเรนซี อินเตอร์เนชั่นแนล” (Transparency International) อาจสรุปได้ว่าเป็นองค์กรที่ไม่ใช่ราชการ หรือ “เอ็นจีโอ-NGO” ที่รณรงค์ต่อต้านการโกงกินคอรัปชั่นในทุกรูปแบบ ต้องการเห็นสังคมที่มีแต่ความโปร่งใส มีศีลธรรมจรรยาเป็นที่ตั้งในการบริหารงาน องค์การทีไอนี้ได้ริเริ่มจัดให้มีดัชนีชี้พฤติกรรมการโกงกินในแต่ละประเทศ เรียกว่า “ซีพีไอ” ซึ่งย่อมาจาก Corruption Perception Index-CPI น่าจะแปลเป็นไทยว่า “ดัชนีวัดสภาพการโกงกิน” ดัชนีนี้ใช้ฐานเป็น ๑๐ มีการให้คะแนนตั้งแต่ ๐ คือ โกงกินมาก จนถึง ๑๐ ไม่มีการโกงกิน หรือไม่มีคอรัปชั่นทุจริตเลย มีประเทศที่ได้รับการจัดอันดับรวม ๙๑ ประเทศ หลายประเทศอยู่ในอันดับเดียวกันเพราะได้คะแนนเท่ากัน

           ในปี ๒๕๔๔ นี้ องค์การทีไอ ได้จัดให้มีการประเมินเพื่อทำดัชนีแสดงภาวะการโกงกินของประเทศต่างๆ ในโลก และได้มีการประกาศผลการประเมินเมื่อเดือนมิถุนายน ๒๕๔๔ ในวันที่ประกาศผล นายพีเตอร์ ไอเจน ประธานองค์กรแทรนสปาเรนซี อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า “โลกกำลังเผชิญกับวิกฤตการณ์คอรัปชั่น จากซีพีไอ จะเห็นได้ว่าคนทั่วโลกได้สังเกตพบว่ามีการโกงและทุจริตอยู่ในหมู่เจ้าหน้าที่ของรัฐและนักการเมืองในประเทศต่างๆ ทั่วโลกในระดับต่างๆ กัน ระดับที่ได้คะแนนต่ำกว่า ๕ ถือว่าเป็นชาติที่ “ไม่สะอาด” มีแต่การโกงกิน หรือมีการโกงกินมาก ที่ได้คะแนนต่ำกว่า ๒ หมายความว่า มีการทุจริตคดโกงมากที่สุด ซึ่งได้แก่ ประเทศอาเซอไบยัน โบลิเวีย แคเมรูม เคนยา อินโดนีเซีย อูกานดา ไนจีเรีย และบังคลาเทศ” (เคราะห์ดีที่ไม่ใช่ประเทศไทย-ผู้เขียน)

           ประเทศที่ “สะอาดที่สุด” ๒๐ อันดับ ได้แก่ ฟินแลนด์ (๙.๙) เดนมาร์ก (๙.๕) นิวซีแลนด์ (๙.๔) ไอซ์แลนด์ (๙.๒) สิงคโปร์ (๙.๒) สวีเดน (๙.๐) แคนาดา (๘.๙) เนเธอร์แลนด์ (๘.๘) ลักเซมเบิร์ก (๘.๗) นอรเว (๘.๖) ออสเตรเลีย (๘.๕) สวิตเซอร์แลนด์ (๘.๔) สหราชอาณาจักร (๘.๓) ฮ่องกง (๗.๙) ออสเตรีย (๗.๘) อิสราเอล (๗.๖) สหรัฐฯ (๗.๖) ชิลี (๗.๕) ไอซ์แลนด์ (๗.๕) เยอรมนี (๗.๔) (น่าสังเกตว่า ไม่มีประเทศใดได้เต็ม ๑๐ คะแนน-ผู้เขียน)

           ประเทศที่มีคอรัปชั่นระดับกลาง ระหว่าง ๗.๑-๕.๐ ได้แก่ ญี่ปุ่น (๗.๑) เบลเยี่ยม (๖.๖) โปรตุเกส (๖.๓) ไต้หวัน (๕.๙) อิตาลี (๕.๕) ฮังการี (๕.๓) ทรินิแดดและโทเบโก (๕.๓) ทูนีเซีย (๕.๓) มาเลเซีย (๕.๐)

           ประเทศที่มีคอรัปชั่นระดับสูงถึงสูงมากบางประเทศ ได้แก่ กรีซ (๔.๒) เกาหลีใต้ (๔.๒) เปรู (๔.๑) โปแลนด์ (๔.๑) บราซิล (๔.๐) เม็กซิโก (๓.๗) อียิปต์ (๓.๖) อาร์เจนตินา (๓.๕) จีน (๓.๕) กานา (๓.๔) แลตเวีย (๓.๔) มาลาวี (๓.๒) ประเทศไทย (๓.๒) โดมินิกันรีปับบลิก (๓.๑) มอลโดวา (๓.๑) ฟิลิปปินส์ (๒.๙) โรมาเนีย (๒.๘) อินเดีย (๒.๗) เวียดนาม (๒.๖) ปากีสถาน (๒.๓) รัสเซีย (๒.๓) เคนยี (๒.๐) อินโดนีเซีย (๑.๙)  

           ถ้าเทียบกันระหว่างชาติในเอเชียจะได้ภาพดังนี้ สิงคโปร์ (สะอาดที่สุด ๙.๒) ญี่ปุ่น (๗.๑) ไต้หวัน (๕.๙) มาเลเซีย (๕.๐) จีน (๓.๕) ไทย (๓.๒) ฟิลิปปินส์ (๒.๙) อินเดีย (๒.๗) เวียดนาม (๒.๖) ปากีสถาน (๒.๓) อินโดนีเซีย (๑.๙) บังคลาเทศ (๐.๔) (ตัวหนาคือประเทศในกลุ่มอาเซียน)

           อย่างไรก็ดี ถ้าดูคะแนนของไทย แสดงให้เห็นว่าไทยเรายังคงมีปัญหาการคอรัปชั่นอยู่มาก แต่ก็ยังดูดีกว่า รัสเซีย ซึ่งตกลงไปอยู่ถึงอันดับที่ ๗๙ และได้คะแนนเพียง ๒.๓ แสดงว่ามีคอรัปชั่นมากกว่าไทยหลายเท่า แต่น่าสงสารและน่าเป็นห่วงมากตามดัชนีของทีไอ ชาติที่โกงที่สุดก็คือ บังคลาเทศ ซึ่งมีคะแนนเพียง ๐.๔

           ผู้สนใจต้องการติดตามคะแนนของทุกประเทศ โปรดดูได้ที่ เว็บไซต์ ของทีไอได้แก่ http : //www.transparency.org/anti-corruption/index.html

  ข้อมูล เว็บไซต์ของ “แทรนสปาเรนซี อินเตอร์เนชั่นแนล” “ไพโรจน์” ค้นคว้ารวบรวม
โดยคุณ : akejung - [19:05:44  6 ต.ค. 2545]

ขอเชิญร่วมเสนอแนะความคิดเห็นครับ
จาก :
email :
icq :
รูปภาพ :

รายละเอียด

อาการ :



กรุณาคลิก "ส่งข้อมูล" เพียงครั้งเดียวครับ....