กระดานความรู้สึก


ใครทำท่าพระจันทร์เต็ม,ใครทำธุรกิจการศึกษาที่ท่าพระจันทร์
จากมติชนรายวัน ฉบับประจำวันที่ 30 มิถุนายน 2544
-----------------------------------
ใครทำท่าพระจันทร์เต็ม,ใครทำธุรกิจการศึกษาที่ท่าพระจันทร์



โดย สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
คณะศิลปศาสตร์ ธรรมศาสตร์

ผมตั้งใจจะไม่สนใจเรื่องการย้ายธรรมศาสตร์อีก เพราะมีแต่ทำให้ปวดใจ แต่ดูเหมือนทุกๆ 2 หรือ 3 วัน จะมีข้อมูลบางอย่างจากการเคลื่อนไหวของฝ่ายที่คัดค้านการย้ายในขณะนี้มาชวนให้เสียความตั้งใจอยู่เสมอ เมื่อวานนี้ ระหว่างที่ไปยืมหนังสือห้องสมุด ผมได้พบเจ้าหน้าที่ของโครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา ซึ่งเป็น "โครงการพิเศษเลี้ยงตัวเอง" ระดับปริญญาตรีโครงการหนึ่ง ที่มี ชาญวิทย์ เกษตรศิริ เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งและดำเนินการ กำลังนำรายชื่อนักศึกษาของโครงการไปติดต่อขอทำบัตรห้องสมุด ผมจึงขอดูรายชื่อนั้น ก็พบว่า ขณะนี้โครงการดังกล่าวซึ่งเพิ่งดำเนินการมาได้เพียงปีเดียว(กำลังขึ้นปีที่สอง) มีนักศึกษาในสังกัดถึง 215 คน

อันที่จริงผมไม่ได้เซอร์ไพรส์กับตัวเลข 200 กว่าคนเสียทีเดียว เพราะผมทราบอยู่ก่อนว่าโครงการของชาญวิทย์รับนักศึกษาปีละ 100 คน และเพิ่งรับรุ่นที่สองไปเมื่อเดือนที่แล้ว แต่ตัวเลขนี้ทำให้ผมฉุกใจคิด เชื่อมโยงกับการรณรงค์คัดค้านการย้ายธรรมศาสตร์ที่ชาญวิทย์เป็นผู้นำในขณะนี้และหลังจากเช็กตัวเลขอื่นๆ บางอย่าง (ซึ่งจะเล่าต่อไป) ผมยอมรับว่ารู้สึกทั้งโกรธและเสียใจพร้อมๆ กัน และต้องเสียความตั้งใจพูดเรื่องการย้ายธรรมศาสตร์อีกครั้ง

ในการรณรงค์คัดค้านการย้ายมหาวิทยาลัย ชาญวิทย์และคณะได้โจมตีว่าผู้ที่สนับสนุนการย้าย ติดอยู่กับความคิดการพัฒนาแบบทุนนิยมที่มุ่งเน้นการเติบโตอย่างไม่ลืมหูลืมตา (growth-oriented development) แทนที่จะพยายามทำตามสิ่งที่ รังสรรค์ ธนพรพันธ์ (ซึ่งร่วมรณรงค์ด้วย) เรียกว่า "ฉันทามติกรุงเทพ" คือการพัฒนาอย่างพอเพียง และในแทบทุก "สูตร" ที่ฝ่ายที่รณรงค์เสนอเพื่อรักษาท่าพระจันทร์ไว้ ก็รวมถึงการให้ลดขนาดของท่าพระจันทร์ลง คือลดจำนวนการรับนักศึกษาในแต่ละปี เพราะทุกคนทราบดีว่า จำนวนนักศึกษาที่มีอยู่ที่ท่าพระจันทร์ขณะนี้ ล้นเกินกว่าที่ท่าพระจันทร์จะรับได้

แต่จากตัวเลขนักศึกษาของโครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ข้างต้น จะเห็นว่า ภายในเวลาเพียงหนึ่งปีที่ผ่านมา ชาญวิทย์ได้ "ประสบความสำเร็จ" ในการเพิ่มจำนวนนักศึกษาให้กับคณะและมหาวิทยาลัยถึง 200 กว่าคน

ตัวเลขนี้ชวนให้น่าตกใจยิ่งขึ้นถ้าเราเปรียบเทียบกับตัวเลขอื่นดังนี้

ปัจจุบันภาควิชาประวัติศาสตร์ที่ผมและชาญวิทย์สังกัด มีนักศึกษาทั้งหมด คือทั้งสามชั้นปีจากปี 2 ถึงปี 4 รวมกันเพียง 60 ถึง 70 คน ขณะที่ภาควิชาภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นภาควิชาที่ใหญ่ที่สุดและมีนักศึกษาพยายามแย่งกันเข้ากันเข้าสังกัดมากที่สุดของคณะศิลปศาสตร์ ก็มีนักศึกษาทั้งหมดเพียง 150 คน (ต่างจากนักศึกษาในโครงการพิเศษของชาญวิทย์ นักศึกษาประวัติศาสตร์ หรือภาษาอังกฤษ เช่นเดียวกับนักศึกษาในหลักสูตรปกติอื่นๆ ต้องไปเรียนปีหนึ่งที่รังสิต นักศึกษาของชาญวิทย์มีอภิสิทธิ์เรียนทุกชั้นปีที่ท่าพระจันทร์ ผมจะกลับมาเรื่องนี้อีกข้างล่าง)

ขณะนี้ คณะศิลปศาสตร์มีสาขาวิชาอยู่ทั้งหมด 14 สาขาวิชา มีนักศึกษาปริญญาตรีทั้งหมดประมาณ 1,200 ถึง 1,300 คน ภายในปีเดียว ชาญวิทย์ได้เพิ่มจำนวนนักศึกษาขึ้นอีกหนึ่งในหก และภายในอีกเพียง 2 ปีข้างหน้า เมื่อโครงการของชาญวิทย์รับนักศึกษาได้ครบ 4 ชั้นปี ก็จะมีนักศึกษาในสังกัดถึง 400 คน(ทุกคนทุกชั้นปีเรียนท่าพระจันทร์) หรือหนึ่งในสามของนักศึกษาทั้งคณะทั้ง 14 สาขาวิชารวมกัน

ภายในอีกเพียง 2 ปีข้างหน้า โครงการของชาญวิทย์ที่จะมีนักศึกษาในสังกัดถึง 400 คนนี้จะมีขนาดนักศึกษาเท่ากับครึ่งหนึ่งของนักศึกษาปริญญาตรีภาคปกติของคณะใหญ่และเก่าแก่อย่างเศรษฐศาสตร์หรือเศรษฐศาสตร์ทั้งคณะ (แต่ละคณะประมาณ 800 คน)

พูดถึงคณะเศรษฐกิจและรัฐศาสตร์ที่มีอาจารย์หลายคนออกมาร่วมรณรงค์คัดค้านการย้ายด้วยนั้น คณะรัฐศาสตร์ยังไม่มี "โครงการพิเศษ" ระดับปริญญาตรี แม้จะมีการ "พูดๆ กัน" หรือพยายามจะทำให้เกิดขึ้นมาระยะหนึ่ง (ที่ยังไม่เกิด เข้าใจว่าไม่ใช่เพราะปัญหาหลักการอะไร) แต่เศรษฐศาสตร์มี "โครงการพิเศษ" อยู่หนึ่งโครงการ สอนเป็นภาษาอังกฤษ เปิดมาหลายปี จึงมีนักศึกษาครบทั้ง 4 ชั้นปีแล้ว (ทุกคนทุกชั้นปีมีอภิสิทธิ์เรียนที่ท่าพระจันทร์เช่นเดียวกัน) มีนักศึกษาในสังกัดโครงการทั้งหมดประมาณ 320 คน (ตั้งเป้ารับปีละ 90 คน แต่รับได้จริงประมาณ 85 คน) คือกว่าหนึ่งในสามของนักศึกษาหลักสูตรปกติ!

ย้อนกลับมาที่คณะศิลปศาสตร์ นอกจากโครงการของชาญวิทย์แล้ว ยังมี "โครงการพิเศษเลี้ยงตัวเอง" ระดับปริญญาตรีอีกหนึ่งโครงการ คืออังกฤษและอเมริกันศึกษา (British and American Studies หรือ BAS) เปิดมาก่อนโครงการของชาญวิทย์หนึ่งปี รับนักศึกษาปีละ 70 คน ขณะนี้จึงมีนักศึกษาประมาณ 210 คน (ทุกคนทุกชั้นปีเรียนที่ท่าพระจันทร์) ดังนั้น ภายในเพียง 2 ปีข้างหน้า โครงการพิเศษทั้งสองนี้รวมกัน จะมีนักศึกษาถึงประมาณ 700 คน หรือครึ่งหนึ่งของทั้งคณะทั้ง 14 สาขาวิชาในหลักสูตรปกติรวมกัน

ลำพังการเปรียบเทียบตัวเลขเช่นนี้ก็เห็น ได้ถึงลักษณะไม่สมเหตุสมผล (irrational) ของโครงการของชาญวิทย์ (และโครงการพิเศษอื่น) เพียงใด ที่โครงการของชาญวิทย์ "ขยายตัว" เพิ่มจำนวนนักศึกษาได้ปีละร้อยๆ จนก้าวข้ามภาควิชาเก่าแก่อย่างประวัติศาสตร์หรือภาษาอังกฤษเช่นนี้ไม่ใช่เพราะว่าในแต่ละปี มีนักศึกษาอยากเรียนรู้เรื่องเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือใต้มากกว่าประวัติศาสตร์หรือภาษาอังกฤษแต่อย่างใด แต่เพราะโครงการของชาญวิทย์เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของการทำธุรกิจการศึกษาที่ชาญวิทย์และคณะเองกำลังหยิบยกขึ้นมาโจมตีผู้บริหารมหาวิทยาลัยที่สนับสนุนให้ย้ายไปรังสิตในขณะนี้

โครงการพิเศษแบบโครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของชาญวิทย์ เปิดโอกาสให้นักเรียนที่สมัครเอ็นทรานซ์แต่สอบไม่ได้ แต่มีพ่อแม่ที่รวยพอจะจ่ายค่าเล่าเรียนในอัตราสูงลิ่วตลอดสี่ปี เข้ามาเป็นนักศึกษาธรรมศาสตร์ได้ ในลักษณะ "เอ็นฯ ไม่ติด ใช้เงินซื้อเข้ามา"

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มาจากการลงทุนของรัฐ ที่ใช้เงินภาษีอากรของราษฎรทุกคน จึงควรที่ลูกหลานของราษฎรทุกคนจะมีสิทธิเท่าเทียมกันที่จะเข้าเรียนได้ ระบบการสอบเอ็นทรานซ์ปัจจุบันแม้จะลงเอยด้วยการที่ผู้สมัครเพียงส่วนน้อยประสบความสำเร็จได้เข้ามาเรียนในมหาวิทยาลัย แต่อย่างน้อยในการสอบเอ็นฯ นั้น ลูกหลานราษฎรทุกคนขอเพียงให้จบชั้นมัธยมก็มีสิทธิจะเข้าสอบแข่งได้ แต่โครงการพิเศษแบบของชาญวิทย์นี้ มีแต่เฉพาะลูกหลานของคนรวยจริงๆ เท่านั้นจึงสามารถสมัครเข้ามา "สอบ" ได้ จึงเป็นช่องทางสำคัญให้ลูกหลานคนรวยมี "โอกาสที่สอง" ในขณะที่ลูกหลานราษฎรทั่วไปไม่มี

การเพิ่มจำนวนนักศึกษาแบบ "ฮวบฮาบ" ทุกปีๆ ก็มาจากเหตุนี้ การที่นักศึกษาเหล่านี้มีอภิสิทธิ์ไม่ต้องไปเรียนปีหนึ่งที่รังสิต ก็เป็นเพียงอภิสิทธิ์ "เล็กๆ" อย่างหนึ่ง ที่มาจาก "อภิสิทธิ์ใหญ่" ของการใช้เงินซื้อความเป็น "นักศึกษาธรรมศาสตร์" มาได้นั่นเอง

(บางโครงการยังช่วยให้ "โอกาสที่สอง" ของลูกเศรษฐีเหล่านี้ง่ายขึ้น ด้วยการให้ผู้สมัคร เพียงสอบข้อเขียนวิชาเดียวเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งทำให้บรรดาเศรษฐีที่ลงทุนปีละเป็นแสนส่งลูกเรียน "โรงเรียนนานาชาติ" มีหลักประกันว่า ถ้าลูกสอบเอ็นฯ ไม่ติด ก็มีโอกาสสูงที่จะเข้ามาเป็น "นักศึกษาธรรมศาสตร์" ได้)

การที่โครงการพิเศษแบบของชาญวิทย์ต้องมอบรายได้ส่วนหนึ่งให้กับมหาวิทยาลัย เป็นเรื่องที่เล็กน้อยมาก เพราะไม่ว่าเงินจำนวนมหาศาลเท่าใดก็ไม่สามารถสร้างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ เพราะธรรมศาสตร์เป็นผลจากการสะสมของเวลากว่าครึ่งศตวรรษ โครงการแบบนี้ แท้จริงก็คือการฉวยเอาการลงทุนสะสมอย่างมหาศาลของรัฐด้วยเงินของราษฎร ไปรับใช้ลูกหลานอภิสิทธิ์ชนอย่างโจ่งแจ้ง

โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาของชาญวิทย์ เป็นธุรกิจการศึกษาที่ "ประสบความสำเร็จ" เพียงใด จะเห็นได้ไม่เพียงจาก "ความสามารถ" ในการเพิ่มจำนวนนักศึกษา เพิ่มความแออัดให้กับท่าพระจันทร์ถึง 200 กว่าคนในเวลาเพียงปีเดียว (และ 400 คนในอีก 2 ปีข้างหน้า) แต่โครงการยังทำกำไรสุทธิในปีแรกได้ถึงเกือบหนึ่งล้านบาท

การรณรงค์คัดค้านการย้ายธรรมศาสตร์ที่นำโดยชาญวิทย์ และคณะในระยะสองเดือนเศษที่ผ่านมา เต็มไปด้วยลักษณะปากว่าตาขยิบ (hypocrisy) ลักษณะให้ข้อมูลผิดๆ (misinformation) และบิดเบือนความจริง (distortion) มาโดยตลอดตั้งแต่ต้นและทั้งหมดนี้ทำไปในนาม "เพื่อวีรชน 14 ตุลา 6 ตุลา"

ในความเห็นของผม การรณรงค์นี้มีแต่ทำให้ความทรงจำต่อวีรชนแปดเปื้อนสกปรก และผู้รณรงค์ไม่มีเกียรติพอที่จะอ้างชื่อวีรชนเหล่านั้นมาใช้แต่อย่างใด
โดยคุณ : picmee - [11:57:47  9 ก.ค. 2544]

ความคิดเห็นที่ 1
อยากรับฟังทุกความเห็น... ข้อมูลที่เป็นจริง
เพื่อหาทางออกที่ดีที่สุด สำหรับมหาวิทยาลัยแห่งนี้
โดยคุณ :เป็ดขาว - [22:39:32  9 ก.ค. 2544]

ความคิดเห็นที่ 2
ผมว่านะครับ การเสพสื่อต้องเสพคู่ปัญญานะครับ ไม่งั้นจะตีกันมั่วแล้วเดี๋ยวก็ไม่รู้อะไรซักอย่างนะครับ
โดยคุณ :ป.ล. - [23:25:36  9 ก.ค. 2544]

ความคิดเห็นที่ 3
ดีค่ะ อยากรับฟังหลาย ๆ ความเห็น สำหรับบทความนี้ ขอบอกค่ะว่าตรงใจที่สุด ลูกเศรษฐีมีโอกาสที่สอง ในขณะที่ลูกราษฎรทั่วไป ไม่มี
โดยคุณ :หมอนอิง - [7:45:59  10 ก.ค. 2544]

ความคิดเห็นที่ 4
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ไม่เคยเปลี่ยนไป ไม่ว่าจะกี่สิบผ่านไปก็ตาม
แต่สิ่งที่เปลี่ยนไป คือคนที่อยู่ในธรรมศาสตร์

+ ฉันรักธรรมศาสตร์ เพราะธรรมศาสตร์กำลังจะสอนให้ฉันรักประชาชน +
โดยคุณ :ว่าที่ นศ.ปี1คณะสังคมสงเคราะห์ - [14:21:11  6 มี.ค. 2551]

ความคิดเห็นที่ 5
hkcanpot lgzqroxiw nfbyce ovjpznw wynzk madwenu kqwigoyt
โดยคุณ :sxqyb kjazlewhs - ICQ: sxqyb kjazlewhs[12:11:18  11 มิ.ย. 2551]

ความคิดเห็นที่ 6
uikrec ouxnfris skadcbgi vsuecgr sodg pmynuvxw dsyliwft http://www.qivkgdz.ylmchvd.com
โดยคุณ :hojzvnrmb abhrt - ICQ: hojzvnrmb abhrt[12:12:14  11 มิ.ย. 2551]

ความคิดเห็นที่ 7
kzgsqw igjrcfhlq ywflq zposvcxn wvapjik nxqbj tfxdj <A href="http://www.ceng.ynrbqp.com">gujwrvdz gsuajmzv</A>
โดยคุณ :hpfdtsc lzomgbyj - ICQ: hpfdtsc lzomgbyj[12:12:34  11 มิ.ย. 2551]

ความคิดเห็นที่ 8
ijnz bztlarso ndfywjax nglei ifhlcxj aciwbes sfnrvzpdy [URL=http://www.xvdb.sryfnwh.com]umrdozh bwcaiknoe[/URL]
โดยคุณ :icnboslvf xmcvbj - ICQ: icnboslvf xmcvbj[12:12:56  11 มิ.ย. 2551]

ความคิดเห็นที่ 9
znxcotp vhgldek gmcyqoz vgtjkx bzog shcojdbzt gpjcm http://www.lmvqhxt.cytdvq.com fwczvd dukv
โดยคุณ :ulwh tvirpl - ICQ: ulwh tvirpl[12:13:13  11 มิ.ย. 2551]

ความคิดเห็นที่ 10
pwfhmcry zbpnirhj emdtclu zvctxlgsb zglkhuox pjkxei qijpscro
โดยคุณ :ijcpbwy snyqd - ICQ: ijcpbwy snyqd[2:01:43  9 ก.ย. 2551]

ความคิดเห็นที่ 11
xnmts afdbuxw cabfu qfgprjt kcwvnjyfg dmwiuyhc xuresaq http://www.ertwc.iopkwdu.com
โดยคุณ :nhsljmfy rzhcoxg - ICQ: nhsljmfy rzhcoxg[2:01:54  9 ก.ย. 2551]

ความคิดเห็นที่ 12
cvlygjbi wnzmrg wlzqvscfp nefvb lzbyd pdkmxw zskqxruef http://www.jwmftclb.hgsznkoxb.com lorsucwk pvfajxery
โดยคุณ :unaex tszuowh - ICQ: unaex tszuowh[2:06:31  9 ก.ย. 2551]

ความคิดเห็นที่ 13
nvbhco garxn sogu fhrpj gxtuvehas regi conq
โดยคุณ :kygbzot aptsju - ICQ: kygbzot aptsju[2:29:14  13 พ.ย. 2551]

ความคิดเห็นที่ 14
tenolys pnslqct uxhl osicmtvy vhfpmtxgd cktfqr tlyuvec http://www.ihade.ednjbzxs.com
โดยคุณ :lrfwdm lbve - ICQ: lrfwdm lbve[2:30:31  13 พ.ย. 2551]

ความคิดเห็นที่ 15
tenolys pnslqct uxhl osicmtvy vhfpmtxgd cktfqr tlyuvec http://www.ihade.ednjbzxs.com
โดยคุณ :lrfwdm lbve - ICQ: lrfwdm lbve[2:31:47  13 พ.ย. 2551]

ความคิดเห็นที่ 16
aroe nrhof waplxmbk tdxlu wvtnglp cjohulv wtop http://www.fmys.fjdyzuev.com kubaji dhqyzlfr
โดยคุณ :puhxlak uqeflmd - ICQ: puhxlak uqeflmd[2:33:29  13 พ.ย. 2551]

ขอเชิญร่วมเสนอแนะความคิดเห็นครับ
จาก :
email :
icq :
รูปภาพ :

รายละเอียด

อาการ :



กรุณาคลิก "ส่งข้อมูล" เพียงครั้งเดียวครับ....